กฤษดา

ผู้เขียน : กฤษดา

อัพเดท: 03 มี.ค. 2022 19.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1394 ครั้ง

เป็นที่รู้กันว่าเครื่องอุณหภูมิไม่ว่าจะเครื่องทำความเย็นสำหรับปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็นสำหรับเก็บอาหารก็เป็นที่ต้องการสำหรับหลายๆธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า คอมเพรสเซอร์ หรืออีกในชื่อหนึ่งว่า Condensing Unit นั้น แท้จริงแล้่วคืออะไร มีขั้นตอนการทํางานของคอมเพรสเซอร์แบบไหน เราได้รวบรวมความรู้เรื่องคอมเพรสเซอร์มาให้แล้ว


Compressor (คอมเพรสเซอร์) มีหน้าที่อะไร วิธีการทำงานเป็นแบบไหน

เป็นที่รู้กันว่าเครื่องอุณหภูมิไม่ว่าจะเครื่องทำความเย็นสำหรับปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็นสำหรับเก็บอาหารก็เป็นที่ต้องการสำหรับหลายๆธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า คอมเพรสเซอร์ หรืออีกในชื่อหนึ่งว่า Condensing Unit นั้น แท้จริงแล้่วคืออะไร มีขั้นตอนการทํางานของคอมเพรสเซอร์แบบไหน เราได้รวบรวมความรู้เรื่องคอมเพรสเซอร์มาให้แล้ว

 

Compressor (คอมเพรสเซอร์)

 

Compressor (คอมเพรสเซอร์) คืออะไร

สำหรับในสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะสำนักงาน โรงเรียน โรงแรม หรือโรงงานอุตสาหรรมต่างๆ มักจะมีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆเพื่อความสะดวกสบาย ซึ่งขนาดคอมเพรสเซอร์แอร์ก็มีบทบาทในการทำความเย็นเช่นกัน โดยที่หลายคนอาจไม่รู้จักอุปกรณ์ที่เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศอย่างคอมเพรสเซอร์แอร์ โดยบทความนี้เราจะมาลงลึกในส่วนของรายละเอียดนี้กันว่ามีหน้าที่และสำคัญอย่างไรในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
 

ระบบทำความเย็นของ Compressor (คอมเพรสเซอร์) ทำงานอย่างไร

คอมเพรสเซอร์ คือ อุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการปรับอากาศเพื่อใช้ในการทำความเย็น โดยมีหน้าที่หลักจะเป็นการดูดและอัดสารสำหรับทำความเย็นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบของ Compressor (คอมเพรสเซอร์) โดยที่จะทำการดูดสารทำความเย็นในสถานะของก๊าซ ซึ่งจะระเหยจากคอย์ลเย็น (Evaporator) และอัดเพื่อให้ความดันของสารทำความเย็นสูงขึ้น ซึ่งเมื่อความดันสูงขึ้นก็จะสามารถส่งผลทำให้จุดเดือดของสารทำความเย็นสูงขึ้น ทำให้เพียงพอต่อการกลั่นตัวในสภาพของเหลวในคอนเดนเซอร์และทำการหมุนเวียนให้สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่จุดที่ต้องระวังคือ ตัวของคอมเพรสเซอร์นั้นถูกออกแบบมาเพื่ออัดสารทำความเย็นในสถานะก๊าซเท่านั้น การอัดสถานะของเหลว อาจทำให้ชิ้นส่วนภายในของคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพเร็วหรือเกิดความเสียหายได้
Compressor (คอมเพรสเซอร์)
 

ประเภทของ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) มีอะไรบ้าง

 

The Reciprocating Compressor (แบบลูกสูบ)

The Reciprocating Compressor (แบบลูกสูบ) รูปแบบในการทำงานจะเป็นการเคลื่อนที่ตัวของลูกสูบไปมาเพื่อทำการบีบอัดสารทำความเย็นที่ถูกระเหยให้กลายเป็นไอ โดยคอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ เพลาข้อเหวี่ยง และลูกสูบบางตัว วิธีการทำงานคือ มอเตอร์หมุนเพลาข้อเหวี่ยงและจะทำการดันลูกสูบและดูด อัดและทำการปล่อยส่งผลให้การเคลื่อนตัวของแก๊สไม่มีความสม่ำเสมอ จึงทำให้ตัวคอมเพรสเซอร์เกิดการแกว่ง โดยสำหรับแบบลูกสูบนั้นมักจะมีอุณหภูมิการทำงานค่อนข้างต่ำ ปานกลาง และสูง (The Reciprocating Compressor) สามารถพบได้ที่ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งต่างๆในโรงงานและครัวเรือนเป็นส่วนมาก
 

The Rotary-Vane Compressor (แบบโรตารี่เวน)

The Rotary-Vane Compressor (คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่เวน) โดยปกติแล้วจะมีลูกสูบหมุนที่ทำจะการเพิ่มและลดปริมาตรของส่วนต่างๆ โดยที่จะทำการหมุนอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้สามารถดูด บีบอัด และสามารถระบายแก๊สได้ โดยที่ตัว Compressor แบบโรตารี่เวนนั้น ได้ในเครื่องทำความเย็นภายในบ้าน เช่น คอมเพรสเซอร์ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งคอมเพรสเซอร์ประเภทนี้ก็ยังสามารถปั๊มความร้อนเองได้อีกด้วย
 

The Rotary-Screw Compressor (แบบสกรูโรตารี่)

The Rotary-Screw Compressor (แบบสกรูโรตารี่) จะเริ่มจากการอัดสารทำความเย็นในปริมาณมาก โดยที่การบีบอัดสารทำความเย็นจะมีผลต่อ Motor Male และ Motor Female ทำให้มอเตอร์เริ่มการหมุน Male Rotor ผ่านเพลาข้อเหวี่ยงจากนั้น Male Rotor จะทำการเคลื่อน Female Rotor เข้ามาประกบกับ Meshing Rotors จึงทำให้เกิดการดันสารทำความเย็นผ่านเข้าไปที่ช่องดูดของคอมเพรสเซอร์ สารทำความเย็นที่ถูกบีบอัดนั้น จะทำการปล่อยผ่านทางช่องระบายออกด้วยความดันที่สูงขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วจะสามารถพบ Compressor แบบสกรูโรตารี่ได้ในระบบทำความเย็นและปรับอากาศเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่
 

The Centrifugal Compressor (แบบหมุนเหวี่ยง)

The Centrifugal Compressor (แบบหมุนเหวี่ยง) จะทำการบีบอัดสารทำความเย็นด้วยพลังงานจลน์ทำให้ใบพัดหมุน โดยในขณะที่ใบพัดหมุนนั้นจะทำให้สารทำความเย็นผ่านเข้าไปที่ช่องลมได้ง่ายขึ้น หากยิ่งความเร็วของใบพัดสูงขึ้น จะทำให้แรงดันยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย โดยที่สารทำความเย็นแรงดันสูงจะไหลผ่านไปที่ดิฟฟิวเซอร์ ซึ่งภายในดิฟฟิวเซอร์นั้นจะมีปริมาตรก๊าซของสารทำความเย็นซึ่งจะทำการขยายตัวเมื่อความเร็วลดลง ในส่วนของคอมเพรสเซอร์แบบหมุนเหวี่ยงจะทำการแปลงพลังงานจลน์ของตัวสารทำความเย็นที่มีความดันต่ำและมีความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้เมื่อแปลงแล้วจะส่งผลให้ก๊าซมีแรงดันสูงขึ้นและความเร็วต่ำลง โดยส่วนมาก Compressor ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการใช้ในระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเป็นส่วมากเช่นกัน
 
 
Compressor (คอมเพรสเซอร์)
 

วิธีการเลือกคอมเพรสเซอร์ (Compressor)

การเลือกคอมเพรชเซอร์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานระยะยาวนั้น ควรคำนึงถึงการเลือกวิเคราะห์จากการทำสารทำความเย็นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยปัจจัยการเลือกขั้นตอนการทำสารทำความเย็นจะต้องคำนึงถึง การต่อวงจรคอมเพรสเซอร์ ความจุที่สามารถกักเก็บของน้ำยา  พลังงานไฟฟ้าที่สามารถเข้าทำงานของตัวเครื่อง การปรับเปลี่ยนอุณหภูมิในระหว่างการแปลงของตัวน้ำยา  และการระบายความร้อนของตัวน้ำยาแอร์เป็นหลัก โดยทั้ง 4 ปัจจัยนี้ คือข้อคำนึงถึงวิธีการการเลือกซื้อคอมเพรชเซอร์เป็นพิเศษที่จำเป็นต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที