Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 289938 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


แสงสีฟ้า ภัยร้ายดวงตาที่หลายคนมองข้าม

แสงสีฟ้า

แสงสว่าง หลายๆคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ แต่ถึงกระนั้นหลายๆคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่า แสงสว่างที่พวกเราเห็นนั้น มีสิ่งที่เรียกว่า แสงสีฟ้า ปะปนอยู่ด้วย โดยแสงสีฟ้านั้น ถือเป็นภัยเงียบที่หลายๆท่านยังคงมองข้ามอยู่ เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับแสงสีฟ้าเพิ่มเติมกันว่ามีอันตรายใดๆบ้าง และควรระวังตัวอย่างไร 


รู้จักแสงสีฟ้า (Blue Light)

แสงสีฟ้า (Blue Light) คือ 1 ในส่วนประกอบของแสงทั้ง 7 สี ได้แก่ ฟ้า ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง โดยแต่ละสีนั้น จะมีคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันออกไป ปรกติแล้วมนุษย์สามารถรับคลื่นความถี่ของแสงได้ประมาณ 400-700 nm  (นาโนเมตร) โดยแสงสีฟ้าที่เรากำลังจะพูดถึงในวันนี้ มีคลื่นความถี่ที่ประมาณ 380-480 nm ซึ่งเป็นช่วงคลื่นความถี่ที่อาจทำให้จอประสาทตาของเราเสื่อมสภาพลงได้


ที่มาของแสงสีฟ้า

โดยทั่วไปแล้วหลายๆท่านคงจะเคยได้ยินว่า เล่นโทรศัพท์นานมันไม่ดีมีแสงสีฟ้า จึงทำให้หลายๆท่านนั้นเข้าใจผิดว่า แสงสีฟ้านั้นเกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างเดียว ซึ่งที่จริงแล้วนั้นไม่ใช่เลย แสงสีฟ้านั้น สามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่งดังต่อไปนี้ 

1. แสงสีฟ้าจากแหล่งธรรมชาติ

blue light คือ

แสงสีฟ้าที่กำเนิดตามธรรมชาติ คือ แสงจากดวงอาทิตที่ส่องลงมาด้วยแสงขาว มีความเข้มข้นของแสงมาก และยังสามารถกระทบกับชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการกระเจิงกลายเป็นมีสีฟ้ามากกว่าสีอื่นๆ นั้นจึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมท้องฟ้าเวลากลางวันนั้นจึงเป็นสีฟ้า 

2. แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

แสงสีฟ้าจากหน้าจอ

แสงสีฟ้าที่กำเนิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแสงสีฟ้าชนิดนี้สามารถกำเนิดได้ด้วยทุกอุปกรณ์ที่มีหลอด LED เป็นส่วนประกอบ เช่น จอ TV จอโทรศัพมือถือ จอคอมพิวเตอร์เป็นต้น


อันตรายของแสงสีฟ้าต่อดวงตา

ดวงตาของเรานั้น ถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่สามารถป้องกันแสงบางประเภทได้ แต่กลับไม่สามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้ เนื่องจากในชีวิตประจำวันนั้น จำเป็นต้องพบเจอกับแสงทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน จึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่เจอแสงสีฟ้า โดยเฉพาะในเวลากลางวันที่มีทั้งแสงอาทิตและแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนนิกส์ 

 

สิ่งที่น่ากังวลสำหรับแสงสีฟ้า คือ แสงสีฟ้านั้น มีคลื่นความถี่ที่สามารถสงผลเสียต่อ เซลล์ภายในเลนส์ตาได้ โดยเฉพาะ การทะลุเลนส์ตาเข้าไปทำลายส่วนของ รูรับแสง เรติน่าได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการอื่นๆที่ไม่พึงประสงค์ตามมาได้


แสงสีฟ้าก่อให้เกิดภาวะใดได้บ้าง

โดยแสงสีฟ้าที่เรารับเข้าไปทุกวันนั้น ส่งผลทำให้สุขภาพของเราย่ำแย่ลง และทำให้เกิดอาหารต่างๆมากมายตามรายการข้างต้นนี้

 

แสงสีฟ้าจากคอม

1. อาการตาล้า ตาแห้ง

แม้จะยังไม่มีการวิจัยมายืนยันที่แน่ชัด แต่ก็มีการสันนิษฐานว่า แสงที่มีความถี่ต่ำนั้น สามารถกระเจิงได้ดีกว่า การที่สายตาของเรานั้นรับแสงสีฟ้าเข้ามามากเกินไป เมื่อแสงสีฟ้าเกิดการกระเจิง ทำให้ภาพที่เข้ามาในดวงตาของเรานั้นอาจไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ดวงตาจึงเพิ่มโฟกัสไปที่แสงสีฟ้ามากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไป การใช้งานที่มากเกินจำเป็นก็อาจก่อให้เกิดอาการล้าของดวงตาได้

2. ผลกระทบต่อการนอนหลับ

โดยปรกติแล้วร่างกายมนุษย์ถูกออกแบบมาให้มีเซ็นเซอร์วัดแสง เพื่อใช้ในการกำหนดว่า ร่างการของเราควรได้รับการพักผ่อนตามกาลเวลา พอถึงเวลาที่พระอาทิตใกล้ตกดิน ปรกติแล้วร่างกายจะกระตุ้นต่อมไพเนียล(Pineal gland) ที่สร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) จากสมอง เพื่อช่วยให้ร่างกัยหลับสนิทมากขึ้น 


เนื่องจากในเวลากลางวันนั้นจะมีปริมาณแสงสีฟ้าที่มาก ทำให้ การรับแสงสีฟ้าจำนวนมากในช่วงหัวค่ำนั้น ส่งผลให้ร่างกายเชื่อว่า ยังไม่ถึงเวลาคำตามปรกติ จึงทำจากสมอง ผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินน้อยลง  เนื่องจากเข้าใจว่าขณะนี้นั้นยังไม่ถึงเวลานอน ทำให้เรานอนหลับยากขึ้น หรือหลับไม่สนิทนั้นเอง

3. โรคจอประสาทตาเสื่อม

เนื่องจากดวงตาของเรานั้นไม่สามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้ จึงทำให้แสงสีฟ้านั้นสามารถทะลุเข้าไปทำลายเซลล์รับแสงในจอตาของเราในส่วนของ เรติน่า ส่งผลให้การมองเห็นส่วนกลางแย่ลง มีอาการ ตามัว การมองเห็นเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ เห็นสีเพี้ยน เป็นต้น


วิธีปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า

โดยหากไม่สามารถเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนนิกส์ที่ปล่อยแสงสีฟ้ามากๆได้ เราควรมีมาตรการและวิธีป้องกันแสงสีฟ้า เพื่อป้องกันดวงตาของเราจากอาการที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น

1. ใช้แว่นกรองแสงสีฟ้า

แว่นกรองแสงสีฟ้า

โดยแว่นกรองแสงสีฟ้านั้น สามารถทำหน้าที่ในการกรองแสงสีฟ้าที่จะเข้ามาสู่ดวงตาของเราได้ ช่วยป้องกันอาการระคายเคืองของดวงตาหลังจากรับแสงสีฟ้าเป็นระยะเวลานานได้ 

 

ทั้งนี้แว่นกรองแสงนั้น มีมากมายหลากหลายราคา ควรเลือกซื้อแว่นกรองแสงสีฟ้าที่มีประสิทธิภาพการกรองแสงตั้งแต่ 10-65 % ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทเลนส์ที่เราใช้ด้วย และเพื่อให้เราสามารถมั่นใจได้ว่า แว่นกรองแสงสีฟ้าที่เราซื้อมานั้น สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราควรมีขั้นตอนการตรวจแว่นกรองแสงสีฟ้าเบื้องต้น


ขั้นตอนการตรวจสอบแว่นกรองแสงสีฟ้าเบื้องต้นนั้น อาจไม่สามารถการันตีได้ 100% ว่าแว่นกรองแสงสีฟ้าที่คุณซื้อมานั้น มีคุณภาพดีที่สุด แต่สามารถใช่ช่วยในกวรตรวจสอบว่า แว่นกรองแสงสีฟ้าที่คุณซื้อมานั้นมีประสิทธิภาพดีมากน้อยแค่ไหน

 

1.ขอรับรายงานการตรวจสเปกตรัมของแว่น เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เนื่องจากทางผู้ผลิตแว่นตาจะมีข้อมูลของแว่นที่ผลิตเสมอ

 

2.ใช้การตรวจจากแผนผังสี RGB หากไม่สามารถหาผลตรวจสเปกตรัมของแว่นที่เราซื้อได้ เราสามารถใช้วิธีง่ายๆอย่างการตรวจจากผังสี RGB ได้ โดยวิธีการง่ายๆ เช่น การคนหาภาพผังสี RGB บนอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น ถอดแว่นตาของคุณ มองไปที่ผัง RGB ด้วยตาเปล่า จากนั้น ใส่แว่นกรองแสงสีฟ้าที่เราซื้อมา หากเราซื้อแว่นที่สามารถกรองแสงสีฟ้าได้ 50% ความรู้สึกหลังใส่แว่นแล้วมองไปที่ผัง RGB แสงสีฟ้าควรหรี่ลงประมาณ 50% 

 

3.การทดสอบเม็ดสี ข้อดีของการทดสอบเม็ดสี คือ เราสามารถรู้ได้ว่า แว่นกรองแสงของเรานั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่ โดยวิธีการก๋แสนง่าย เพียงเรามองไปยังต้นกำเนินแสง เช่นจอคอม หรือจอมือถือที่เป็นสีขาว หากแว่นกรองแสงของเราสามารถทำงานได้ดี จอสีขาวเหล่านั้น จะกลายเป็นสีโทนอุ่น มีสีออกส้มๆบาง และเมื่อถอดแว่นออกหลังจากใส่เป็นเวลานาน สีขาวบนจอทุกประเภทแทบจะกลายเป็นสีฟ้ากันเลยทีเดียว

 

4.ทดสอบด้วยวิธีการสะท้อนแสงของเลนส์ วิธีทำก็คือ ใช้เลนส์ของแว่นกรองแสงสีฟ้า หันให้สะท้อนแสงที่ออกมาจากจอแหล่งกำเนิดแสง หากแสงที่สะท้อนออกมาเป็นสีฟ้า นั้นแสดงว่า เลนส์กรองแสงสีฟ้าของคุณทำงานตามปรกติ 

2. ติดฟิล์มกรองแสงที่หน้าจอ

 แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์

การติดฟิล์มกรองแสง สามารถช่วยกรองแสงสีฟ้าที่สามารถทำลายดวงตาเราได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสวมแว่นเป็นเวลานานๆ และยังสามารถใช้ป้องกันแสงสีฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

3. ใช้หลักการพักสายตา 20-20-20

แสงสีฟ้า สายตา

หลังจากการใช้อุปกรร์อิเล็กทรอนิกส์มาเป็นระยะเวลานาน เราควรพักผ่อนสายตาโดยการใช้หลัก 20-20-20 ซึ่งวิธีก็ง่ายๆได้แก่ เริ่มต้นด้วยการหลับตาหรือมองไปทางอื่นเป็นเวลา 20 วินาที หลังจากที่จ้องแสงสีฟ้ามานานกว่า 20 นาที  โดยที่ที่เรามองไปนั้น จะต้องห่างออกไปอย่างน้อย 20 ฟุต (ประมาร 6 เมตร) 

4. ใช้น้ำตาเทียมช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น

แสงสีฟ้าช่วยอะไร

น้ำตาเทียม (Artificial tears) ใช้สำหรับช่วยบรรเทาอาการตาล้า ตาแห้งได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่คล้ายกับน้ำตาตามธรรมชาติ

5. ปรับความสว่างแสงหน้าจอให้พอดี

แสงสีฟ้า คือ

ในการใช้อุปกรณ์อิเลช็กทรอนนิกส์นั้น ควรปรับแสงให้เท่ากับปริมาณแสงภายในห้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการโฟกัสแสงจากหน้าจอมากเกินไป หากใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลากลางคืน เราควรปิดไฟในห้อง หรืออาจเป็นโคมไฟที่โต๊ะทำงาน เพื่อลดการจ้องแสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์ หรือแสงสีฟ้าจากจอคอมของเรา ช่วยลดอาการตาแห้ง ตาล้า ลงได้

6. ตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ

วิธีทดสอบแว่นกรองแสงสีฟ้า

สำหรับกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มผู้ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมากในชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจสภาพการทำงานของดวงตาเราในปัจจุบัน ว่ายังทำงานตามปรกติหรือไม่ หากพบเห็นอาการผิดปรกติ จะสามารถหาทางป้องกันและรักษาได้ เพื่อไม่ให้เกิดอาการอันพึงประสงค์ต่อดวงตาของเรานั้นเอง


ข้อสรุป

ถึงแม้ว่าเราจะรับแสงสีฟ้าเข้ามาในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว แต่การที่ยังไม่เกิดอะไรขึ้นเลย ก็ไม่ควรเป็นเหตุผลที่เราจะไม่รักษาหรือป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ เนื่องจาก แสงสีฟ้าสามารถมีผลกระทบในระยะยาวได้ ดังนั้นควรป้องกันไว้ก่อนนั้นย่อมดีกว่าการมาแก้ไขทีหลังอย่างแน่นอน 


 

 
 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที