Darkblue

ผู้เขียน : Darkblue

อัพเดท: 21 ธ.ค. 2022 13.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 12426 ครั้ง

Being healthy is a gift to live longer.


ไขมันที่สะสมตามร่างกายส่งผลสียต่อรูปร่างและสุขภาพของเรา

 
การดูแลสุขภาพในระยะยาวนั้น ต้องควบคุมปริมาณไขมันที่อยู่ในร่างกายให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตราย ไม่ใช่ว่าไขมันจะอันตรายต่อร่างกายเราทั้งหมด ไขมันดีๆที่มีประโยชน์ก็มีไม่น้อยเช่นกัน ต้องอยู่ที่เราเองที่จะต้องค้นคว้าศึกษาหรือจะปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการว่าจะต้องรับประทานไขมันดีใดบ้างที่เหมาะสมกับอายุและวัย 
 
ในอาหารที่เรารับประทานแต่ละวันนั้น มีสารอาหารทั้งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ซึ่งร่างกายของเราเองก็จะดูดซึมสารอาหารต่างๆเข้าสู่ร่างกาย เพื่อไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมไปถึงบำรุงอวัยวะต่างๆภายในของร่างกาย หากเราต้องการที่จะมีรูปร่างที่ดีได้สัดส่วน เราควรจำกัดปริมาณไขมันที่รับประทานในแต่ละวัน และเลือกรับประทานไขมันดี หรือเราจะเลือกทางลัดในการดูดไขมันจากศัลแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตามจากเว็บไซต์พบแพทย์บทความเกี่ยวกับอาหารอุดมไขมันดีที่ควรเลือกกินนั้นมีทั้ง น้ำมันที่ให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง เป็นต้น ซึ่งไขมันชนิดนี้จะช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีและลดการอักเสบในร่างกายที่เกิดจากคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี แต่ควรนำมาปรุงอาหารโดยใช้อุณหภูมิต่ำ ๆ เพราะความร้อนที่สูงเกินไปจะทำให้ไขมันดีสลายไป และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น ผักผลไม้กากใยสูง เช่น แอปเปิ้ล ลูกพรุน สตรอว์เบอร์รี่ บร็อกโคลี่ เป็นต้น เพราะช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีและเพิ่มไขมันดีในร่างกาย ทั้งยังกินง่าย สร้างสรรค์เมนูได้อย่างหลากหลาย อย่างการนำมาปั่นกินโดยไม่แยกกากใย หรือกินผสมกับธัญพืชอื่น ๆ และนม ปลาที่มีกรดไขมันสูง เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล และซาร์ดีน เป็นต้น เพราะเนื้อปลาเหล่านี้มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี หรืออาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการกินอาหารเสริมอย่างน้ำมันปลาและคริลล์ออยล์ที่สกัดจากสัตว์น้ำตระกูลเคย แต่ก็อาจไม่ให้ประโยชน์เทียบเท่ากับที่ได้รับจากอาหาร ธัญพืช เป็นอาหารอีกชนิดที่ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี เนื่องจากมีกากใยสูง โดยเฉพาะกากใยชนิดละลายน้ำได้ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น ทั้งยังลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ โดยตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทาน ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต รำข้าว เป็นต้น เมล็ดแฟลกซ์และเมล็ดเจีย อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 กากใย และสารอาหารที่มีคุณค่า สามารถนำมาผสมกับอาหารเช้าธัญพืช ข้าวโอ๊ต ขนมปังอบ โรยบนสลัด น้ำสลัด หรือโยเกิร์ต ส่วนเมล็ดแฟลกซ์ควรเลือกซื้อที่บดละเอียดแล้ว เพราะย่อยง่ายและมั่นใจได้ว่ามีประโยชน์ ในขณะที่การกินเมล็ดแฟลกซ์แบบเต็มเมล็ดอาจไม่ให้สารอาหารใด ๆ ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น เนื่องจากอุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ มีกากใยสูง และมีสารสเตอรอลที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย แต่ควรกินอย่างพอดีเพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับแคลอรี่มากเกินไป รวมทั้งควรเลือกถั่วที่ไม่คลุกหรืออบเกลือ
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที