วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 09 มิ.ย. 2022 12.46 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4366 ครั้ง

แสงอาทิตย์ทำให้ผิวของเราดำคล้ำ นั่นเป็นสื่งที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่อะไรข้างในแสงแดดที่ทำให้ผิวของเราคล้ำขึ้น นั่นคือ รังสีอัลตราไวโอเลต หรือเรียกอีกชื่อว่า รังสีเหนือม่วง มันเป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการแผ่ของดวงอาทิตย์ ซึ่งตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ และวันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า ถึงคุณลักษณะของรังสีอัลตราไวโอเลต ประโยชน์ของมันมีอะไรบ้าง และมีผลเสียหรือไม่


รังสี UVA และ UVB คืออันตรายใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง!

รังสี UVA และ UVB คืออันตรายใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง!

ตั้งแต่โบราณกาลมนุษย์ได้ใช้แสงแดด หรือแสงอาทิตย์เพื่อประโยชน์ต่อกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าความร้อนของแสงแดดทำให้ตากผ้าแล้วแห้ง อาศัยความสว่างของแสงแดดเพื่อการมองเห็น และในปัจจุบันมนุษย์ก็สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยแผงโซลาร์เซลล์ รวมถึงเป็นประโยชน์แก่ร่างกายมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งวิตามินดี กระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแสงแดดสามารถทำอันตรายแก่มนุษย์ซึ่งมีรังสี UVA UVB คือสาเหตุนั่นเอง ดังนั้นในบทความนี้จะมาเล่าถึงว่า รังสี UVA UVB คืออะไร UVA UVB อันตรายหรือไม่ แล้วจะมีวิธีป้องกันตัวจาก UVA UVB อย่างไร รวมถึงแนะนำถึงผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันอันตรายจากแดดค่ะ

รังสียูวีเอ UVA และ รังสียูวีบี UVB

UVA UVB คืออะไร” คำตอบแบบสั้น ๆ คือรังสีที่พบจากแสงแดดนั่นเองค่ะ แต่ถ้าจะให้อธิบายแบบยาว ๆ ต้องขอเกริ่นตั้งแต่องค์ประกอบของแสงอาทิตย์เลยค่ะ

พลังงานที่ดวงอาทิตย์ได้ปล่อยออกมาคือรังสีอัตราไวโอเลต หรือที่รู้จักกันในชื่อรังสียูวี หรือรังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นว่าในช่วงที่ตามนุษย์มองเห็น ในรังสีอัลตราไวโอเลตที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์นั้นประกอบไปด้วยรังสี UVA UVB UVC รวมทั้งแสงที่มองเห็น (Visible light) และรังสีอินฟาเรด โดยปกติแล้วชั้นบรรยากาศเหนือโลกจะดูดซับรังสีจากแสงอาทิตย์บางส่วน คือ แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นไม่เกิน 175 นาโนเมตรจะถูกดูดซับที่ชั้นสตาโทสเฟียร์ และแสงความยาวคลื่นตั้งแต่ 175-280 นาโนเมตรหรือเป็นช่วงของรังสี UVC ซึ่งมีความอันตรายต่อมนุษย์มากจะถูกดูดซับในช่วงชั้นโอโซน และมีรังสีบางส่วนที่หลุดลอดเข้ามายังพื้นโลก หรือก็คือแสงที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 280 นาโนเมตร เช่น UVB UVA แสงที่มองเห็น รวมถึงรังสีอินฟาเรด ซึ่งมีความเป็นอันตรายกับมนุษย์ไม่มาก แต่หากได้รับรังสีเป็นปริมาณมากและเป็นเวลานานก็ก่ออันตรายได้เช่นกันค่ะ

เรามารู้จักรังสีแต่ละประเภทกันค่ะ โดยจะเรียงจากช่วงของความยาวคลื่นนะคะ

 

1. รังสียูวีซี (UVC)

รังสี Ultraviolet C หรือ UVC คือหนึ่งในกลุ่มของรังสีอัลตราไวโอเลต มีความยาวคลื่น 100-290 นาโนเมตร ซึ่งมีพลังงานสูงที่สุดจึงมีความอันตรายที่สุดแต่มีความสามารถในการทะลุต่ำ โดยปกติแล้วรังสี UVC มักจะโดนดักและดูดซึมในช่วงของชั้นโอโซน จึงไม่ลงมาสู่พื้นโลก แต่เนื่องจากปัจจุบันด้วยภาวะเรือนกระจก ทำให้ชั้นโอโซนถูกทำลายไปบางส่วน จึงทำให้มีรังสี UVC บางส่วนหลุดลอดเข้ามาสู่ผิวโลกได้
 

2. รังสียูวีบี (UVB)

รังสี Ultraviolet B หรือ UVB คือหนึ่งในกลุ่มของรังสีอัลตราไวโอเลต มีความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร ซึ่งมีพลังงานสูงกว่ารังสี UVA แต่ต่ำกว่า UVC และมีความสามารถในการทะลุต่ำกว่า UVA จึงทำให้ UVB ไม่สามารถทะลุผ่านกระจก หรือคอนกรีตได้ รังสี UVB ที่ลงมาถึงผิวโลกเป็นเพียง 5 เปอร์เซนต์ของทั้งหมดเนื่องจากถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศไปบ้างแล้ว
 

3. รังสียูวีเอ (UVA)

รังสี Ultraviolet A หรือ UVA คือหนึ่งในกลุ่มของรังสีอัลตราไวโอเลต มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร ซึ่งสามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศโลกลงมาถึงสู่พื้นโลกได้มากกว่า 95 เปอร์เซนต์ของทั้งหมด รังสี UVA มีพลังงานต่ำที่สุด แต่มีความสามารถในการทะลุมากที่สุดในบรรดารังสีอัลตราไวโอเลตทั้งหมด จึงทำให้สามารถทะลวงไปถึงชั้นผิวหนังส่วนลึกได้
 

4. ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Visible light)

Visible light เป็นแสงที่มีความยาวคลื่น 400-760 นาโนเมตร ซึ่งมีความยาวคลื่นยาวกว่าและพลังงานต่ำกว่ารังสีอัลตราไวโอเลตทั้ง 3 ชนิด แสงที่ตามองเห็นนี้สามารถทะลวงเข้าสู่ผิวหนังของมนุษย์ได้แต่จะไม่ถูกดูดซับ จึงไม่ก่ออันตรายแก่มนุษย์ แต่หากได้รับมาก ๆ ก็สามารถสะสมและเป็นตัวกระตุ้นอนุมูลอิสระได้
 

5. รังสีอินฟาเรด (Infrared)

รังสีอินฟาเรด เป็นแสงที่ให้ความร้อน โดยมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 750-3000 นาโนเมตร ซึ่งมีพลังงานต่ำที่สุดในบรรดารังสีทั้งหมด สามารถทะลวงเข้าสู่ผิวหนังได้แต่ไม่ดูดซับ แต่หากได้รับในปริมาณมากก็สามารถไปกระตุ้นอนุมูลอิสระได้เช่นกัน
 
จากประเภทของแสงและรังสีที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะพบได้ว่ายิ่งรังสีที่มีความยาวคลื่นสั้น จะให้พลังงานที่สูง และระดับความอันตรายก็ยิ่งสูงขึ้นด้วยค่ะ สามารถเรียงลำดับความเป็นอันตรายด้วยความยาวคลื่นดังนี้ UVC>UVB>UVA>Visible ligh>Infrared
 

รังสี UVA และ UVB แตกต่างกันอย่างไร

ทั้งรังสี UVA UVB คือรังสีอัลตราไวโอเลต หรือก็คือกลุ่มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์เช่นเดียวกัน แต่ทั้ง UVA UVB ต่างกันอย่างไร สามารถดูสรุปได้จากตารางด้านล่างเลยค่ะ
 
 

Ultraviolet A (UVA) 

Ultraviolet B (UVB)

ความยาวคลื่น

320-400 นาโนเมตร

290-320 นาโนเมตร

พลังงาน

ต่ำกว่า UVB

สูงกว่า UVA

ปริมาณรังสีที่พบ

พบได้มากกว่า 95%

พบเพียงประมาณ 5%

ความสามารถในการทะลุชั้นผิว

สูงกว่า UVB สามารถทะลวงไปได้ถึงผิวหนังชั้น dermis หรือชั้นหนังแท้

ต่ำกว่า UVA สามารถทะลวงไปในผิวหนังชั้นสเตรตัม คอร์เนียม (Stratum corneum)
และอีพิเดอมีส (Epidermis)

ความสามารถการเผาไหม้

ไม่มี

มี

อันตราย

สามารถสะสมและก่ออันตรายได้ในภายหลัง เช่น สร้างความเสียหายระดับ DNA ก่อให้เกิดมะเร็ง

เกิดขึ้นทันที เช่น ผิวไหม้ พุพอง

ในระยะยาว สร้างความเสียหายระดับ DNA ก่อให้เกิดมะเร็ง

อันตรายของ UVA และ UVB ที่ส่งผลเสียต่อผิวและร่างกายมนุษย์

อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วว่ารังสี uva uvb อันตรายต่อมนุษย์ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นเรามาดูถึงอันตรายของ UVA และ UVB ที่สามารถก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ รวมถึงพัฒนาไปยังโรคได้กันค่ะ

อันตรายของรังสียูวีเอ UVA 

ถึงแม้ว่ารังสี UVA จะมีพลังงานที่ต่ำกว่า UVB แต่ก็มีอำนาจในการทะลวงเข้าสู่ผิวได้ลึกมากกว่า และยิ่งไปกว่านั้นรังสี UVA ยังพบอยู่ทุกที่เนื่องจากสามารถทะลุผ่านกระจกได้ ทำให้รังสีผ่านชั้นผิวหนังและมีการดูดซึมอยู่ตลอด เมื่อมีการสัมผัสและสะสมเป็นเวลานานก็สามารถก่อให้เกิดอาการและโรคต่าง ๆ ได้ดังนี้

ด้วยกลไกของร่างกาย หากมีการสัมผัสกับรังสียูวีเป็นเวลานาน ร่างกายจะสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการทะลวงของยูวี แต่ผลเสียคือเม็ดสีเมลานินทำให้สีผิวคล้ำ หน้าหมองคล้ำได้

เนื่องจากรังสี UVA สามารถทะลวงเข้าสู่ชั้นผิวได้ลึกและไปทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นอนุมูลอิสระ ทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ จึงก่อให้เกิดปัญหาริ้วรอย การเหี่ยวย่น และจุดด่างดำ

เพราะรังสี UVA มีความสามารถในการทำให้ลำดับคู่เบสดีเอ็นเอจับคู่กันผิดปกติ จนก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

อันตรายของรังสียูวีบี UVB

รังสี UVB มีความยาวคลื่นที่ต่ำกว่าและมีค่าพลังงานที่สูงกว่า UVA ดังนั้นจึงมีความอันตรายที่มากกว่า UVA และสามารถก่ออาการหรือโรคได้ดังนี้

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่ารังสี UVB มีความสามารถในการเผาไหม้ ดังนั้นหากผิวได้รับรังสี UVB จะทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น ผิวไหม้แดด ผิวหมองคล้ำ ผิวเกิดผื่นแดง หรือหากเป็นมากสามารถเกิดผิวลอก ผิวอักเสบได้

นอกจากรังสี UVA ที่ทำให้ผิวแก่ก่อนไวได้ รังสี UVB ก็สามารถทำได้เช่นกัน เนื่องจากรังสี UVB ทำให้เซลล์ผิวขาดความชุ่มชื้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำขึ้น

นอกจากรังสี UVB จะสร้างความเสียหายแก่ผิวหนังแล้ว รังสี UVB ยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับดวงตาได้เช่นกัน เช่น arc eye หรืออาการเคืองตาที่รู้สึกเหมือนมีทรายเข้าตา หากรุนแรงก็สามารถเกิดโรคต้อกระจก (cataract) โรคต้อเนื้อ (Pterygium) และจอประสาทตาเสียหาย

เพราะรังสี UVB ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างดีเอ็นเอได้เช่นเดียวกับ UVA ดังนั้นจึงสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามปริมาณรังสี UVB ที่พบในแสงแดดมีไม่มาก และหากมีรังสี UVB ที่เล็ดลอดเข้าสู่ผิวหนัง ก็ยังไม่ได้มีความสามารถในการทะลวงเข้าผิวหนังเราได้มากนัก เราสามารถป้องกันรังสี UVB ได้โดยอยู่ในที่ร่ม และทาครีมกันแดด


นอกจากอาการและโรคที่ได้กล่าวไปนั้น รังสี UVA UVB คือตัวอันตรายที่สามารถทำให้เกิดอาการแพ้แสงแดด หรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้แสงในผู้ป่วยที่ได้รับยาหรือสารเคมีบางประเภท รวมทั้งโรคผิวหนังที่กำเริบเมื่อถูกแสงแดด เช่น SLE เป็นต้น

 

วิธีป้องกันผิวเสียจากรังสี UVA และ UVB

เชื่อว่ารังสี UVA UVB คือศัตรูตัวฉกาจของหลาย ๆ คน โดยเฉพาะสาว ๆ ดังนั้นเราควรป้องกันผิวจากรังสี UVA UVB ให้สัมผัสกับผิวเราน้อยที่สุดค่ะ

 

1. หลีกเลี่ยงแสงแดด

เราทราบกันดีว่ารังสี UVA UVB คือองค์ประกอบในแสงแดด ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงต้นเหตุด้วยการอยู่ในที่ร่ม ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งบ่อย ๆ และเป็นเวลานานจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00-16.00น. ซึ่งมีรังสี UVB สูงที่สุดค่ะ

2. สวมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด

หากมีความจำเป็นที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น แว่นกันแดด หรือถือร่มที่สามารถกันแดดได้ และควรแต่งกายมิดชิด เพื่อไม่ให้ผิวไหม้แดดจากรังสี UVB ค่ะ

3. ทาครีมกันแดดเป็นประจำ

อย่างที่ทราบกันว่ารังสี UVA สามารถทะลุกระจกได้ ดังนั้นถึงเราจะอยู่ในที่ร่มก็ยังสามารถสัมผัสกับรังสี UVA ได้อยู่ดี ดังนั้นควรทาครีมกันแดดที่มีค่า PA สูง เพื่อช่วยป้องกันรังสี UVA ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผิวเหี่ยวย่น และดูแก่ก่อนวัยค่ะ และหากออกในที่กลางแจ้ง นอกจากจะสวมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดแล้ว การทาครีมกันแดดก็จะสามารถช่วยป้องกันรังสี UVB ไม่ให้ทำลายผิวจนเกิดผิวไหม้แดดได้ค่ะ ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า 30 ขึ้นไป เพื่อให้การป้องกันรังสีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แนะนำวิธีเลือกครีมกันแดดที่เหมาะกับตัวเอง

จะเห็นได้ว่าในตลาดมีผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดให้เลือกหลายแบบไม่ว่าจะครีมกันแดด uva uvb แต่เราควรจะเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมกับตนเองล่ะ สามารถพิจารณาได้จากหัวข้อต่อไปนี้ค่ะ

เลือกครีมกันแดดที่เหมาะกับสภาพผิว

ครีมกันแดดสำหรับผิวมัน ควรเลือกครีมกันแดดที่มีเนื้อบางเบา แต่มีประสิทธิภาพกันการป้องกันสูง อาจเลือกผลิตภัณฑ์กันแดด ในรูปแบบสเปรย์หรือเนื้อเจลที่มีความบางเบาได้ค่ะ

เลือกครีมกันแดดที่กันน้ำและกันเหงื่อ

สำหรับประเทศไทยที่มีอากาศร้อน หลาย ๆ คนมักจะมีเหงื่อออกระหว่างวัน ทำให้ครีมกันแดดหลุดออก ประสิทธิภาพกันแดดก็ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการเลือกครีมกันแดดควรเลือกชนิดที่กันน้ำและเหงื่อได้ โดยหลังจากเหงื่อออกหรือโดนน้ำครีมกันแดดจะยังสามารถกัดแดดได้ต่อสักระยะ แต่หลังจากนั้นควรทาครีมกันแดดซ้ำอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันรังสียูวีจากแสงแดดค่ะ  

เลือกครีมกันแดดที่มีส่วนผสมที่จำเป็นในปริมาณพอเหมาะ

ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีวางขายตามท้องตลาดจะพบว่ามีการเพิ่มลูกเล่นหรือส่วนผสมใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า แต่อย่างไรก็ตามการเลือกครีมกันแดดที่ดีนั้นควรดูที่ประสิทธิภาพกันแดดเป็นหลัก โดยตามท้องตลาดสามารถพบครีมกันแดดที่สามารถกันรังสี UVA UVB ได้แตกต่างกันไปดังนี้

 

สำหรับครีมกันแดดที่ป้องกันรังสี UVA นั้นสามารถเลือกดูได้จากค่า PA คือ Protection grade of UVA หรือค่าบ่งบอกความสามารถในการป้องกันรังสี UVA โดยจะแบ่งระดับได้จาก PA+ จนถึง PA++++ แต่สำหรับประเทศไทยแนะนำครีมกันแดดที่มีค่า PA ตั้งแต่ +++ ขึ้นไปค่ะ

สำหรับครีมกันแดดที่ป้องกันรังสี UVB นั้นสามารถดูได้จากค่า SPF คือ Sun Protective Factor ซึ่งบ่งบอกได้ถึงระดับการป้องกันการเผาไหม้ของผิวค่ะ ยกตัวอย่างเช่นค่า SPF 15 จะสามารถดูดซับรังสี UVB ได้ 93.3% SPF 30 จะสามารถดูดซับรังสี UVB ได้ 96.7% SPF 50 จะสามารถดูดซับรังสี UVB ได้ 98% แต่อย่างไรก็ตามยิ่งค่า SPF สูงมากขึ้นก็สามารถก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ดังนั้นควรเลือกครีมกันแดดที่ค่า SPF ไม่เกิน 50 และสำหรับประเทศไทยต้องเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปค่ะ

เพื่อให้การป้องกันรังสี UVA UVB เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF และค่า PA+++ ที่เหมาะสมค่ะ

 

ครีมกันแดดยี่ห้อไหนดี?

 

Bioderma Photoderm Max Aquafluide SPF 50+

หากคุณมีผิวธรรมดา ผิวแพ้ง่าย บอบบาง หรือผิวแห้ง ขอแนะนำ Bioderma Photoderm Max Aquafluide SPF 50+  ด้วยเทคโนโลยี Sun Active Defense ที่ผสาน UV filter มาตรฐานยุโรป และ Ectoin & mannitol สูตรเฉพาะของไบโอเดอร์มาที่ทำให้การปกป้องผิวจากแสงแดดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีค่า SPF 50+ และ UVA++++ ซึ่งสามารถป้องกัน UVA UVB ได้นานถึง 8 ชั่วโมง และด้วยเนื้อครีมสูตรน้ำนม เนื้อบางเบาจึงสามารถเกลี่ยบนผิวได้ง่าย ไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่อุดตัน สามารถกันน้ำกันเหงื่อ และใช้ร่วมกันการแต่งหน้าได้อีกด้วย โดยผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบจากแพทย์ผิวหนังว่าอ่อนโยน ใช้ได้แม้กระทั่งผู้มีผิวแพ้ง่ายค่ะ ดังนั้นหากใครกลัวแพ้ครีมกันแดด ไม่ชอบความเหนียวเหนอะหนะของครีมกันแดด แนะนำ Bioderma Photoderm MAX Aquafluide SPF50+ ตัวนี้เลยค่ะ

 

Bioderma Photoderm Cover Touch SPF 50+

หากคุณมีผิวผสม ผิวมัน และมีรอยสิว ขอแนะนำครีมกันแดดสีเนื้อ Bioderma Photoderm Cover Touch SPF50+ นอกจากจะช่วยป้องกันรังสี UVA UVB คือศัตรูผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงโดยมีค่า SPF 50+ แล้วยังสามารถปกปิดรอยสิวได้อย่างเรียบเนียน และคุมมันได้ถึง 8 ชั่วโมง คุณสมบัติยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะโดยปกติแล้วเครื่องสำอางที่สามารถปกปิดรอยสิว หรือริ้วรอยมักจะทำให้อุดตัน และเกิดคราบได้ง่าย แต่สำหรับ Bioderma Photoderm Cover Touch SPF 50+ ซึ่งสามารถกันน้ำ กันเหงื่อ ทนความร้อน ความชื้นได้ ไม่เกิดคราบ แต่จะไม่ทำให้ผิวอุดตัน และลดการเกิดสิวจากครีมกันแดดได้อีกด้วยค่ะ

ข้อสรุป

UVA UVB คือรังสีอัลตราไวโอเลตที่มาจากแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถทำอันตรายให้แก่ผิวหนังตั้งแต่การทำให้ผิวหมองคล้ำ ผิวไหม้แดด พุพองอักเสบ หรือหากโดนแสงแดดเป็นระยะเวลานานก็อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นควรปกป้องผิวโดยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเวลาที่แสงแดดจัดอย่างช่วงกลางวัน การใส่เสื้อแขนขายาวเพื่อคลุมผิวหนัง การใส่แว่นกันแดดหรือหมวก และการทาครีมกันแดด uva uvb ก็จะช่วยป้องกันผิวจากแสงแดดได้ค่ะ

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที