ศิริกุล

ผู้เขียน : ศิริกุล

อัพเดท: 04 ม.ค. 2022 11.42 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2920 ครั้ง

รู้หรือไม่ผิวหนังของคนเราสามารถที่จะผลิต ไฮยาลูรอน ได้เองตามธรรมชาติ แต่พอมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการผลิต ไฮยาลูรอน ของผิวจะลดลง ทำเกิดรอยเหี่ยวย่น และริ้วรอยก่อนวัยอันควรได้ เราจึงมักจะเห็นแบรนด์ครีม ต่างๆ นำไฮยาลูรอน มาเป็นส่วนประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ตัวเอง


ขนาดโมเลกุล ไฮยาลูรอน สำคัญอย่างไร

 

ขนาดโมเลกุลของ ไฮยาลูรอน ถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไหร่ ก็จะทำให้ทั้งสามารถช่วยทำให้ผิวดูชุ่มชื้นและรักษาริ้วรอยก่อนวัยได้ไปพร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผิวกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น เรียบเนียนดูสุขภาพดีขึ้น โดยขนาดโมเลกุลของไฮยาลูรอน สามารถแบ่งออกได้เป็น
 
High Molecular Weight (HMW) เป็นไฮยาลูรอนที่มีขนาดเล็กมากกว่า 600 kda มีคุณสมบัติในการช่วยทำให้ผิวหนังชั้นกำพร้ามีความชุ่มชื้น ป้องกันการระเหยของน้ำออกจากชั้นผิว ลดการอักเสบของผิวจากแสง UV
Middle Molecular Weight (MMW) เป็นไฮยาลูรอนที่มีขนาดเล็กมากกว่า 150 – 600 kda มีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นให้ชั้นหนังกำพร้า มีการสร้างไฮยาลูรอน แอซิด ทำให้ผิวหนังกลับมาดูอิ่มฟู ชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้น
Low Molecular Weight (MMW) เป็นไฮยาลูรอนที่มีขนาดเล็กมากกว่า 150 kda มีคุณสมบัติในการซึมผ่านชั้นผิวหนังอย่างล้ำลึก จากชั้นหนังกำพร้าถึงชั้นหนังแท้ ช่วยกระตุ้นให้ชั้นผิวหนังทั้งสอง มีการสร้างไฮยาลูรอน แอซิด ทำให้ผิวหนังกลับมาดูอิ่มฟู ชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นชั้นหนังแท้ ให้สร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น เรียบเนียนดูสุขภาพดีมากกว่าเดิม
โดยล่าสุด ยังมีการคิดค้นเทคโนโลยีที่ทำให้ไฮยาลูรอน บำรุงผิวได้อย่างล้ำลึกมายิ่งขึ้น ในรูปแบบของ Encapsulated Form ที่นำเอาไฮยาลูรอน ซึ่งมีโมเลกุลขนาด 240,000 – 250,000 มาบรรจุอยู่ในแคปซูลขนาดเล็ก ทำให้สามารถซึมลึกเข้าสู่เซลล์ผิว และบำรุงผิวกลับคืนขึ้นมาได้ดีทันที
 
ดังนั้น หากต้องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ ไฮยาลูรอน ให้พิจารณาด้วยว่า ไฮยาลูรอนที่มากับผลิตภัณฑ์นั้น มีขนาดโมเลกุลเท่าไหร่ เพื่อให้สามารถบำรุงผิวได้ตรงจุดตามที่ต้องการ เช่น หากต้องการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวอย่างเดียว ให้เลือกไฮยาลูรอนที่มีขนาดโมเลกุลมากกว่า 600 kda ก็พอ แต่ถ้าต้องการลบเลือนริ้วรอย กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนด้วย ให้เลือกโมเลกุลที่มีขนาดเล็กมากกว่า 150 kda เป็นหลัก

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที