AllYouShouldKnow

ผู้เขียน : AllYouShouldKnow

อัพเดท: 01 มี.ค. 2022 23.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1889 ครั้ง

กายภาพบำบัด สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้หลายอย่าง การที่รู้วิธีกายภาพเบื้องต้นจะสามารถทำให้ทุกคนเจ็บป่วยน้อยลงได้ และใช้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกวิธีมากขึ้น


อาการนิ้วล็อค สิ่งที่คนทำงานหลีกเลี่ยงไม่ได้

อาการนิ้วล็อค สิ่งที่คนทำงานหลีกเลี่ยงไม่ได้

นิ้วล็อค นิ้วชา หรือนิ้วงอไม่ได้ เป็นอาการที่พบได้ในกลุ่มคนที่ต้องมีการใช้มือ ใช้นิ้วอย่างมากในการทำงาน เช่น พนักงานออฟฟิศ พ่อค้าแม่ค้า แม่บ้าน และคนยกของ โดยเมื่อมีอาการนิ้วล็อคแล้ว ก็อาจทำให้มีอุปสรรคต่อการทำงาน เพราะนิ้วจะไม่สามารถขยับได้อย่างที่คิด เพื่อให้การทำงานของทุกคนราบรื่นไปได้ด้วยดี เรามาทำความรู้จักว่าโรคนิ้วล็อคเกิดจากอะไร และนิ้วล็อครักษาอย่างไร

 

นิ้วล็อคเกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

 

สาเหตุของอาการนิ้วล็อค

นิ้วล็อค (Trigger Finger) มีสาเหตุจากการอับเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นที่ฝ่ามือ บริเวณโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี เมื่อทำการงอนิ้วมือแล้วจะไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม

 

อาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร ? สาเหตุของอาการนิ้วล็อคเกิดจากการใช้งานนิ้วอย่างหนัก โดยไม่ได้รับการ พักผ่อน หรือการยืดเส้น โดยนิ้วที่มีอาการล็อคมักจะพบได้ในนิ้วที่มีการใช้งานอย่างหนัก อย่างนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วโป้ง แต่นิ้วนาง นิ้วก้อย ที่ไม่ได้มีการใช้งาน จะไม่มีอากรนิ้วล็อค

นิ้วล็อคอาการเป็นอย่างไร

โรคนิ้วล็อค อาการของมันจะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยความรุนแรงของอาการของนิ้วล็อคจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

 

ระยะที่ 1 : มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ

ระยะที่ 2 : เมื่อทำการกำมือหรือเหยียดนิ้วมือ จะมีอาการเจ็บมากกว่าระยะแรก นิ้วอาจจะเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก แต่ยังสามารถขยับได้อยู่

ระยะที่ 3 : เมื่อกำมือแล้ว จะมีอาการนิ้วล็อค โดยไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้เอง อาการเจ็บมากขึ้น

ระยะที่ 4 : มีอาการเพิ่มเติม คือ ไม่สามารถกำมือให้สุดได้ และอาจมีอาการนิ้วแข็ง นิ้วบวม หรือผิดรูป ไม่สามารถหยิบจับใช้งานได้เหมือนปกติ

กลุ่มเสี่ยงผู้ที่อาจเป็นนิ้วล็อค

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นนิ้วล็อค จะมีจุดร่วมกัน คือ มีการใช้งานมือ และนิ้วอย่างหนัก จนเป็นเหตุให้เส้นเอ็นอักเสบบริเวณโคนนิ้วมือ และทำให้มีอาการนิ้วล็อคตามมา

 

  1. คนที่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน : ในยุคที่ใครๆก็มีสมาร์ทโฟน การใช้สมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนหลายๆคน การไถมือถือเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่พัก จะทำให้นิ้วมือต้องทำงานอย่างหนัก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นนิ้วล็อค
  2. พนักงานออฟฟิศ : การทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นงานหลักของอาชีพนี้ การใช้เมาส์ และคีย์บอร์ด เป็นเวลานานๆ ก็ทำให้เสี่ยงต่ออาการนิ้วล็อคได้เช่นกัน
  3. พนักงานยกของ : กลุ่มคนที่ทำอาชีพนี้ ต้องใช้ร่างกายอย่างหนัก เพราะการยกของหนักๆ เป็นเวลานาน สร้างภาระให้กับร่างกายเป็นอย่างมาก และเสี่ยงที่ทำให้ร่างกายหลายส่วนมีอาการบาดเจ็บได้ รวมถึงนิ้วล็อคด้วย ดังนั้นกลุ่มนี้ต้องมีการจัดตารางเวลาทำงาน และการพักให้เหมาะสม
  4. แม่บ้าน : งานบ้านที่ต้องทำนั้นมีอยู่หลายอย่าง การกวาดบ้าน ถูบ้าน ศักผ้า และอื่นๆนั้น แต่ละอย่างก็ต้องใช้มือ ใช้นิ้วมือ หยิบจับสิ่งของและอื่นๆอีกหลายอย่าง การทำงานบ้านเป็นเวลานานๆ ก็เสี่ยงต่อการเป็นนิ้วล็อคได้่นกัน
  5. นักกีฬา : ขึ้นอยู่กับกีฬาที่เล่นด้วย โดยกีฬสชนิดไหนที่ต้องใช้มือ ใช้นิ้ว การหักโหมเล่นกีฬาเหล่านั้น โดยไม่มีการยืดเส้น หรือการพักผ่อนที่พอเหมาะ นักกีฬาก็เสี่ยงที่จะเป็นนิ้วล็อคได้เช่นกัน

อาการนิ้วล็อค รักษาอย่างไร ?

อาการนิ้วล็อคแก้ง่ายนิดเดียว แม้ว่าจะเป็นอาการที่ยังไม่รุนแรง หรือรุนแรงแล้วก็ตาม ก็สามารถรักษาได้ โดยหากอาการนิ้วล็อคยังไม่รุนแรง ก็สามารถรักษาได้ด้วยการกายภาพบำบัด แต่ถ้าอาการนิ้วล็อคถูกปล่อยจนเรื้อรัง อาจจะทำให้รักษาได้ง่าย ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด โดยรายละเอียดของการรักษาทั้งสองแบบ มีดังนี้

การรักษาด้วยกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดนิ้วล็อคนั้น เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรต้องเป็นการรักษาที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และนักกายภาพบำบัด โดยแพทย์จะประเมินอาการว่าว่ารุนแรงขนาดไหน และเลือกวิธีการทำกายภาพที่เหมาะสมที่สุด 

  1. การใช้ความร้อน ความเย็น
  2. การรักษาด้วยคลื่นเสียง
  3. การดึงหรือดัดข้อต่อ
  4. การใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว

 

โดยทั้งสี่อย่างนี้ เป็นวิธีการที่จะใช้ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด

 

การรักษาด้วยการผ่าตัด

หากอาการนิ้วล็อคมีความรุนแรง จนส่งผลให้การทำงานมีปัญหา การรักษาเพื่อให้อาการนิ้วล็อคหายเร็วที่สุด จึงเป็นวิธีที่ควรเลือก ซึ่งนั่นคือ วิธีการผ่าตัด ถึงแม้จะต้องระยะพักฟื้นตามธรรมชาติของการผ่าตัด แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้หายขาดโดยจะมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้ 

  1. จะเริ่มด้วยการฉีดยาชาก่อน 
  2. ผ่าตัดเปิดแผลบริเวณด้านหน้าของโคนนิ้วที่จะผ่าตัด แยกหลอดประสาทออกไปด้านข้างเพื่อให้เห็นปลอกหุ้มเอ็นชัดเจนขึ้น 
  3. ใช้ใบมีดตัดปลอกหุ้มเอ็น ที่เป็นสาเหตุของอาการนิ้วล็อค
  4. เย็บปิดแผลให้เรียบร้อย 

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดนิ้วล็อค

ควรพักฟื้นเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้นิ้วมือข้างที่พึ่งผ่าตัด และพยายามอย่าให้แผลผ่าตัดสัมผ้สโดนน้ำ

 

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดนิ้วล็อค

จะมีเพียงอาการเจ็บแผล ซึ่งเป็นธรรมชาติของการผ่าตัดอยู่แล้ว

 

การป้องกันอาการนิ้วล็อค

แม้ว่าอาการนิ้วล็อคอาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเนื้องานของแต่ละอาชีพ การรักษาอาจจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ แต่การป้องกันไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อคเลย เป็นวิธีที่ดีที่สุด 

 

  1. แบ่งเวลาการใช้งาน และการพักให้พอเหมาะ ระหว่างการใช้งานนิ้วมือเป็นระยะเวลานาน ควรมีช่วงที่พัก เพื่อยืดเส้นยืดสายนิ้วบ้าง
  2. การยกของหนักๆ หรือการเล่นกีฬาบางประเภท ที่ต้องใช้งานมือ และนิ้วมือ ควรใส่ถุงมือด้วย หากทำได้ เพื่อช่วยลดไม่ให้เกิดการเสียดสีกับนิ้วมือโดยตรง 

สรุป

อาการนิ้วล็อคอาจเป็นอุปสรรคในการทำงานของอาชีพนั้นๆ ดังนั้นการคอยระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อคจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรหาวิธีป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการใส่ถุงมือ การจัดสรรเวลาพักให้เหมาะสม เพราะการป้องกันไม่ให้เกิดย่อมดีกว่าการรักษา แต่ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอาการที่อาจจะเป็นนิ้วล็อค ก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งยังสามารถรักษาให้หายด้วยการกายภาพบำบัด 

 

อาการนิ้วล็อคดูจะเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะบางอาชีพก็มีความจำเป็นต้องใช้ทั้งข้อมือและนิ้วมืออย่างหนัก แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ คอยลดภาระการทำงานของนิ้วมือโดยใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม แบ่งเวลาพักบ้างเป็นระยะๆ และคอยหมั่นสังเกตเสมอว่า เรามีอาการที่เสี่ยงต่อภาวะนิ้วล็อคหรือไม่ หากเริ่มมีอาการหนักขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์แต่เนิ่น เพราะการรักษานิ้วล็อคในช่วงระยะแรก สามารถรักษาได้โดย การทำกายภาพนิ้วล็อค ไม่จำเป็นต้องไปถึงการผ่าตัด



 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที