Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 28 มิ.ย. 2022 17.14 น. บทความนี้มีผู้ชม: 58886 ครั้ง

บทความที่รวมความรู้เรื่องเส้นผม แนะนำการรักษาผมร่วง และอาหารบำรุงเส้นผมสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง


โรคดึงผมตัวเอง หยุดดึงผมไม่ได้ เกิดจากอะไร? วิธีรักษาให้หายขาด

 
โรคดึงผม มักพบได้กับคนไข้ที่มีภาวะเครียด นับว่าเป็นโรคทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีพฤติกรรมชอบดึงผมตัวเอง โรคนี้มักพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง รวมไปถึงในเด็ก เมื่อมีอาการเครียดจะหยุดดึงผมไม่ได้ ทำเพื่อให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายขึ้น อาการเครียด ดึงผมตัวเองจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะไม่ดีต่อสุขภาพจิตจนอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้แล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพเส้นขนและเส้นผมตามมาด้วย 
 
ในบทความของวันนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคดึงผม เกิดจากอะไร หรือ อาการเครียด ดึงผมตัวเองให้มากขึ้น พร้อมทั้งเช็คอาการชอบดึงผมตัวเอง โรคนี้รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ และโรคดึงผม รักษาอย่างไรให้หายขาด 
 
โรคดึงผม
 

โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania)

โรคดึงผม (Trichotillomania) จัดอยู่ในอาการจิตเวชในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยคนไข้มักมีอาการเครียดและทำการดึงผมตัวเอง หรือดึงขนบริเวณอื่น ๆ ซ้ำ ๆ ซึ่งคนไข้มักจะรู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยหากดึงผมตัวเองแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย นานวันเข้า เมื่อมีพฤติกรรมการดึงผมตัวเองบ่อย ๆ ก็จะส่งผลให้ผมบาง ผมหายเป็นหย่อม จนอาจนำไปสู่ปัญหาศีรษะล้านจากโรคดึงผมที่เป็นอยู่
 
คนไข้ที่เป็นโรคดึงผมมักจะชอบใช้นิ้วม้วนผม ใช้ฟันกัดดึงผม กัดเล็บ แกะผิวหนัง กัดปาก หรือแม้กระทั่งเมื่อเห็นสิ่งของรอบข้าง เช่น ตุ๊กตา ก็จะดึงขนเล่น หรือแม้กระทั่งบางรายอาจมีพฤติกรรมกินเส้นผมที่ดึงออกมา จนส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารภายหลัง
 
ในคนไข้โรคดึงผมนั้นมักพบได้ในวัยรุ่นอายุก่อน 17 ปี และหากเป็นในผู้ใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงในคนไข้บางรายอาจมีพฤติกรรมดึงขนคิ้ว ถอนขนตา และมักจะไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นโรคดึงผม หรือชอบการดึงผมตัวเอง มักปกปิดเพื่อไม่ให้คนรอบข้างรู้ และมักจะใส่หมวก คลุมผ้า ใส่ขนตาปลอม เพื่อปกปิดบริเวณที่ไม่มีเส้นผม เส้นขน
 
 

สาเหตุของโรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผมเป็นภาวะความผิดปกติในการควบคุมตนเอง และเป็นโรคที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้แน่ชัด แต่คาดว่าโรคดึงผม เกิดจากพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอด มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคดึงผม และสาเหตุจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าโรคดึงผม เกิดจากปัจจัยดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคดึงผมตัวเอง

มักเกิดขึ้นก่อนหรือในช่วงวัยรุ่นตอนต้น โดยส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงอายุ 10-13 ปี และมักเป็นปัญหาตลอดชีวิต โดยหากเกิดขึ้นในวัยเด็กหากค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมซึ่งผู้ปกครองสามารถค่อย ๆ บอก ค่อย ๆ สอน ไม่ดุด่า หรือพาเข้าพบจิตแพทย์ ก็มักจะหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่หากอาการนี้เกิดในวัยรุ่น อาจเกิดได้จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงทำให้มีอารมณ์และการแสดงออกฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย จึงอาจต้องเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามรุนแรง สำหรับคนไข้ในวัยผู้ใหญ่มักมาด้วยอาการที่สืบเนื่องจากวัยรุ่นและมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย โดยไม่ได้เข้ารับการรักษา และมักมีอาการผมร่วง ผมบาง ผมหลุดเป็นหย่อม ซึ่งรักษาได้แต่ก็ทำได้ยากกว่าวัยเด็กหรือวัยรุ่น จึงต้องเข้ารับการรักษาเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้
คนไข้มักมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ เช่น เป็นโรคเครีย, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคซึมเศร้า จึงมักจะมีอาการควบคุมพฤติกรรมตัวเองไม่ได้ ส่งผลให้ดึงผมตัวเองโดยที่ไม่รู้ตัว หยุดดึงผมไม่ได้ และเมื่อได้ดึงผมตัวเองจะรู้สึกว่าผ่อนคลาย รู้สึกดี รู้สึกสบายใจขึ้น จนสุดท้าย อาการเครียด ดึงผมตัวเองจะทำจนติดเป็นนิสัยโดยทั้งที่รู้ตัวและอาจไม่รู้ตัวจนกลายเป็นโรคดึงผมในที่สุด
ความผิดปกติอาจเกิดจากส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม โดยส่งผลให้คนไข้ไม่สามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ รวมไปถึงมักไม่สามารถควบคุมอารมณ์ การเคลื่อนไหว การสร้างนิสัย ความเคยชิน และความยับยั้งชั่งใจตัวเอง ส่งผลให้ตนเองแสดงออกมาอย่างผิดปกติ อย่างเมื่อรู้สึกว่าอารมณ์ไม่ดี รู้สึกแย่ หรือไม่สบายใจก็จะดึงผมตัวเอง หยุดดึงผมไม่ได้
 
 

อาการของโรคดึงผมตัวเอง 

โรคดึงผมตัวเอง
 
โดยมากแล้ว โรคดึงผม อาการมักพบได้ 2 แบบร่วมกัน ซึ่งบางรายชอบดึงผมตัวเองทั้งที่รู้ตัวมากกว่าไม่รู้ตัว หรือบางรายหยุดดึงผมไม่ได้ที่ไม่รู้ตัวมากกว่าที่รู้ตัว แตกต่างเป็นกรณีไป โดยในขณะที่มีพฤติกรรมชอบดึงผมตัวเองอาจรู้สึกว่าไม่สบายศีรษะ รู้สึกคันหรือโรคดึงผมคัน ซึ่งรู้สึกว่าผมไม่เรียบอยากดึงออกมา และเมื่อดึงออกแล้วจะรู้สึกสบายใจ โดยมากแล้วมักจะเกิดขึ้นขณะทำสิ่งต่าง ๆ เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ หรือทำงาน เป็นต้น รวมถึงอาการของโรคดึงผมทำให้คนไข้มีปัญหาเกี่ยวกับการยับยั้งชั่งใจ และอาจมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้
 

ผลข้างเคียงจากโรคดึงผม

 

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ในวัยเด็กหากมีอาการของโรคดึงผม ผู้ปกครองควรสังเกตอาการบุตรหลาน และไม่ควรดุด่าว่ากล่าว แต่ให้พูดดี ๆ พร้อมให้เหตุผลกับบุตรหลาน โดยให้ลองปรับพฤติกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป หากิจกรรมอื่น ๆ ที่เบี่ยงเบนความสนใจ โดยโรคดึงผมในวัยเด็กจะไม่รุนแรงเท่าในวัยรุ่นและในวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองโดยไม่ต้องพบแพทย์ หรือหากผู้ปกครองมีความกังวลสามารถพาบุตรหลายพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้
 
สำหรับในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ หากพบอาการของโรคดึงผม หยุดดึงผมไม่ได้ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจิตใจรวมถึงส่งผลต่อสุขภาพต่าง ๆ และอาจทำให้มีปัญหาเส้นผมบางลง หรือศีรษะล้านได้ในภายหลัง
 
โดยในะระยะแรกคนไข้อาจลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากิจกรรมทำเพื่อเบี่ยงเบนจากอาการโรคดึงผมตัวเอง เช่น เล่นกีฬา ออกไปเที่ยว โดยอย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่ในภาวะที่ไม่มีอะไรทำ เหงา ซึ่งหากทำได้อาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ลดลง
 
หากอาการโรคดึงผมยังไม่ดีขึ้น ยังควบคุมตัวเองไม่ได้จนทำให้หยุดดึงผมไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาสาเหตุของอาการที่เป็นอยู่ ซึ่งหากรักษาอาการทางจิตเวชดีขึ้นแล้ว ก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผม เพื่อแก้ไขปัญหาจากเส้นผมบาง ผมร่วง ศีรษะล้าน
 
 

วิธีรักษาโรคดึงผม

หยุดดึงผมไม่ได้
 
โรคดึงผม รักษาด้วยการทำ Habit Reversal Training (HRT) ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการโดยใช้วิธีแก้โรคดึงผมแบบพฤติกรรมบำบัด โดยโรคดึงผมตัวเอง วิธีรักษามักประกอบด้วย
 
1. รู้เท่าทันอาการของโรคดึงผมที่เป็นอยู่
แนะนำให้หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ เมื่อใดที่เริ่มรู้สึกถึงพฤติกรรมตัวเองว่ามีการดึงผมของตัวเอง ให้คอยสังเกตตั้งแต่อาการเริ่มต้นและคอยจดบันทึกไว้ เช่น ความรู้สึกแล้วว่ามันกำลังเกิดขึ้น สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สังเกตว่าชอบดึงผมเวลาไหน ดึงผมบริเวณไหนบ้าง 
 
2. สังเกตสิ่งกระตุ้น
หาสาเหตุที่กระตุ้นพฤติกรรมการดึงผมของผู้ป่วย เช่น ความเครียดในการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อต้องบุคคลรอบข้าง เจอกลุ่มเพื่อน และเรียนรู้วิธีควบคุม หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมชอบดึงผมตัวเอง โรคดึงผมตัวเอง
 
3. หากิจกรรมเบี่ยงเบน
สำหรับพฤติกรรมดึงผมตัวเอง วิธีแก้โรคดึงผมนั้นสามารถหากิจกรรมเพื่อลดความเครียด ลดความสนใจไปจากอาการรู้สึกดึงผม เช่น การกำมือ หรือใช้ลูกบอลบีบเพื่อคลายเครียด การใส่ปลอกนิ้ว เมื่อรู้สึกอยากดึงผม
 
4. การดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้าง
โรคดึงผม รักษาได้ด้วยการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและคนใกล้ชิด ซึ่งนับว่าเป็นวิธีแก้โรคดึงผมที่สามารถช่วยให้คนไข้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมควบคุมตัวเองไม่ได้ หยุดดึงผมไม่ได้ โดยการหมั่นสังเกตอาการและควรส่งเสริมการให้กำลังใจ ไม่ดุว่า เพื่อช่วยให้คนไข้สามารถปรับตัวและลดพฤติกรรมได้

วิธีแก้ไขอาการชอบดึงผมตัวเองเบื้องต้น

  1. หากิจกรรมหรือการใช้ของเล่นผ่อนคลาย เพื่อเบี่ยงเบียนความสนใจจากอาการดึงผมตัวเอง เช่น ใช้ลูกบอลบีบคลายเครียด หรือของเล่นเสริมสร้างสมาธิอื่นๆ (Fidget toys)
  2. ใส่บีนนี่ หรือผ้าโพกหัว
  3. ฝึกหายใจลึกๆ เพื่อสร้างสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด จนกว่าความอยากดึงผมจะหายไป
  4. หากิจกรรมเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เพื่อลความเครียด และเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมหยุดดึงผมไม่ได้
  5. แปะพลาสเตอร์ที่ปลายนิ้ว
  6. ตัดผมให้สั้นลง หรือใส่หมวก โพกผ้าศีรษะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการดึงผมตัวเอง
 

โรคดึงผมตัวเอง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

ผลกระทบจากโรคดึงผม หยุดดึงผมไม่ได้ อาจทำให้เส้นผมบาง มีปัญหาหนังศีรษะล้านได้ และอาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่หนังศีรษะจนเกิดเป็นแผลเป็น จากนั้นเส้นผมจะไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ และอาจทำให้คนไข้มีความเครียด ไม่กล้าเข้าสังคม ไม่มั่นใจในตัวเอง จนอาจเป็นการซ้ำเติมให้อาการโรคดึงผมแย่ลง หรืออาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้
 
หลายท่านสงสัยว่าเมื่อตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคดึงผม รักษาที่ไหนดี? และดึงผมตัวเอง ผมจะขึ้นไหม? แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาอาการของโรคดึงผมกับจิตแพทย์ เพื่อรักษาโดยเริ่มจากการปรับสภาพจิตใจเสียก่อน เมื่อทำการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว สามารถเข้ารับการปรึกษาปัญหาผมร่วง ผมบางได้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผม 
 
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผมอาจพิจารณาวิธีการรักษาด้วยการปลูกผมตามเทคนิคต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของปัญหาผมร่วง ผมบาง หนังศีรษะล้าน เช่น หากคนไข้มีแผลเป็นจากหนังศีรษะอักเสบเกิดเป็นแผลจากอาการโรคดึงผม แพทย์อาจแนะนำวิธีปลูกผมลงในแผลเป็น ด้วยเทคนิคปลูกผม FUT หรือ เทคนิคปลูกผม FUE ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาเป็นเคสตามแต่อาการที่แตกต่างกัน
 
หากคนไข้มีปัญหาเส้นผมร่วง ผมบาง ที่ยังไม่รุนแรงมากนัก มีอาการรากผมไม่แข็งแรง แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วย เช่น การใช้ยาแก้ผมร่วง, ฉีด PRP ผม, ฉีดสเต็มเซลล์, Fotona Laser, เลเซอร์ LLLT 
 
หมายเหตุ ทั้งนี้ คนไข้จะต้องใช้วิธีใดนั้น แพทย์จะพิจารณาจากความเหมาะสมของคนไข้แต่ละราย
 
ชอบดึงผมตัวเอง
 
 

ข้อสรุป ‘โรคดึงผมตัวเอง’

โรคดึงผม อาการจะเกี่ยวพันกับโรคทางจิตเวช ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นสร้างความไม่มั่นใจในการเข้าสังคมหรือพบปะผู้คน ที่มาจากความอายบริเวณหนังศีรษะล้าน ผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม หรือผิวหนังอักเสบและทำให้เกิดแผลเป็นจนเส้นผมไม่สามารถขึ้นได้อีกต่อไป รวมไปถึงยังอาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมาได้
 
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาโรคดึงผมอยู่ แนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาให้การหยุดดึงผมไม่ได้หายดี จากนั้นหากมีปัญหาเรื่องผมบางหรือหนังศีรษะล้าน รากผมอ่อนแอ เส้นผมไม่สามารถขึ้นได้อีก คุณสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผม ประสบการณ์โดยตรงสูง ของ Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line : @absolutehairclinic
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที