วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 21 ก.พ. 2024 01.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 127908 ครั้ง

Chiller (ชิลเลอร์) ระบบทำความเย็น เครื่องทำความเย็น และชิลเลอร์ในทางอุตสาหกรรม


Chiller (ชิลเลอร์) ระบบทำความเย็น เครื่องทำความเย็น และชิลเลอร์ในทางอุตสาหกรรม

chiller ชิลเลอร์

Chiller (ชิลเลอร์) คือ ?

chiller (ชิลเลอร์) คือ ส่วนประกอบของเครื่องจักรหลากหลายแบบ เป็นเครื่องทำความเย็นชนิดหนึ่งในระบบทําความเย็น มีหน้าที่ในการผลิตความเย็น ปรับลดอุณหภูมิ ในการทำความเย็นของเหลวต่าง ๆ

สถานที่ที่นิยมใช้ระบบชิลเลอร์ เช่น ตามอาคาร ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และโรงงานที่มีเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก  ระบบปรับอากาศในอาคาร chiller เพื่อช่วยระบายความร้อนของเครื่องจักร เช่น ผลิตน้ำเย็น หรือปรับอุณหภูมิน้ำเย็น เพื่อส่งเข้าไปยังเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อผลิตอากาศเย็นส่งเข้าไปยังห้องต่างๆ

 


Chiller มีหลักการทำงานอย่างไร

หลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) คือ นำสารทำความเย็นที่ถูกส่งมาจากคอมเพลสเซอร์ ( Compressor ) จะดูดและอัดสารทำความเย็น ในสถานะแก๊สที่มีแรงดันสูง ส่งไปยัง ที่มีแรงดันสูงโดยผ่านการระบายความร้อนมาจากคอนเดนเซอร์ ( Condenser )  จนมีสถานะเป็นของเหลวและแรงดันสูง

โดยผ่านอุปกรณ์ลดแรงดัน ส่วนมากนิยมใช้คือ เอ็กแปนชั่นวาล์ว  ( expansion valve ) เพื่อฉีดเข้า อีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) โดยในระหว่างนี้ จะลดแรงดันของสารทำความเย็นที่ถูกส่งมาจากคอมเพลสเซอร์ ผ่านการระบายความร้อนด้วยคอนเดนเซอร์ปั้มเอาน้ำเย็นนี้หมุนเวียนไปใช้ต่อไป

 


ประเภทของ chiller

chiller แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ

chiller แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ

 

ชิลเลอร์แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ เหมาะสำหรับพื้นที่ปรับอากาศที่มีข้อจำกัดของพื้นที่ติดตั้ง หรือระบบน้ำสำหรับระบายความร้อน ประสิทธิภาพสำหรับเครื่องทำน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศจะอยู่ระหว่าง 1.4 -1.6 กิโลวัตต์ต่อตัน

โดยปกติขนาดการทำความเย็นไม่เกิน 500 ตัน ระบบปรับอากาศ chiller จะไม่มีวงจรของน้ำระบายความร้อน เพราะจะใช้อากาศในการระบายความร้อน ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดคือ เครื่องทำน้ำเย็นและมีอุปกรณ์ประกอบคือ ปั๊มน้ำเย็นและอุปกรณ์ส่งจ่ายลมเย็น เท่านั้น

 

chiller แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

chiller แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

 

ชิลเลอร์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการขนาดการทำความเย็นมาก เพราะ chiller มีความสามารถในการระบายความร้อนด้วยน้ำดีกว่าระบายความร้อนด้วยอากาศ โดยจะอยู่ระหว่าง 0.62-0.75 กิโลวัตต์ต่อตัน

อุปกรณ์หลักของชิลเลอร์ทําความเย็นด้วยน้ำ ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) แผงระบายความร้อน (Condenser) และแผงคอยล์เย็น (Evaporator) หลักการทำงานของ chiller แบบนี้ คือการใช้คอมเพรสเซอร์อัดสารทำความเย็นซึ่งอยู่ในรูปแบบของก๊าซเย็นความดันต่ำ

จนกลายเป็นไอร้อนก่อนที่สารทำความเย็นนี้จะถ่ายเทความร้อนออกผ่านแผงระบายความร้อน เพื่อแปรสภาพเป็นของเหลว และลดความดันด้วยอุปกรณ์ลดแรงดัน ก่อนนำความเย็นที่ได้ไปใช้งานต่อ

ข้อเสียของ chiller แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ คือ ต้องลงทุนที่สูงกว่าเนื่องจากต้องมีการติดตั้งหอระบายความร้อน (Cooling Tower) เครื่องสูบน้ำระบายความร้อน (Condenser Water Pump) และยังต้องปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการสึกกร่อน

 


Chiller มีประโยชน์อย่างไร

Chiller มีประโยชน์มากมาย ดังนี้

1. สามารถทำความเย็นได้หลายๆจุดพร้อมกัน เนื่องจากใช้ท่อซึ่งเดินบนผนังหรือเพดานง่ายต่อการกระจายความเย็นไปยังจุดหรือห้องที่ต้องการ

2. Chiller เป็นอุปกรณ์ทำความเย็นประเภทหนึ่งที่ใช้น้ำระบายความร้อน แทนระบบมาตรฐานของการใช้สารทำความเย็นเคมีในการแลกเปลี่ยนความร้อน

3. ชิลเลอร์ช่วยประหยัดต้นทุนในการทำให้เครื่องจักรที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ที่ทำความเย็นลง

4. ชิลเลอร์ช่วยประหยัดเงินค่าสาธารณูปโภคสำหรับน้ำ และท่อระบายน้ำ

5. แอร์ชิลเลอร์สามารถให้ความเย็นได้ระหว่าง 180,000 ถึง 18,000,000 บีทียูต่อชั่วโมง ทำให้เหมาะสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่

 


การบำรุงรักษาระบบ chiller (ชิลเลอร์)

1. ควรตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องทำความเย็นบ่อยๆ รวมทั้งแรงดันไฟ การไหล และคอมเพรสเซอร์ ค่าปกติคือ 308V และกระแสอยู่ระหว่าง 11A-15A

2. การทำงานปกติความดันสูงทั่วไปแสดง 11-17KG ความดันต่ำแสดง 3-5KG

3. ตรวจสอบระบบระบายความร้อนเป็นประจำ รวมถึงพัดลมหอทำความเย็น หัวฉีด ท่อน้ำเย็น chiller ฯลฯ

4. เครื่องทำความเย็นไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดทุกเดือน สามารถทำความสะอาดแค่ปีละครั้ง แต่สิ่งของที่ต้องทำความสะอาด ได้แก่ คูลลิ่งทาวเวอร์ ท่อหม้อน้ำ ท่อน้ำเย็น chiller และชิ้นส่วนคอนเดนเซอร์ ฯลฯ

5. เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ควรปิดสวิตช์วงจรที่เกี่ยวข้อง

การบำรุงรักษาของ Chiller system ที่เหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงอิทธิพลของสิ่งสกปรกและสิ่งสกปรกอื่น ๆ อีกด้วย ทั้งหมดที่เรากล่าวมานั้น ก็เพื่อการดูแลรักษาคงประสิทธิภาพให้กับระบบ chiller ควรมีการตรวจเช็คและบำรุงรักษาอุปกรณ์เป็นประจำ

เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเครื่องชิลเลอร์พร้อมใช้งาน และเพื่อความปลอดภัยของระบบปรับอากาศในอาคาร อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ควรใส่ใจในการบำรุงรักษา และเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักรของคุณด้วย

 


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที