เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 19 พ.ย. 2008 07.53 น. บทความนี้มีผู้ชม: 52623 ครั้ง

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา มีการเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย โดยที่เราไม่รู้ตัว เราจะปล่อยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงจุดวิกฤติที่เรารับไม่ได้หรือจะมีวิธีใดบางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดจุดวิกฤตินั้น


การคัดเลือกสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลก…เมื่อโลกร้อนขึ้น

2 ปีที่แล้ว มีภาพยนตร์ที่โด่งดังมากเรื่องหนึ่ง  “War of The World” สงครามล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์  เมื่อมนุษย์ต่างดาวเผ่าพันธุ์ที่มีอารยธรรม และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ล้ำหน้ามนุษย์อย่างมาก ส่งยานอวกาศเข้าลงมาสู่โลกจำนวนมากมายเพื่อจับมนุษย์ขึ้นไปสูบเลือดเนื้อ  โดยที่มนุษย์ไม่มีทางต่อสู้  มนุษย์เปรียบเสมือนฝูงปลาที่ถูกจับและล่า อพยพหลบหนีความตายกันโกลาหล สุดท้ายมนุษย์ต่างดาวก็เป็นผู้พ่ายแพ้  โลกเป็นผู้คัดเลือกสายพันธุ์มนุษย์ให้เป็นผู้อยู่อาศัยต่อไปและทำลายสายพันธุ์มนุษย์ต่างดาวพวกนั้นให้ตายด้วยเชื้อโรคที่มีอยู่มากมายบนพื้นโลก  เชื้อโรคที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องมาเป็นล้านล้านปีตั้งแต่เริ่มกำเนิดบรรยากาศที่ห่อหุ้มผิวโลก 

          หลักการทางธรรมชาติของโลกยังคงดำเนินอยู่ต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด  และไม่มีทางที่มนุษย์จะเอาชนะหลักการทางธรรมชาติได้

เป็นที่รู้กันดีว่า  สาเหตุที่โลกมีบรรยากาศร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เกิดจากปล่อยกาซเรือนกระจก หรือ ชื่อทางเคมีคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งกาซนี้จะมีคุณสมบัติปล่อยให้ความร้อนของรังสีจากดวงอาทิตย์ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกแต่ไม่ปล่อยให้ความร้อนที่สะท้อนออกจากผิวโลกผ่านออกไป  เปรียบเสมือนเรือนกระจกที่สร้างบรรยากาศอบอุ่นสำหรับเพาะปลูกพืชเมืองร้อน

โดยปกติบรรยากาศของโลกประกอบด้วยกาซไนโตรเจน 78.08 % ออกซิเจน 20.95 % และที่เหลือเป็นกาซคาร์บอนไดออกไซต์และกาซอื่น ๆ เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม  อัตราการใช้พลังงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกประเทศเร่งผลิตแร่งใช้พลังงาน  ประเทศทางแถบตะวันตก  เริ่มปฏิวัติทางอุตสหากรรมก่อนจึงมีการใช้พลังงานสูงกว่าประเทศทางแถบตะวันออก พลังงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ คือ น้ำมัน  การเผาผลาญน้ำมันเพื่อให้ได้พลังงานจะได้กาซคาร์บอนไดออกไซต์เป็นผลพลอยได้ ดังน้นบรรยากาศของโลกจึงเริ่มมีอัตราส่วนของกาซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลให้เกิดการกัดรังสีความร้อนที่สะท้อนออกจากผิวโลกไว้มากขึ้น  ทำให้บรรยากาศของโลกร้อนขึ้นทุกปี  ในช่วงปี 2490-2500 บรรยากาศของโลกร้อนขึ้น 0.6 องศาเซลเซียส และสังเกตได้ว่า ปัจจุบันหน้าร้อนในประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ และปีนี้ (2550) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยของแต่ละวันน่าจะอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส

ประเทศสหรัฐอเมริกา  ปล่อยกาซนี้เป็นอันดับหนึ่ง คือ  20 % ตามด้วยจีน 12 % ส่วนไทยอยู่ที่ 0.6 % ต่อปี  มีการประชุมเพื่อทำสนธิสัญญาลดการผลิตกาศเรือนกระจก  ซึ่งจะมีผลทำให้ประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต้องมีการจ่วยเงินเพื่อสมทบทุนโครงการวิจัยการลดกาซนี้

เมื่อโลกร้อนขึ้น  ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนพื้นผิวโลกแน่นอน  ตามทฤษฏีการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อความอยู่รอดของดาวินชี สายพันธุ์ที่ปรับตัวได้จะอยู่รอด

–  อุณหภูมิตามยอดเขาต่าง ๆ อย่างเช่น ยอดเขาในประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น กล้วยไม้พันธุ์ต่าง ๆ ที่ต้องการอากาศเย็น และความชุ่มชื่นสูง เริ่มทยอยสูญพันธุ์ 

–  ผลกระทบของอากาศร้อนต่อการเกษตร เช่น การปลูกข้าวจะพบปัญหาเมล็ดข้าวร่วงและลีบเมื่ออากาศร้อนและให้ผลการผลิตต่ำลง  ต้องมีการวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ให้ออกร่วงได้ในอุณหภูมิที่สูงขึ้น  และต้องวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ที่สามารถโตหนีน้าท่วมได้  มังคุดออกผลผิดเวลา  รสชาติผิดเพื้ยนไป  เนื่องจากฤดูกาลผิดปกติ   

–  โรคภัยบางอย่างที่เคยหายสาบสูญไปกำลังจะกลับมาระบาดอีกครั้ง  เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ เท้าช้าง เป็นต้น  เนื่องจากเมื่ออากาศร้อนขึ้นยุงจะเจริญพันธุ์ได้ดีขึ้น  โอกาสที่จะแพร่พันธุ์และเป็นพาหะของโรคร้ายจะมากขึ้น  วงจรชีวิตของยุงและเชื้อโรคสั้น  จึงเป็นโอกาสให้มีการปรับปรุงพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ทีทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี  นี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เชื้อโรคมีการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนการผลิตยาตามไม่ทัน

–  โรคบางโรคที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สามารถพบได้ในปัจจุบัน เช่น โรคซาส์  โรคบางโรคกลายเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงและเริ่มติดต่อจากสัตว์มาสู่คน เช่น ไข้หวัดนก คาดว่าจะมีการระบาดของโรคภัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และอาจจะทำให้มีการตายได้ 40-200 ล้านคน/ปีทั่วโลกได้ เนื่องจากมนุษย์มีวงจรชีวิตที่ยาวนานกว่าเชื้อโรค การปรับเปลี่ยนพันธุกรรมให้มีความต้านทานต่อโรคจึงเป็นไปได้ยาก  จึงต้องคิดค้นยาชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคอยู่ตลอดเวลา

โลกกำลังคัดเลือกสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่สามารถทนความร้อนได้สูงขึ้นอยู่หรือเปล่า  เหมือนเมื่อครั้งที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ เพราะทนต่อการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศเข้าสู่ยุคน้ำแข็งไม่ได้  หลังจากที่ภูเขาไฟระเบิดรุนแรงแล้วเกิดหมอกควันปกคลุมชั้นบรรยากาศจนไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์ส่องผ่านเข้ามาเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับพวกมัน

         

          ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องช่วยกันลดการใช้พลังงานและปลูกต้นไม้เพื่อลดการปล่อยกาซเรือนกระจก และลดความร้อนของผิวโลก


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที