Rinda

ผู้เขียน : Rinda

อัพเดท: 28 มี.ค. 2024 12.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5908 ครั้ง

Being healthy is a bliss.


อุ่นใจทุกครั้งเมื่อมีอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่พร้อมใช้ไว้ในบ้าน

 
เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และไม่คาดคิดมาก่อน จึงไม่แปลกใจว่า หลายๆบ้านจะเลือกหาสิ่งของและอุปกรณ์ที่สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้แก่คนในครอบครัว ยิ่งบ้านไหนที่มีสมาชิกหลายคน และแตกต่างอายุกัน การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุใดๆ ยิ่งต้องระมัดระวังเพิ่มอีกหลายเท่า เช่น การดูแลเด็กและผู้ป่วยสูงวัยนั้น ต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้อุปกรณ์การแพทย์ที่เราควรมีติดบ้านไว้ เพื่อช่วยชีวิตหากมีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้น 
 
ในต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากเกิดเหตุการณ์ร้ายใดๆ ยิ่งไปกว่านั้นจะมีหลักสูตรขั้นพื้นฐานให้เด็กๆได้เรียนรู้ถึงวิธีเอาตัวรอดจากภัยร้ายต่างๆรอบตัว และยังสามารถช่วยชีวิตผู้อื่นได้อีกด้วย จึงไม่แปลกใจว่าทำไมเรามักจะได้อ่านข่าว เด็กน้อยช่วยเหลือชีวิตพ่อแม่ เมื่อมีเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น พ่อแม่มีการอาการชัก หัวใจวาย หากเราต้องการให้ลูกหลานของเรามีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ เราสามารถลงคอร์สเรียนเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ ซึ่งในเว็บไซต์ thaitravelclinic ได้แชร์บทความการปฐมพยาบาลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การปฐมพยาบาลบาดแผลฟกช้ำ (Contusion) บาดแผลฟกช้ำหรือบาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่ไม่มีร่องรอยของผิวหนัง แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดบริเวณที่อยู่ใต้ผิวหนังส่วนนั้น มักเกิดจากแรงกระแทกของแข็งที่ไม่มีคม เช่น ถูกชน หกล้ม เป็นต้น ทำให้เห็นเป็นรอยฟกช้ำ  บวมแดงหรือเขียว อุปกรณ์  1. น้ำเย็น 2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 3. ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วน วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1. ให้ประคบบริเวณนั้นด้วยความเย็น เพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดใต้ผิวหนังบริเวณนั้นออกน้อยลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ผ้า ห่อน้ำแข็งประคบเบาๆ ก็ได้ 2. ถ้าบาดแผลฟกช้ำเกิดขึ้นกับอวัยวะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก เป็นต้น ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วนที่ยืดหยุ่นได้พันรอบข้อเหล่านั้นให้แน่นพอสมควร เพื่อช่วยให้อวัยวะที่มีบาดแผลอยู่นิ่งๆ และพยายามอย่างเคลื่อนไหวผ่านบริเวณนั้น รอยช้ำค่อยๆ จางหายไปเอง การปฐมพยาบาลบาดแผลถูกของมีคมบาด (Incision wounds) บาดแผลแยกหรือบาดแผลเปิด  เป็นบาดแผลที่เกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากการถูกของมีคมบาด แทง  กรีด  หรือถูกวัตถุกระแทกแรงจนเกิดบาดแผล  มองเห็นมีเลือดไหลออกมา อุปกรณ์ เช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลแผลถลอก วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1.  ใช้สำลีเช็ดเลือด และกดห้ามเลือด 2.  ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดรอบๆ แผล 3.  ใช้สำลีชุบเบตาดีน หรือ โปรวิดี ไอโอดีนใส่แผลสดทารอบๆ แผล 4.  ใช้ผ้าพันแผล หรือพลาสเตอร์ปิดแผล 5. รีบน้ำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้กรณีบาดแผลรุนแรง การปฐมพยาบาลบาดแผลกระดูกหัก (Fracture) กระดูกหัก คือ การที่กระดูกแยกออกจากกัน ก่อให้เกิดความเจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ เนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน หกล้ม ตกจากที่สูง หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้ว กระดูกเปราะเมื่อถูกแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจหักได้ อุปกรณ์ 1. แผ่นไม้หรือหนังสือหนาๆ 2. ผ้าพันยึด วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1. วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ 2. ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว 3. ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ
 
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที