วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 21 ก.พ. 2024 01.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 131119 ครั้ง

Chiller (ชิลเลอร์) ระบบทำความเย็น เครื่องทำความเย็น และชิลเลอร์ในทางอุตสาหกรรม


เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ระบบปรับอากาศ Air Conditioning คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร? มีกี่ประเภท?

ระบบปรับอากาศ

ระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ คืออะไร ทำหน้าที่อะไร?

ระบบปรับอากาศอาคารขนาดใหญ่ คือการควบคุมอากาศให้เป็นไปตามที่ต้องการและให้เหมาะแก่การใช้งานภายในอาคาร โดยจะมีการแบ่งเป็น ระบบปรับอากาศในอาคาร, ระบบปรับอากาศในงานอุตสาหกรรม, ระบบแอร์ในห้าง เป็นต้น โดยปัจจัยในการควบคุมสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด การกระจายลม และการระบายกลิ่นภายในอาคาร โดยในประเทศไทยนั้นมีอากาศที่ร้อนชื้น ซึ่งหน้าที่ของระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ก็คือการทำความเย็นภายในอาคาร โดยระบายความร้อนออกจากพื้นที่นั้นๆด้วยวิธีการการดึงอากาศร้อนออกไปโดยตรง หรือใช้การหมุนเวียนอากาศภายในผ่านคอยล์เย็นและสารทำความเย็น เพื่อทำการขนถ่ายความร้อนออกไปจากห้อง

 


ความสำคัญของระบบปรับอากาศ มีอะไรบ้าง?

ความสำคัญของระบบปรับอากาศ (Air Conditioning)คือการปรับอากาศ หรือ ระบบปรับอากาศโดยใช้การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศผ่านคอยล์เย็นและสารทำความเย็น เพื่อให้มีอุณหภูมิเหมาะสมที่คนซึ่งอยู่ข้างในจะมีความรู้สึกสบาย อีกทั้งระบบปรับอากาศยังควบคุมความชื้นของอากาศและระบายอากาศเสียออกไป นอกจากนั้นยังหมุนเวียนอากาศบริสุทธิ์และกรองกรองอากาศสกปรกให้กลับมาสะอาด

 


ระบบปรับอากาศประเภทต่าง ๆ มีกี่ประเภท?

ระบบปรับอากาศมีกี่ประเภท? ระบบปรับอากาศ มีกี่แบบ? ในหัวข้อนี้เราจะมาจำแนกให้ทุกท่านทราบกัน

ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (split type)

ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) คือระบบปรับอากาศ(Air Conditioning)ที่มีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้งานสูง โดยเหมาะกับการใช้ในอาคารซึ่งแบ่งพื้นที่ขนาดเล็กหลายๆ ส่วน เช่น อาคารชุดพักอาศัย สำหรับบางอาคารอาจมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศชนิดนี้ไว้บางห้อง เพราะอาจมีคนมาใช้ห้องนั้นนอกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศชนิดทําน้าเย็นในการส่งน้ำเย็นมาที่ห้องต่าง ๆ ดังนั้นหากเครื่องทําน้ำเย็นหยุดทํางานก็ใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนได้

ระบบปรับอากาศแบบชุดหรือแพ็กเกจ (package)

ระบบปรับอากาศแบบชุดหรือแพ็คเกจ (Package)  เป็นระบบแอร์ที่ติดตั้งได้ง่าย แต่ถ้าเครื่องมีขนาดใหญ่อาจต้องมีห้องเครื่องและระบบ ส่งจ่ายลมเย็น โดยระบบนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน ซึ่งเหมาะกับใช้ในอาคารซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นชั้นและต้องการที่จะสามารถเปิด-ปิดการใช้งานได้อิสระ

ระบบปรับอากาศแบบใช้เครื่องทำน้ำเย็น (chiller)

ระบบปรับอากาศแบบใช้เครื่องทำน้ำเย็น (chiller) เป็นระบบเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ซึ่งมักใช้ในอาคารที่ต้องการปรับอากาศทั่วทั้งอาคาร โดยระบบนี้จะมีความซับซ้อนและยากในการออกแบบและติดตั้งมากกว่าระบบอื่น ๆ

 


ส่วนประกอบภายในระบบปรับอากาศ ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

การควบคุมระบบทำความเย็นที่เครื่องทำน้ำเย็น

โดยส่วนมากเครื่องทำน้ำเย็นซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อติดตั้งในอาคารจะมีการออกแบบให้มีขนาดทําความเย็น พิกัดมากกว่าภาระจริงเพราะสภาพภูมิอากาศภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ หากต้องการให้อุณหภูมิการปรับอากาศเป็นไปอย่างที่ต้องการจะต้องใช้ขนาดของเครื่องทำน้ำเย็นที่ใหญ่กว่าภาระที่ได้มีการคำนวณไว้

การควบคุมความเร็วรอบของเครื่องสูบน้ำเย็น

เครื่องสูบน้ำเย็นที่ถูกออกแบบและมีการติดตั้งไว้เพื่อจ่ายน้ำเย็นให้กับระบบปรับอากาศ(Air Conditioning)จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบคือ

1.ระบบปฐมภูมิ (Primary Chilled Water System)

เครื่องสูบน้ำเย็นในระบบปฐมภูมิ (Primary Chilled Water System) ในระบบนี้เครื่องสูบน้ำเย็นจะมีเพียง 1 ชุด โดยเครื่องนี้จะสูบน้ำเย็นจากเครื่องทำน้ำเย็นในแต่ละเครื่องและภาระการทําความเย็น (Load) ตามปกติแล้วปริมาณน้ำเย็นที่มีการไหลผ่านเครื่องทำน้ำเย็นจะอยู่ในระดับคงที่เสมอ (Constant Flow) สำหรับการควบคุมปริมาณน้ำเย็นซึ่งไหลผ่านภาระการทำความเย็นจะใช้วาล์วควบคุม 3 ทาง (Three Way Valve) ในการควบคุม โดยในระบบนี้เครื่องสูบน้ําเย็นจะทำงานไปด้วยกันกับเครื่องทำน้ำเย็นแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาระการทำความเย็นด้วย

 

2.ระบบปฐมภูมิ-ทุติยภูมิ (Primary-Secondary Chiled Water System)

ในเครื่องสูบน้ำเย็นในระบบปฐมภูมิ-ทุติยภูมิ (Primary-Secondary Chilled Water System) ประกอบด้วยเครื่องสูบน้ำเย็น 2 ชุด โดยชุดแรก จะใช้ในวงจรปฐมภูมิ (Primary Loop) ซึ่งมีหน้าที่สูบน้ำเย็นผ่านน้ำเย็นในแต่ละเครื่อง ปริมาณของน้ำเย็นซึ่งมีการไหลผ่านเครื่องทำน้ำเย็นจะอยู่ในระดับคงที่เสมอ (Constant Flow) และในชุดที่สอง เป็นวงจรทุติยภูมิ (Secondary Loop) จะมีหน้าที่ในการสูบน้ำเย็นไปสู่ภาระการทําความเย็น (Load) ปริมาณของน้ำเย็นซึ่งมีการไหลผ่านเครื่องทำน้ำเย็นจะอยู่ในระดับคงที่เสมอ (Constant Flow) สำหรับการควบคุมปริมาณของน้ำเย็นซึ่งมีการไหลผ่านภาระการทําความเย็น จะใช้วาล์วควบคุม 3 ทาง (Three Way Valve) เพื่อควบคุมการไหล ในการติดตั้งชุดควบคุมความเร็วรอบเครื่องสูบน้ำเย็นภายในวงจรปฐมภูมินั้น จะทำได้เฉพาะปริมาณน้ําเย็นส่วนเกินซึ่งไหลผ่านเครื่องทำน้ำเย็นเท่านั้น เพราะการออกแบบเครื่องทําน้ำเย็นนี้ เพื่อต้องการทำให้อัตราการไหลของน้ำเย็นมีความคงที่

 

การควบคุมระบบส่งจ่ายลมเย็น

ในอาคารส่วนใหญ่จะใช้ระบบปรับอากาศชนิดปริมาณลมเย็น ส่งออกคงที่ (Constant Air Volume System) โดยในระบบนี้ปริมาณลมเย็นซึ่งถูกส่งออกมาจากชุดส่งลมเย็น (Air Handling Unit) จะเข้าไปยังบริเวณปรับอากาศในโซนต่าง ๆ ปริมาณของลมเย็นที่ถูกส่งออกมาจะมีความคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ตามภาระความร้อนรอบๆเครื่องปรับอากาศนั้นๆ เพื่อให้อุณหภูมิห้องเป็นไปตามความต้องการ อุณหภูมิลมเย็นส่งออกก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยจะอาศัยเทอร์โมสแตทในการตัดและควบคุมอุณหภูมิใกล้เคียงกับเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีระบบปรับอากาศชนิดปริมาณลมเย็นส่งออกแปรเปลี่ยน (Variable Air Volume System) ซึ่งได้รับความนิยมใช้กันอย่างมาก เพราะใช้ปริมาณลมเย็นส่งออกจากชุดส่งลมเย็นไปยังบริเวณปรับอากาศโซนต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นอยู่กับภาระความร้อนที่อยู่ใกล้กับเครื่องปรับอากาศนั้น ๆ ในขณะที่อุณหภูมิบริเวณปรับอากาศในพื้นที่แต่ละโซนจะถูกควบคุมให้คงที่

การควบคุมหอระบายความร้อน

ในระบบปรับอากาศการควบคุมหอระบายความร้อนนั้น ควรเดินจํานวนของหอระบายความร้อนให้เหมาะสมกับภาระของการระบายความร้อนที่มาจากเครื่องทำน้ำเย็น สามารถพิจารณาได้จากอุณหภูมิกระเปาะเปียกภายในอากาศ โดยถ้ายิ่งอุณหภูมิต่ำมากก็จะได้น้ำหล่อเย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมากยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบภายในระบบปรับอากาศ

 


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที