lifeisgood

ผู้เขียน : lifeisgood

อัพเดท: 20 ก.ย. 2022 10.42 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5858 ครั้ง

Every day is such a miracle.


สารเคมีเรื่องที่คิดว่าไกลตัวจริงๆแล้วใกล้เรามากๆ

 
ในชีวิตประจำวันของเรา เราอาจคิดไม่ถึงว่าสารเคมีต่างๆนั้นจริงๆแล้วมีอยู่แทบจะในทุกๆอย่างที่เราใช้งาน และแน่นอนว่าสารเคมีนั้นก็มีทั้งคุณและโทษต่อร่างกายของเรา อีกทั้งสารเคมีต่างๆได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในด้านต่างๆ ทั้งด้านอาหาร ด้านการแพทย์ และรวมไปถึงการคมนาคมอีกด้วย เช่น เรื่องที่ใกล้ตัวเราอย่างการใช้น้ำมัน ซึ่งส่วนประกอบนั้นก็จะมีองค์ประกอบทางเคมี สารเคมีที่เข้ามาผสมกับน้ำมันเพื่อใช้ในการเติมรถยนต์ 
 
เพราะเรามักคิดว่าสารเคมีนั้นไกลตัวและน่าจะอยู่แค่ในการใช้งานตามโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าให้เราวิเคราะห์กันอย่างตรงไปตรงมา มีโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้ชุมชนและที่พักอาศัยจำนวนไม่น้อย และการขจัดของเสียจากสารเคมีอาจมีการปนเปื้อนออกมาทั้งทางอากาศและทางน้ำ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ การร่วมมือกันระหว่างชุมชนและโรงงานเพื่อป้องกันในเรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ อย่างการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันนั้นก็จะมีทั้ง อีพ็อกซี่ กันซึม ยางหยอดร่อง ซึ่งการใช้สารเคมีนั้นก็จะใช้ในปริมาณน้อยและให้ผลลัพธ์ที่ดี อย่างไรก็ตามเรามาศึกษาเบื้องต้นในเรื่องโลหะที่เป็นพิษจากเว็บไซต์ chularat3 ที่ได้แชร์บทความไว้ว่า สารโลหะหนัก หมายถึงโลหะที่เป็นพิษ  การที่มีโลหะหนักในร่างกายจะส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับพิษจากโลหะชนิดนั้นๆ ทั้งพิษแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และอาจทำให้เราเจ็บป่วยหรือเป็นโรคบางอย่างได้ ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าไป การตรวจวัดปริมาณโลหะหนักในร่างกาย มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงว่าเรามีโลหะหนักชนิดนั้นๆ อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการวางแผนการดูแลสุขภาพระยะยาวได้ ถ้าเราอยากทราบปริมาณโลหะหนักในร่างกายสามารถเจาะเลือดหรือเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษได้ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง มีสารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย คนที่ทำงานหรืออยู่ในแหล่งสัมผัสสาร เช่น โรงงานแบตเตอรี่ ช่างทอง ช่างเชื่อม บ้านอยู่ในเขตที่มีการปนเปื้อน ผู้ที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ ผู้ที่ชอบทำสีผมทำเล็บ ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารทะเลที่มาจากแหล่งปนเปื้อนน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ที่มีวัสดุอุดฟันที่ใช้สารอะมัลกัม ผู้ที่รับประทานผักผลไม้ที่การปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเป็นประจำ  โลหะหนักที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน คือ Tin (Sn) หรือดีบุกเป็นธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติ แต่จะพบดีบุกในดินและอาหารต่างๆในปริมาณน้อย ดีบุกใช้ในการผลิตกระป๋อง ตะกั่วขัดสี เหล็ก ท่อทองแดง กระป๋องบรรจุอาหารทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเหล็ก และเคลือบทับด้วยสารสังเคราะห์บางประเภทอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันดีบุกละลายผ่านออกมา แต่หากนำไปบรรจุอาหารที่มีสารบางชนิดปนอยู่หรือการเก็บอาหารกระป๋องในที่ร้อน
 
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที