เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 10 พ.ย. 2007 23.53 น. บทความนี้มีผู้ชม: 93894 ครั้ง

ภาพยนตร์นอกเหนือจากการให้ความบันเทิงแล้ว เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อภาพยนตร์ในการทำความเข้าใจกับชีวิตจริง เหมือนคำที่กล่าวว่า “ดูหนังแล้วย้อนดูตัวเอง” แล้วสื่อภาพยนตร์มาเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของระบบ ISO 9000 ได้อย่างไร


บทเฉลยของภาพยนตร์สารคดีชุดชั่วโมงโลกตะลึง ตอน กาซระเบิดที่เปอโตริโก

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคน ไม่ค่อยจะแม่นยำนัก ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง  สัมผัส  (ตา ลิ้น จมูก หู และมือ) ยกเว้นว่าจะมีความชำนาญที่เกิดจากการทำซ้ำ ๆ จนขึ้นใจ  นอกจากนี้ประสาทสัมผัสของคนยังไม่สามารถบอกค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน  ต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง

เหตุการณ์โลกตะลึง  เมื่อเกิดกาซระเบิดที่เปอโตริโกนั้น ทำให้คิดถึงข้อกำหนดของ ISO 9000 ข้อ 7.6 เรื่องการควบคุมอุปกรณ์เฝ้าติดตามและเครื่องมือวัด (Control of monitoring and measuring devices) ซึ่งเหตุแห่งความผิดพลาด เกิดเพราะความเชื่อที่ว่าเครื่องมือวัดระดับกาซมีความถูกต้องแม่นยำกว่าจมูกของคน

ข้อ 7.6 กำหนดว่า เพื่อให้ผลการเฝ้าติดตามและการวัดผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้ องค์กรต้องดูแลเครื่องมือวัดโดย

a)        มีการกำหนดความถี่ในการสอบเทียบ หรือ ทวนสอบตามช่วงเวลาที่กำหนดหรือก่อนที่จะนำไปใช้งาน และความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์การวัดต้องสามารถสอบกลับไปถึงมาตรฐานอ้างอิงในระดับนานาชาติได้

b)       ได้รับการปรับแต่งตามความจำเป็น

c)       ได้รับการบ่งชี้สถานะการสอบเทียบ

d)       ได้รับการป้องกันการปรับแต่ง

e)        ได้รับการป้องกันการเกิดการชำรุดเสียหาย

 

ความถี่ในการสอบเทียบหรือทวนสอบนั้น ขึ้นอยู่กับ

o       ความถี่ในการใช้งาน ถ้าเครื่องมือวัดนั้นมีความถี่ในการใช้งานมาก ควรจะกำหนดความถี่ในการสอบเทียบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง

o       สภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเครื่องมือวัดมีอายุการใช้งานมานานแล้ว ควรกำหนดความถี่ในการสอบเทียบให้ถี่มากขึ้น

การสอบกลับถึงระดับนานาชาติ มีลำดับดังนี้

International standard

National standard

Industrial standard

Calibrating standard

Testing equipment

 

เครื่องมือที่เราใช้ทำงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับของ  Testing equipment ดังนั้นเราจะต้องใช้เครื่องมือวัดในระดับที่สูงขึ้นไป คือ Calibrating standard มาเป็นตัวสอบเทียบความแม่นยำ ซึ่งต้องมีความถูกต้องที่ดีกว่าอย่างน้อย 3-10 เท่า และในขณะเดียวกันเครื่องมือวัดในระดับที่สูงขึ้นไปก็ต้องมีความถูกต้องในการวัดที่ดีกว่าขึ้นไปเรื่อย ๆ ไปจนถึงระดับชาติและระดับนานาชาติ

 

การกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดที่ยอมรับได้ จะขึ้นกับมาตรฐานของการตรวจสอบที่มีกำหนดไว้  เช่น ถ้ามีการกำหนดให้อุณหภูมิในการทดสอบคลาดเคลื่อนไม่เกิน ± 2 oC เราจำเป็นต้องเลือกเครื่องมือวัดที่มีค่าคลาดเคลื่อนในการวัดต่ำกว่าที่มาตรฐานการตรวจสอบระบุไว้

 

การปรับแต่งเครื่องมือวัดต้องทำโดยผู้ที่มีความชำนาญ และมีเครื่องมือวัดอ้างอิงที่มีความถูกต้องสูงกว่าเครื่องมือวัดนั้น

 

นอกจากนี้สิ่งที่ควรคำนึงถึงอย่างมาก คือ  ความเข้าใจในวิธีการใช้เครื่องมือวัด วิธีการอ่านค่าที่ถูกต้อง  การบำรุงรักษาเครื่องมือวัด  ไม่เช่นนั้น  เครื่องมือวัดชั้นดีราคาแพงก็ไม่สามารถช่วยป้องกันข้อผิดพลาด และอาจมีผลทำให้เกิดของเสีย หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานส่งไปถึงมือลูกค้าได้ ถึงขั้นทำลายความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของเราได้

 

แต่ในกรณีของเหตุระเบิดที่เปอโตริโก ความผิดพลาดในการวัดครั้งนั้น รุนแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากจริง ๆ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที