เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 19 พ.ย. 2008 07.53 น. บทความนี้มีผู้ชม: 51486 ครั้ง

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา มีการเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย โดยที่เราไม่รู้ตัว เราจะปล่อยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงจุดวิกฤติที่เรารับไม่ได้หรือจะมีวิธีใดบางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดจุดวิกฤตินั้น


พื้นที่ป่า


พื้นที่ประเทศไทยมีทั้งหมด
320.7 ล้านไร่

          ตารางข้างล่างนี้แสดงพื้นที่ป่าของประเทศไทย ในช่วงปี 2504-2547

ปี

พื้นที่ป่า

%พื้นที่ป่า

2504

171,017,013

53.33

2516

138,578,125

43.21

2519

124,010,625

38.67

2521

109,515,000

34.15

2525

97,875,000

30.52

2528

94,291,349

29.40

2530

91,294,152

28.47

2531

89,880,182

28.03

2532

89,635,625

27.95

2533

87,488,536

27.28

2534

85,436,251

26.64

2535

84,344,169

26.30

2536

83,450,625

26.02

2537

82,801,563

25.82

2538

82,178,161

25.62

2539

81,808,415

25.51

2540

81,441,164

25.39

2541

81,076,428

25.28

2542

80,610,219

25.14

2543

106,319,250

33.15

2547

104,744,363

32.66

 

          พื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลง ลองมาดูจำนวนพื้นที่ป่าอนุรักษ์บ้าง

 

ปี

ป่าอนุรักษ์

%ป่าอนุรักษ์

2522

1,929.23

0.0006

2523

2,139.96

0.0007

2524

2,769.86

0.0009

2525

2,898.98

0.0009

2526

2,955.39

0.0009

2527

3,053.88

0.0010

2528

3,080.15

0.0010

2529

3,167.33

0.0010

2530

3,241.08

0.0010

2531

3,407.20

0.0011

2532

3,620.98

0.0011

2533

3,811.67

0.0012

2534

4,155.95

0.0013

2535

4,305.56

0.0013

2536

4,309.11

0.0013

2537

4,406.98

0.0014

2538

4,538.18

0.0014

2539

4,687.19

0.0015

2540

4,751.25

0.0015

2541

4,908.11

0.0015

2542

5,252.32

0.0016

2543

5,594.78

0.0017

2544

5,600.18

0.0017

2545

5,663.52

0.0018

2546

5,685.80

0.0018

2547

5,705.58

0.0018

 

ที่มา: กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           

จะเห็นว่าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ยังมีน้อยมาก

           ป่ามี 3 ประเภท

1.      ป่าดงดิบ

2.      ป่าผลัดใบ

3.      ป่าชายเลน

ลักษณะของการอนุรักษ์แบ่งเป็น 3 ชนิด

1.      อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ป่าใหญ่ที่เป็นธรรมชาติห่างไกลชุมชน

2.      เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตที่ประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า

3.      วนอุทยาน พื้นที่ป่าที่มีธรรมชาติสวยงามเหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ต้องไม่เสริมเติมแต่งพื้นที่จนเสียความเป็นธรรมชาติ

พื้นที่ป่าเหล่านี้จะเปิดให้ประชาชนเข้าไปเที่ยวได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเข้มงวด

 

ในความเป็นจริง  ป่าบางส่วนที่อยู่ใกล้กับบริเวณป่าอนุรักษมักจะถูกบุกรุกโดยชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง โดยจับจองแผ้วถางเป็นที่ดินเหยียบย่ำแล้วเข้าไปทำกิน และให้ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่รับรองกรรมสิทธิ์  เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี จะทำการขายต่อให้ผู้อื่นในราคาถูก โดยให้ผู้ใหญ่บ้านรับรองเห็นชอบด้วย ที่ดินดังกล่าวไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ส่วนชาวบ้านที่ถือสิทธิ์เดิม  จะทำการแผ้วถางป่าต่อไป เพื่อสร้างวัฏจักรนี้ต่อไป ผู้ถือกรรมสิทธิ์ใหม่อาจจัดทำเป็นรีสอร์ท หรือทำเป็นสวนเกษตร นี่เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลง 

 
         โชคดีที่ในช่วงประมาณปี 2538 เริ่มมีโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติของ ปตท.(ที่มา:: หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2545)  จากนั้นก็มีโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติตาม ๆ กันมามากมาย ทำให้พื้นที่ป่ามีเพิ่มมากขึ้น

เห็นด้วยกับโครงการสร้างฝายชะลอน้ำของบริษัทปูนซีเมนไทย ดูรายละเอียดโครงการได้ที่ http://www.siamcement.com/newsite/th/social_responsibility/environment_protection.asp

ในขณะที่มีคนจำนวนหนึ่งพยายามที่จะเพิ่มพื้นที่ป่า แต่คนอีกจำนวนหนึ่งเพียรพยายามจะทำลายป่า  อยากเชิญชวนให้ทุกท่านช่วยกันปลูกต้นไม้  เช่น ปลูกพันธุ์ไม้ในร่มภายในบ้าน  ปลูกต้นไม้ในขวดน้ำ  ปลูกต้นไม้ในพื้นที่บริเวณรั้วบ้าน  ถ้าไม่มีที่จริงๆ ปลูกไม้กระถางแขวนก็ยังได้ เพื่อเพิ่มบรรยากาศ  ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ เป็น “กลยุทธ์ป่าในเมือง” คะ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที