นระ

ผู้เขียน : นระ

อัพเดท: 06 ส.ค. 2007 15.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 534633 ครั้ง

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของ โลจิสติกส์ ก็เปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของโลก ในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหาร หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิต รวมไปถึงการกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงผู้บริโภค โดยมีการจัดองค์กรหรือกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่า

โดย
ดร.นระ คมนามูล Ph.D.(London)
วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา


ตอนที่ 7 RFID สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โลจิสติกส์และซัพพลายเชน

RFID  สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

                             โลจิสติกส์และซัพพลายเชน

                                                                                                                                                ดร.นระ คมนามูล

 

RFID คืออะไร

                RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency IDentification ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตระกูลหนึ่งของ Automatic Identification [Auto-ID] ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้เครื่องจักรสามารถบ่งบอก พิสูจน์ทราบ หรือชี้ตัวสิ่งของ  เช่นเดียวกับ “บาร์โค้ด”  “สมาร์ตการ์ด”  “การอ่านตัวอักษรทางแสง (OCR)” และ “ระบบไบโอเมตริก”     ทั้งหมดเป็น Identification technology ซึ่งไม่ใช่ของใหม่ หากแต่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายมาแล้วเป็นเวลาหลายสิบปี 

                ทุกวันนี้ผู้คนเกี่ยวข้องกับ RFID มากขึ้น เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความต้องการระบบอัจฉริยะทั้งหลาย    เช่น ระบบการใช้ตั๋วรถไฟฟ้าใต้ดินรฟม เป็นเหรียญ RFID ที่สามารถใช้เครื่องกั้นอัตโนมัติตรวจราคาตั๋วจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทางให้ถูกต้องได้ตามราคาที่กำหนด เป็นต้น     

                RFID เป็นคำทั่วไปสำหรับเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อการบ่งบอกข้อสนเทศเกี่ยวกับคน สัตว์ หรือสิ่งของโดยอัตโนมัติ  มีหลายวิธีการด้วยกันที่ใช้ในการพิสูจน์ทราบหรือชี้ตัวสิ่งของ  แต่ที่ใช้กันมากที่สุด คือ เพื่อการเก็บข้อสนเทศในไมโครชิปที่มีสายอากาศ (ชิป+สายอากาศ เรียกว่า “RFID transponder” หรือ “RFID Tag”)  สายอากาศทำให้ชิปสามารถถ่ายทอด “ข้อมูลไอดี” ไปยัง “ตัวอ่าน”  เพื่อให้ตัวอ่านแปลงคลื่นวิทยุที่ปรากฏจากป้ายอาร์เอฟไอดีให้เป็นข้อสนเทศดิจิทัลที่สามารถผ่านต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เครื่องพีแอลซีของระบบควบคุมได้

                ส่วนสำคัญของระบบ RFID ประกอบด้วย ป้าย (RFID Tag หรือ RFID Trandsponder) และอุปกรณ์ตัวอ่าน (RFID Reader หรือ RFID Interrogator) และเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host) หรือ เครื่องพีแอลซี (ศูนย์ควบคุม)

                ป้าย ( RFID Tag) ประกอบด้วยชิปและสายอากาศ  ส่วนอุปกรณ์ตัวอ่าน (RFID Reader) ประกอบด้วยอาร์เอฟมอดูล (เครื่องส่งและเครื่องรับ) หน่วยควบคุม สายอากาศ และอินเตอร์เฟซทั้งหลาย 

                โครงสร้างของ RFID Tags ประกอบด้วย

·       ชิป (Chip) : สำหรับเก็บข้อสนเทศของสิ่งของที่จะติดป้าย

·       สายอากาศ (Antenna) : สำหรับการส่งข้อสนเทศไปยังตัวอ่านโดยใช้คลื่นวิทยุ และ

·       สิ่งห่อหุ้มหรือเปลือก (Packaging) : สำหรับบรรจุชิปและสายอากาศเพื่อที่ป้ายจะสามารถยึดติดกับสิ่งของได้

                สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้อุปกรณ์RFID คือ Carrier Frequencies ซึ่งหมายถึงคุณสมบัติของคลื่นวิทยุที่จะใช้ส่งข้อมูล หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือความเข้มของคลื่นวิทยุที่จะใช้ส่งข้อสนเทศ  คลื่นความถี่ที่ใช้มีทั้งคลื่นความถี่ต่ำ (LF)  คลื่นความถี่สูง (HF) และคลื่นความถี่สูงมาก ๆ (UHF)

                ระบบ RFID อาจจะใช้ย่านความถี่หนึ่ง ๆ ของคลื่นวิทยุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงาน  ข้อกำหนดทางกฎหมาย และที่สำคัญคือราคาที่เหมาะสมกับงาน ดังในตารางต่อไปนี้  

 

ย่านความถี่

คุณลักษณะ

การใช้งาน

คลื่นความถี่ต่ำ

100-500 kHz

ระยะอ่านใกล้ถึงปานกลาง

ความเร็วในการอ่านต่ำ

ราคาถูก

ควบคุมการเข้าออก

สำหรับชี้ตัวคน/สัตว์

ควบคุมบัญชีสินค้า

คลื่นความถี่สูงปานกลาง

10-15 MHz

 

ระยะอ่านใกล้ถึงปานกลาง

ความเร็วในการอ่านปานกลาง

ราคาไม่แพงมาก

 

 

ควบคุมการเข้าออก

สมาร์ตการ์ด

คลื่นความถี่สูงมาก ๆ

UHF: 850-950 MHz

Microwave: 2.4-5.8 GHz

ระยะอ่านไกล  และตรงในแนวสายตา (ไมโครเวฟ)

ความเร็วในการอ่านสูง

ราคาแพง

 

การติดตามดูตู้รถไฟขนส่ง

ระบบด่านเก็บเงินทางหลวง

 

                การต่อเชื่อม : Coupling สำหรับคลื่นความถี่ 100 kHz- 30 MHz ใช้ Inductive coupling และสำหรับคลื่นความถี่สูงและคลื่นไมโครเวฟใช้ Electromagnetic coupling

                ความแตกต่างของอุปกรณ์ RFID นั้นขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่(frequency) ระยะอ่าน(range) และระดับกำลังไฟฟ้า(power level)   คลื่นความถี่เป็นตัวสำคัญสำหรับพิจารณาอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล  ความถี่ยิ่งสูง อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลก็จะยิ่งสูงขึ้น 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที