นระ

ผู้เขียน : นระ

อัพเดท: 06 ส.ค. 2007 15.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 534427 ครั้ง

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของ โลจิสติกส์ ก็เปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของโลก ในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหาร หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิต รวมไปถึงการกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงผู้บริโภค โดยมีการจัดองค์กรหรือกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่า

โดย
ดร.นระ คมนามูล Ph.D.(London)
วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา


ตอนที่ 9 RFID(ต่อ) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โลจิสติกส์และซัพพลายเชน

RFID  สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

                             โลจิสติกส์และซัพพลายเชน

                                                                                                                                                ดร.นระ คมนามูล


ระยะการอ่านและระดับกำลังไฟฟ้า
คือ ระยะทำงานระหว่างป้ายและอุปกรณ์ตัวอ่าน ระยะอ่านในระบบอาร์เอฟไอดีพิจารณาจาก

·       เพาเวอร์ที่มีอยู่ในตัวอ่าน

·       เพาเวอร์ที่มีอยู่ภายในป้าย

·       สภาพแวดล้อมและโครงสร้าง (ซึ่งจะสำคัญมากขึ้นเมื่อความถี่สูงขึ้น)

·       ใช้กำลังไฟฟ้าประมาณ 100-500 mW

 

ป้ายมี  2 อย่างด้วยกัน คือ Active Tags และ Passive Tags

                ความแตกต่างคือ Active tags นั้นมีแบตตารี่ภายในเป็นเพาเวอร์ ดังนั้นจึงมีอายุจำกัด(เพราะแบตตารี่) ข้อดีคือมีระยะทำงานมากกว่า ป้องกันคลื่นรบกวนได้ดีกว่า และมีอัตราการถ่ายทอดข้อมูลสูงกว่า ขณะที่ Passive tags นั้นทำงานโดยปราศจากแบตตารี่ภายใน แต่จะอาศัยเพาเวอร์จากการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยตัวอ่าน ข้อดีคือมีราคาถูก อายุการใช้งานไม่จำกัด แต่อาจถูกรบกวนโดยคลื่นอื่นได้ง่าย และต้องการตัวอ่านที่มีเพาเวอร์สูง และความไวเฉพาะทิศทาง

                ชนิดของป้าย RFID อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ หนึ่ง แบบ Read Only (Class 0) ซึ่งข้อสนเทศถูกบรรจุมาเรียบร้อยจากผู้ผลิตเพื่อให้อ่านเท่านั้น , สอง แบบ User Programmable (Class 1) แบบ WORM – Write Once Read Many ซึ่งสามารถบรรจุข้อสนเทศได้โดยผู้ใช้หลังจากการผลิตแล้ว และ สาม แบบ Read/Write  แบบหลังนี้สามารถอ่านและเขียนข้อสนเทศลงในRFID transponder ได้

                ข้อดีของ Read/Write tags คือ การเปลี่ยนแปลงข้อสนเทศทำได้เองตามความต้องการของผู้ใช้ และมาตรฐานที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ที่ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลของเจ้าของและเวลาภายหลัง อีกทั้งยังเหมาะกับการใช้งานที่มีความเสี่ยงสูง

                ในอุตสาหกรรมการผลิต และการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ทุกวันนี้มีการใช้ RFID มากในสายการผลิต  ระบบสายพานลำเลียง  การผลิตเชิงอุตสาหกรรม  คลังวัสดุ/สินค้า โลจิสติกส์  การจำหน่าย การทดสอบ และการขนส่ง   ระบบ RFID มักจะถูกใช้งานด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ คือ

·       เพื่อให้ถึงขีดที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับการไหลของวัสดุและโลจิสติกส์

·       เพื่อการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหนักที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรงและอากาศปนเปื้อน เช่น การทำตัวถังรถยนต์ การพ่นสี และการประกอบขั้นสุดท้ายในสายการผลิตรถยนต์ สายการผลิตเครื่องยนต์ ชุดเกียร์ ชุดพวงมาลัย ระบบเบรก ประตู ถุงลมนิรภัย และแผงหน้าปัดสำหรับคนขับ  และอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมแก้วและเซรามิก เป็นต้น

·       เพื่อการจำหน่ายสินค้า  การขนส่ง และโลจิสติกส์สำหรับคลังสินค้า เช่นในงานส่งเอกสารคลังสินค้ารวมถึงการรับใบสั่งของ  การชี้ตัวตู้คอนเทนเนอร์หรือเรือที่ขนส่ง การชี้ตัวรถขนส่ง เพลเล็ต หีบห่อ หรือ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุน้อย การควบคุมการบรรจุและการจัดจ่ายจำหน่ายด้วยบันทึกนำส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ การชี้ตัวชิ้นส่วนสำหรับสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม และอื่น ๆ  รวมถึงการส่งหีบห่อและการติดตาม เป็นต้น 

 

ตัวอย่างการใช้ระบบ RFID ในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ เพื่อให้ถึงขีดที่ได้ผลดีที่สุดในการติดตามชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ  โลจิสติกส์คลังชิ้นส่วน การไหลของวัสดุในสายการผลิต การผลิตเชิงอุตสาหกรรม  การจัดจ่ายจำหน่ายและซัพพลายเชน และการขนส่งทางรถและระวางทางเรือ กรณีเช่นนี้ระบบและอุปกรณ์ RFID ต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะงานหนัก แข็งแรงทนทาน หน่วยเก็บข้อมูลอยู่ในสภาพอุณหภูมิสูง  ระบบทั้งหมดต้องทำงานได้อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นการควบคุมถึงขั้นการติดต่อสื่อสารสั่งการได้จากภายนอกหรือผู้ขาย ที่เรียกว่า แบบไม่มีรอยต่อ(seamless)

                ในงานลักษณะนี้ ระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการการอ่านและการเขียนข้อมูลที่เชื่อถือได้ รวดเร็ว และประหยัด ภายใต้สภาพแวดล้อมทั้งที่รุนแรงและไม่รุนแรง การเก็บข้อมูลทำได้โดยตรงลงบนป้ายที่ติดกับผลิตภัณฑ์  ควบคุมและออปติไมซการไหลของวัสดุ และจัดหาอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับกระบวนการโลจิสติกส์      เทคโนโลยีต่าง ๆ มีตั้งแต่การใช้ฉลากอัจฉริยะที่ประหยัดสำหรับโลจิสติกส์ถึงกระทั่งที่มีหน่วยความจำที่แข็งแรงทนทานสำหรับสายการผลิต หรือการใช้ในระบบควบคุมจราจรและโลจิสติกส์การขนส่งที่ต้องมีหน่วยความจำระยะไกล ระยะการอ่าน 0.1-3.0 เมตร(ความถี่ 13.56 MHz,1.81 MHz, 13.56 MHz,  2.4 GHz)  สำหรับการผลิต และ 0.42-0.9 เมตร (ความถี่ 125 kHz, 13.56 MHz) สำหรับโลจิสติกส์   

                เช่น ป้ายในย่านความถี่ UHF  สำหรับงานโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า  ความถี่เครื่องส่ง ตามมาตรฐาน EPC Globalและ ISO 18000-6B มีความถี่ส่ง 865-868 MHz สำหรับยุโรปและ 902-928 MHz สำหรับสหรัฐฯ  ทรานสปอนเดอร์สำหรับโลจิสติกส์และการผลิต มีทั้งที่เป็นฉลากอัจฉริยะ ป้ายติดตู้คอนเทนเนอร์ และป้ายต้านทานความร้อน ความจุถึง 2048 บิต แฟกเตอร์ป้องกันถึง IP 68 ทนความร้อนถึง +220 องศาเซลเซียส  อุปกรณ์ตัวอ่านมีเปลือกนอกแข็งแรงทนทาน มีระดับการป้องกันสูง (IP 65) สำหรับตัวอ่านและสายอากาศ ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายอากาศเพื่อให้สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากโดยมีระยะทำการได้ถึง 10 เมตรและมีอัตราการอ่านที่รวดเร็วถึงแม้ว่าป้ายกำลังเคลื่อนที่เร็ว ที่สำคัญคือความสามารถในการอินทิเกรตระบบออโตเมชั่นเข้ากับภูมิทัศน์ไอทีผ่านอีเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย  


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที