Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 28 มิ.ย. 2022 17.14 น. บทความนี้มีผู้ชม: 58408 ครั้ง

บทความที่รวมความรู้เรื่องเส้นผม แนะนำการรักษาผมร่วง และอาหารบำรุงเส้นผมสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง


ปลูกผมไม่ขึ้น เกิดจากอะไร? แก้ไขได้ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่!

ถึงแม้ว่าการปลูกผมจะเป็นวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน หรือหัวล้านกรรมพันธุ์ แต่ทั้งนี้ หลังการปลูกผม หลายคนกลับพบปัญหาเรื่องปลูกผมไม่ขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งความเชี่ยวชาญของแพทย์, กราฟผมไม่มีคุณภาพ, อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ปลูกผม, การดูแลตัวเองของผู้เข้ารับการปลูกผม รวมไปถึงปัจจัยที่คาดไม่ถึง เช่น โรคประจำตัว หรือยาที่ต้องรับประทาน ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุที่ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น
 
ในบทความนี้จะพาทุกคนไปหาสาเหตุที่ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น ปลูกผม FUE ไม่ขึ้น พร้อมวิธีแก้ไขปัญหาปลูกผมแล้วไม่ขึ้น โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผม
 
ปลูกผมไม่ขึ้น
 

ปลูกผมไม่ขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

การปลูกผมเป็นวิธีแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น ปลูกผม FUT และปลูกผม FUE ซึ่งภาวะปลูกผมไม่ขึ้นนั้น เป็นปัญหาที่ไม่ปกติ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน
 
สำหรับในช่วงแรกหลังปลูกผม อาจมีเส้นผมร่วงได้เป็นเรื่องปกติ หรือที่เรียกว่า Shock Loss เป็นอาการที่เส้นผมเกิดความบอบช้ำ หยุดเจริญเติบโต ซึ่งอาจจะมีผมร่วงได้ประมาณ 2-8 สัปดาห์หลังปลูกผม แต่หลังจากนี้จะเริ่มเข้าสู่ระยะหรือระยะที่เส้นผมจะไม่งอกขึ้นอีกประมาณ 3-4 เดือน
 
หลังจากพ้นระยะ 3-4 เดือนแรกหลังปลูกผมไป เส้นผมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมีการงอกเส้นใหม่ขึ้นมา คือ 70% หลังจากที่ปลูกผมไปแล้วประมาณ 6 เดือน สำหรับเส้นผมที่ขึ้นได้อย่างเกือบเต็มทั้งหมดประมาณ 9-12 เดือนหลังปลูกผม และจะขึ้นเต็มที่ทั้งหมดประมาณ 18 เดือน
 
แต่หากระยะเวลาผ่านไปแล้วประมาณ 18 เดือน ยังไม่มีเส้นผมขึ้นใหม่อีกเลย นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกแล้วว่าปลูกผมไม่ขึ้น ซึ่งท่านสามารถสังเกตอาการตามระยะเวลาได้ ดังนี้
โดยทั่วไปแล้ว หากสังเกตตัวเองาแล้วพบว่าเส้นผมไม่ขึ้นหรือปลูกผมแล้วไม่ขึ้นตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น อาจเกิดได้จากสาเหตุหลัก ๆ เลยคือ คลินิกปลูกผมไม่ได้มาตรฐาน แพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอ หรือใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น แนะนำว่าควรเลือกคลินิกปลูกผมที่ใหม่ที่ได้มาตรฐาน มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อเข้ารับการปรึกษาแก้ปลูกผมใหม่ 
 
ก่อนตัดสินใจปลูกผมถาวรครั้งแรกหรือแก้ปลูกผมใหม่ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง เพื่อให้ผลลัพธ์ปลูกผมออกมาดีตามที่คาดหวัง ลดโอกาสเสี่ยงที่ปลูกผมไม่ขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 8 เหตุผลพิจารณาเลือกปลูกผมที่ไหนดี
 
 

ปลูกผมไม่ขึ้น เกิดจากสาเหตุใด

ปลูกผม FUT หรือปลูกผม FUE ไม่ขึ้นอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ปลูกผมไม่ขึ้นได้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจเกิดแค่ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยพร้อม ๆ กัน ซึ่งสาเหตุของปลูกผมไม่ขึ้นมี ดังนี้
 
ปลูกผมไม่ขึ้น เกิดจาก

1. ความไม่ชำนาญของแพทย์และทีมงาน

สาเหตุที่ปลูกผมไม่ขึ้นอันดับแรกที่เกิดขึ้นได้บ่อย คือ แพทย์และทีมงานไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ จนทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ทั้งระหว่างการนำเซล์รากผมออกมา รวมไปถึงขั้นตอนการปลูกผม ซึ่งล้วนเป็นกระบวนการสำคัญ โดยหากแพทย์และทีมงานที่ทำการปลูกผมไม่มีความชำนาญ อาจส่งผลที่ตามมาได้ อาทิ
ก่อนตัดสินใจปลูกผมและเลือกคลินิกปลูกผม แนะนำให้ตรวจสอบให้ดีว่า แพทย์และทีมงานผู้ช่วยมีความรู้ เรียนและได้รับการอบรมทางด้านปลูกผมเฉพาะทางหรือไม่ เพราะทุกขั้นตอนของการปลูกผมถาวรเป็นวิธีการที่ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์สูง เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ละเอียดอ่อนมาก หากทำโดยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญไม่เพียง จะเสี่ยงต่อการที่ปลูกผมไม่ขึ้น

2. เทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม

ในปัจจุบัน มีการปลูกผม 2 เทคนิคหลัก ๆ คือ ปลูกผม FUE และ FUT ซึ่งแต่ละวิธีนั้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้ การปลูกผมไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์และทีมงานเป็นหลักสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะปลูกผมไม่ขึ้น
 
ปลูกผม FUE ไม่ขึ้นมีโอกาสพบได้บ่อยว่าเทคนิค FUT เนื่องจากวิธีการเจาะนำกราฟผมออกมาต้องทำอย่างถูกวิธี หากทำโดยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ ก็จะทำให้กราฟผมได้รับความเสียหาย และทำให้ปลูกผม FUE ไม่ขึ้นได้ รวมไปถึงกราฟผมที่ได้จากการปลูกผม FUE ยังอ่อนแอมากกว่า เพราะไม่มีเนื้อเยื่อและไขมันติดมากับรากผมด้วย จึงต้องอาศัยทักษะและความชำนาญเป็นพิเศษจากแพทย์และทีมงาน
 
สำหรับปลูกผม FUT ก็อาจมีโอกาสปลูกผมไม่ขึ้นได้เช่นกัน หากทำโดยแพทย์และทีมงานที่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ เช่น ในขั้นตอนของการนำกราฟผมมาตัดแบ่งเพื่อนำไปปลูกผม หากตัดแบ่งแบบไม่ระมัดระวัง อาจตัดโดนรากผมจนทำให้กราฟผมได้รับความเสียหาย ทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้นได้

3. กราฟผมที่นำมาปลูกไม่แข็งแรง

กราฟผม หรือ กอผม คือเส้นผมที่แพทย์จะต้องนำออกมาเพื่อใช้ในการปลูกผม และต้องเลือกใช้แต่กราฟผมบริเวณท้ายทอยหรือกกหู ซึ่งเป็นเซลล์รากผมที่มีความแข็งแรงมากที่สุด และไม่มีผลต่อฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นสาเหตุของผมร่วง
 
สำหรับกราฟผมนั้นจะมีเนื้อเยื่อติดอยู่ และมีความบอบบางอ่อนแออยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น ในขั้นตอนของการนำกราฟผมออกมา หากมีความเสียหายเกิดขึ้น จะส่งผลให้กราฟผมที่นำไปปลูกผมตายได้ และทำให้เป็นสาเหตุของปลูกผมไม่ขึ้น

4. ระยะเวลาปลูกผมนานเกินไป

โดยทั่วไปแล้ว ในการปลูกผมจะใช้เวลาประมาณ 3-8 ชั่วโมง ทั้งนี้ระยะเวลาขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม ซึ่งกราฟผมไม่ควรจะอยู่ภายนอกร่างกายนานเกินไป เพราะจะทำให้กราฟผมเสื่อมสภาพและส่งผลให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้นได้
 
เนื่องจากเซลล์รากผมหากขาดความชุ่มชื่น เซลล์รากผมอาจตายได้ รวมไปถึงเมื่อเซลล์รากผมอยู่ภายนอกร่างกาย จะยังทำงานตามปกติอยู่ แต่หากอยู่นานเกินไป สารอาหารก็จะหมดลง ทำให้เซลล์รากผมตายได้เช่นกัน
 
ฉะนั้น ทางแก้ปัญหาเพื่อยืดอายุให้เซลล์รากผมคือ การนำกราฟผมแช่ในน้ำยาแช่กราฟ ซึ่งต้องใช้เป็นเกรดเดียวกันกับน้ำยาแช่อวัยวะที่สำหรับรอการปลูกถ่าย แต่ก็ไม่ควรให้เซลล์รากผมอยู่นอกร่างกายนานเกินไป แพทย์จึงต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อรักษาคุณภาพของเซลล์รากผมให้สมบูรณ์มากที่สุด

5. อุปกรณ์ที่ใช้ปลูกผมไม่ได้มาตรฐาน

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผมควรเป็นอุปกรณ์พิเศษ ที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อใช้ปลูกผมเท่านั้น และต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เช่น เครื่องเจาะกราฟผมไฟฟ้า (Trivellini) กับหัวเจาะเฉพาะ (Trivellini’s Flared Rim Punch) ที่ใช้ในการปลูกผม FUE, ปากกาปลูกผม (Implanter), หรือคีมคีบกราฟผม (Forceps) ซึ่งจะช่วยให้การปลูกผมมีประสิทธิภาพสูง
 
นอกจากนี้น้ำยาหรือยาต่าง ๆ ที่ใช้ก็ต้องมีมาตรฐานด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง น้ำยาแช่กราฟ ควรเป็นน้ำยาตัวเดียวกับน้ำยาที่ใช้แช่อวัยวะสำคัญก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะ, ยานอนหลับ หรือยาชา ก็ต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ออกฤทธิ์ดี ผลข้างเคียงน้อย หากไม่ได้ใช้ยาเฉพาะ หรือไม่ได้ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน จะส่งผลต่อความแข็งแรงของรากผม ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้เข้ารับการรักษาเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย หรือติดเชื้อระหว่างผ่าตัดด้วย

6. การดูแลหลังผ่าตัดปลูกผมไม่ดีพอ

การดูแลตัวเองหลังปลูกผม เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากไม่ระมัดระวัง หรือละเลยการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ อาจทำให้เป็นสาเหตุของปลูกผมแล้วไม่ขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังปลูกผม เป็นช่วงเวลาที่รากผมยังไม่เชื่อมติดกับเนื้อเยื่อโดยรอบ ถ้าดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ จะทำให้กอรากผมหรือกราฟผมที่ปลูกไปหลุดออก จนปลูกผมไม่ขึ้น หรืออาจจะทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ จนรากผมเสียหายได้
ดังนั้น ในช่วงเวลา 1 เดือนหลังปลูกผม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด ดังนี้

7. ปลูกผมไม่ขึ้นแบบหาสาเหตุไม่ได้

สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากปลูกผมไปแล้ว อาจส่งผลกระทบทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น อย่างโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการปลูกผม เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งจะส่งผลให้ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงเซลล์รากผม
 
รวมไปถึงสาเหตุที่ยังไม่ทราบแน่ชัด เกี่ยวกับภาวะ X Factor ที่ทางการแพทย์สันนิษฐานไว้ว่าเป็นภาวะที่ร่างกายปฏิเสธเนื้อเยื่อ หรือปฏิเสธการปลูกผมนั่นเอง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคิดว่าการปลูกผมเป็นสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงรากผม จึงเป็นสาเหตุทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น
 
แต่การเกิดภาวะ X Factor พบได้น้อยมาก เพราะกราฟผมที่นำมาใช้เป็นเส้นผมของผู้เข้ารับการปลูกผมเอง ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม ไม่ใช่เส้นผมของคนอื่น จึงทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายจะปฏิเสธได้น้อย หรือแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
 
ทั้งนี้ในปัจจุบัน ภาวะ X Factor ยังเป็นที่ถกเถียงในวงการแพทย์อยู่ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่บอกว่าปลูกผมไม่ขึ้นจากภาวะ X Factor อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ X Factor ก็เป็นไปได้
 
 

วิธีแก้ไขเมื่อปลูกผมแล้วไม่ขึ้น

ปลูกผมแล้วผมร่วง

1. ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุร่วมกันว่าเกิดจากอะไร

หลังปลูกผมหากพบว่าปลูกผมไม่ขึ้น แนะนำให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ อาจเลือกเป็นแพทย์ท่านเดิมที่ทำการปลูกผมให้ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ เพื่อตรวจและวิเคราะห์สาเหตุของปลูกผมแล้วไม่ขึ้น เพราะถ้าหากผู้เข้ารับการปลูกผมมีภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลต่อการปลูกผม จะได้รักษาโรคนั้น ๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขอย่างตรงจุด จากนั้นจึงค่อยหาวิธีรักษาอื่น ๆ เช่น การปลูกผมซ้ำใหม่ หรือวิธีอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

2. ลองรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ

หากพบว่าเข้าข่ายปลูกผมไม่ขึ้น ผู้เข้ารับการปลูกผมอาจไม่อยากใช้วิธีผ่าตัดปลูกผมอีกต่อไป อาจเป็นเพราะไม่อยากเจ็บตัว ไม่อยากพักฟื้น และไม่อยากมีแผลเป็นอีกรอบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำวิธีการอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปลูกผมไม่ขึ้น อาทิ
  1. การทำ PRP ผม – เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น พร้อม Growth Factors ต่าง ๆ เข้าที่หนังศีรษะ ทำให้เซลล์รากผมได้รับการฟื้นฟู กระตุ้นการสร้างเส้นผมให้มากขึ้น
  2. ฉีดสเต็มเซลล์ผม – เป็นการฉีดสเต็มเซลล์จากรากผมเข้าที่หนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นเซลล์รากผมให้ผลิตเส้นผมได้มากขึ้น
  3. เลเซอร์ LLLT – เลเซอร์พลังงานต่ำ ให้พลังงานกับเซลล์ นิยมทำเพื่อแก้ไขผมร่วง ผมบาง ในระยะเริ่มต้น
  4. โฟโตน่าเลเซอร์ – เลเซอร์กระตุ้นหนังศีรษะ ฟื้นฟูเส้นผมที่ร่วง ผมบาง ให้กลับมาดกหนา
  5. ยาแก้ผมร่วง – รักษาอาการหัวล้านกรรมพันธุ์ได้ดี
สำหรับวิธีต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้ สามารถแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านในระยะที่ไม่รุนแรงมากนัก รากผมยังไม่ฝ่อตัว ซึ่งจะสามารถช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผมได้อย่างดี โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่มีแผลเป็น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการแก้ไขปลูกผมไม่ขึ้น ทั้งนี้ แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล อาจใช้วิธีเดียวหรือมากกว่านี้ควบคู่กันไป 
 
การปลูกผมในบริเวณที่ไม่มีผมขึ้นแต่แรก หรือมีผมน้อยอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ก็ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเหล่านี้แทนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การปลูกผมหน้าผากเพื่อปรับรูปหน้า ปลูกผมบนแผลเป็น การปลูกหนวด เครา จอน และการปลูกคิ้วถาวร โดยหากต้องการให้มีผมในบริเวณดังกล่าว หรือศีรษะล้านรุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกผมเท่านั้น
 
คุณผู้หญิงที่ต้องการปลูกผมเพื่อปรับรูปหน้า หรือบริเวณด้านหน้าศีรษะ มีความแตกต่างจากปลูกผมทั่วไปอย่างไร หาคำตอบได้ที่ ไขข้อสงสัย! ปลูกผมผู้หญิง ราคาเท่าไหร่ ? มีขั้นตอนอย่างไร ? แตกต่างกับปลูกผมผู้ชายไหม

3. ปลูกผมซ้ำรอบสอง

ถึงแม้ว่าการปลูกผมซ้ำรอบสองจะเป็นวิธีการแก้ไขปลูกผมไม่ขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ การปลูกผมซ้ำ ๆ กันหลายรอบ ก็ไม่ส่งผลดีสักเท่าไหร่นัก เนื่องจากในแต่ละครั้งที่ต้องเจาะหรือตัดนำกราฟผมออกมา ส่งผลให้หนังศีรษะช้ำ เกิดการอักเสบ และอาจทำให้เกิดภาวะเลือดมาเลี้ยงเซลล์รากผมได้ไม่ดีเหมือนก่อน 
 
ดังนั้น การตัดสินใจปลูกผมครั้งแรก หรือปลูกผมซ้ำในกรณีที่ต้องแก้ไขปัญหาปลูกผมแล้วไม่ขึ้น จำเป็นต้องศึกษาและเลือกคลินิกปลูกผมที่ได้มาตรฐาน เพื่อผลลัพธ์ในการปลูกผมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงปัญหาปลูกผมไม่ขึ้นได้อีกซ้ำหลาย ๆ รอบ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่จบ เสียเวลาพักฟื้น
 
 

ข้อสรุป

ปลูกผมไม่ขึ้น เป็นผลลัพธ์ที่ไม่ปกติ และสามารถเกิดขึ้นได้ โดยปัจจัยหลัก ๆ เกิดจากคลินิกปลูกผมที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงความเชี่ยวชาญของแพทย์และทีมงานที่มีไม่เพียงพอ และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปลูกผมไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้ปลูกผมด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งปลูกผม FUT หรือปลูกผม FUE ไม่ขึ้น เสียทั้งเงิน เสียเวลา และเจ็บตัวเปล่า ๆ 
 
ดังนั้น หากจะเลือกแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน แนะนำให้ศึกษาหาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมไปถึงเลือกคลินิกปลูกผมที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน มีรีวิวปลูกผมจากคนไข้จริง และที่สำคัญ คือ เลือกปลูกผมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผมโดยเฉพาะ เพื่อผลลัพธ์การปลูกผมที่ทำเพียงครั้งเดียวก็เห็นผลที่น่าพึงพอใจ ในแบบที่ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าปลูกผมแล้วจะไม่ขึ้น
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที