วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 21 ก.พ. 2024 01.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 127703 ครั้ง

Chiller (ชิลเลอร์) ระบบทำความเย็น เครื่องทำความเย็น และชิลเลอร์ในทางอุตสาหกรรม


อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือ คอยล์เย็น คืออะไร ทำอะไรในระบบทำความเย็น

evaporator อุปกรณ์ทำหน้าที่ดูดรับปริมาณความร้อนหลักภายในระบบทำความเย็น

อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือคอยล์เย็นคืออะไร ทำไมจึงเป็นอุปกรณ์หลักภายในระบบทำความเย็น อีวาพอเรเตอร์ทำหน้าที่อะไร มีส่วนประกอบที่สำคัญ และสามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท บทความนี้มีคำตอบ


อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือ คอยล์เย็น คืออะไร

อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นหูกันในชื่อ คอยล์เย็น (Cooling coil) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่มีความสำคัญต่อหลักการทำงานของเครื่องทำความเย็นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรความเย็น รวมถึง Evaporator ยังเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นมีความอิ่มตัวผ่านการระบายความร้อนไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง
 

น้าที่ของอีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) เป็นการรับสารทำความเย็นเหลวที่ยังคงมีความดันและอุณหภูมิสูง จากคอนเดนเซอร์ (Condenser) โดยอีวาพอเรเตอร์ทำหน้าที่หลัก คือ การดูดซับปริมาณความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น โดยการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นไอ และจะทำการระบายความร้อนภายในระบบผ่านการถ่ายเททางผิวท่อทางเดินของสารทำความเย็นภายในระบบนั้น ๆ
 

นอกจากนี้อีวาพอเรเตอร์ยังมีความโดดเด่นจากการนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น


ส่วนประกอบสำคัญของอีวาพอเรเตอร์ 

อีวาพอเรเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญต่อกระบวนการทำงานอย่างไรบ้าง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อีวาพอเรเตอร์ คืออุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่น และมีหน้าที่การทำงานที่จำเป็นต่อระบบทําความเย็นเป็นอย่างมาก โดย Evaporator มีส่วนประกอบที่สำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ส่วนให้ความร้อนและกลั่นแยกสาร

ส่วนให้ความร้อนและกลั่นแยกสารภายใน Evaporator เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการระเหยสารทำความเย็น โดยการกลั่นตัวเพื่อแยกตัวทำละลายที่ผสมอยู่ การทำงานในส่วนนี้จะสามารถควบคุมความเร็วในการหมุนได้ รวมถึงมีอ่างสำหรับให้ความร้อนที่ใช้กับสารทำความเย็นที่มีสถานะของเหลว ไม่ว่าจะเป็น น้ำหรือน้ำมัน โดยอ่างให้ความร้อนจะทำอุณหภูมิได้สูงสุดที่ 250 องศาเซลเซียส

2. ส่วนทำสุญญากาศภายในระบบ

ส่วนทำสุญญากาศภายในระบบของ Evaporator การทำงานในส่วนนี้ที่พบได้ทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นแบบ ปั๊มสุญญากาศ (Vacuum Pump) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นและแรงดันอากาศออกไปพร้อม ๆ กัน โดยปั๊มสุญญากาศภายใน Evaporator จะสามารถควบคุมความดันบรรยากาศได้มากถึง 0 mbar

3. ส่วนควบคุมอุณหภูมิภายในระบบ

ส่วนควบคุมอุณหภูมิภายในระบบของ Evaporator จะมีลักษณะเป็นอ่างน้ำที่มีการทำงานเป็นระบบหมุนเวียน ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของ Evaporator ควรอยู่ในช่วงสถานะน้ำที่ยังไม่เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง คือ มากว่า 0 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส

 


อีวาพอเรเตอร์ มีกี่ชนิด

ชนิดของอีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) ตามการออกแบบที่พบได้โดยทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่

แบบท่อเปลือย (Bare – tube Evaporator)

อีวาพอเรเตอร์แบบท่อเปลือย (Bare ? tube Evaporator)

อีวาพอเรเตอร์แบบท่อเปลือย (Bare – tube Evaporator) ที่พบได้ทั่วไปจะเป็นท่อเหล็กหรือท่อทองแดง มีลักษณะเป็นการเก็บสารทำความเย็นเหลวบรรจุภายในท่อใหญ่ตลอดเวลา และน้ำเย็นวิ่งอยู่ในท่อเล็ก ๆ อีวาปอเรเตอร์ชนิดนี้สามารถดูดรับปริมาณความร้อนได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่ทำให้จำเป็นต้องบรรจุสารทำความเย็นจำนวนมากเข้าไปในระบบ จึงเป็นอย่างมากเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่

แบบแผ่นท่อ (Plate – surface Evaporator)

อีวาปอเรเตอร์แบบแผ่นท่อ (Plate ? surface Evaporator)

อีวาพอเรเตอร์แบบแผ่นท่อ (Plate – surface Evaporator) มีลักษณะไม่มีครีบ และมีรูปร่างแตกต่างกันไปหลายแบบตามลักษณะการทำงาน มักจะใช้วัสดุอะลูมิเนียมและสเตนเลสที่มีทองแดงขดไปมาอยู่ภายใน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยอีวาพอเรเตอร์หน้าที่หลัก คือการนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น หรือตู้แช่ขนาดเล็ก เนื่องจากมีราคาถูก ทำความสะอาดง่าย และมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน

แบบท่อครีบ (Finned evaporator) 

อีวาพอเรเตอร์แบบท่อครีบ (Finned evaporator)

อีวาพอเรเตอร์แบบท่อครีบ (Finned evaporator) มีลักษณะเป็นฟินคอยล์ที่ออกแบบมาให้มีท่อทองแดงขดไปมา และมีครีบอะลูมิเนียมเป็นตัวเพิ่มพื้นที่ผิวในการถ่ายเทความร้อน Evaporator ชนิดนี้นิยมใช้กันทั่วไป มักใช้กับเครื่องปรับอากาศชนิดติดผนังและชนิดแยกส่วน ซึ่งจำเป็นต้องมีพัดลมมอเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนเพิ่มเติม

แบบครีบขดไปมา (Shell and Tube Evaporator)

อีวาพอเรเตอร์แบบครีบขดไปมา (Shell and Tube Evaporator)

อีวาพอเรเตอร์แบบครีบขดไปมา (Shell and Tube Evaporator) มีลักษณะเป็นท่อเหล็กขนาดใหญ่ซึ่งภายในมีท่อขนาดเล็กมากมายเรียงตัวกัน Evaporator ชนิดนี้นิยมใช้กับระบบทำความเย็นแบบชิลเลอร์ (Chillers) ซึ่งเหมาะเป็นอย่างมากสำหรับอาคารใหญ่ที่มีจำนวนชั้นมาก ๆ เนื่องจากอีวาพอเรเตอร์จะทำงานและส่งความเย็นไปตามบริเวณต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

สรุป

อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือคอยล์เย็น เป็นอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีความสำคัญต่อระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และคลังเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น 


จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน Evaporator มีหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยสิ่งสำคัญในการเลือกใช้อีวาพอเรเตอร์ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การเลือก Evaporator ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ควบคู่กับการคำนึงถึงขนาด รูปร่าง ราคา และการบำรุงรักษา 

 
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที