วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 21 ก.พ. 2024 01.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 131146 ครั้ง

Chiller (ชิลเลอร์) ระบบทำความเย็น เครื่องทำความเย็น และชิลเลอร์ในทางอุตสาหกรรม


Accumulator ระบบทำความเย็นคืออะไร มีประโยชน์ยังไง แอคคิวมูเลเตอร์ทําหน้าที่อะไรและมีหลักการทำงานยังไงบ้าง

Accumulator

Accumulator ทําหน้าที่อะไรและมีระบบหลักการทำงานกี่ประเภท

โดยหลักการทำงานของ แอคคิวมูเลเตอร์คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บสารความเย็นเหลวที่ระเหยไม่หมดจากอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) เพื่อป้องกันไม่ให้สารความเย็นเหลวในสภาพของเหลวไหลกลับเข้าคอมเพรสเซอร์ ( compressor ) โดยหลักการทำงานนั้น จะทำการดูดแค่เฉพาะสารความเย็นเหลวที่เปลี่ยนเป็นไอจากด้านบนเท่านั้น

ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานนั้น น้ำมันหล่อลื่นที่ปนอยู่กับสารความเย็นเหลวด้านล่างจะถูกดูดผ่านรู เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในการหล่อลื่นครั้งต่อไป และแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) เป็นอุปกรณ์ทำความเย็นที่ติดตั้งอยู่ระหว่างอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) และทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์ ( compressor )

และจะแบ่งระบบหลักการทำงานอยู่ 4 ประเภทหลักๆก็คือ Pulsation damper, Pressure Compensate, Emergency Energy Reserve, และ Hydraulic Spring โดยระบบหลักการทำงานต่างๆที่กล่าวมา เราได้รวบรวมรายละเอียดเพิ่มเติมของหลักการทำงานของแต่ละระบบไว้ในบทความนี้แล้ว

Accumulator คือ…

Accumulatorคือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บสารความเย็นเหลวที่ระเหยไม่หมดจากอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) โดยหลักการทำงานนั้น จะทำการดูดเฉพาะสารความเย็นเหลวที่เปลี่ยนเป็นไอจากด้านบน ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานน้ำมันหล่อลื่นที่ปนอยู่กับสารความเย็นเหลวด้านล่างจะถูกดูดผ่านรูของแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) กลับมาใช้ใหม่ในการหล่อลื่นครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้สารความเย็นเหลวที่ตกค้างในสภาพของเหลวไหลกลับเข้าสู่เครื่องคอมเพรสเซอร์ ( compressor )


ประโยชน์ของ Accumulator

accumulator-ระบบทำความเย็น

Accumulator ระบบทำความเย็นที่คอยช่วยทำหน้าที่เก็บสารความเย็นเหลวที่ยังไม่ระเหยออกจากอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) โดยคอมเพรสเซอร์ ( compressor ) จะดูดแค่เฉพาะสารความเย็นเหลวที่เปลี่ยนเป็นไอจากด้านบนเท่านั้น ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานน้ำมันหล่อลื่นที่ปนอยู่กับสารความเย็นเหลวด้านล่างจะถูกดูดผ่านรูของแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) กลับมาใช้ใหม่ในการหล่อลื่นครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้สารความเย็นเหลวที่ตกค้างในสภาพของเหลวไหลกลับเข้าสู่เครื่องคอมเพรสเซอร์ ( compressor )

และในการติดตั้งระบบเครื่องทำความเย็นนั้น จะต้องมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามขนาดของเครื่อง  มักจะถูกติดตั้งอยู่ที่ท่อดูดก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ ( compressor ) หรือบางครั้งจะต้องมีการเดินท่อลิควิดที่ออกจากคอนเดนเซอร์ ( Condenser ) มาพันรอบตัวของแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) เพื่อช่วยให้สารทำความเย็นเหลวในเครื่องเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สได้เร็วขึ้น และในขณะเดียวกันจะต้องทำการซับคูลให้สารทำความเย็นเหลวที่ออกจากคอนเดนเซอร์ ( Condenser ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความเย็นของระบบ


Accumulator ทำงานอย่างไร

แอคคิวมูเลเตอร์

หลักการทำงานของ Accumulator คือ อุปกรณ์ที่คอยช่วยทำหน้าที่เป็นตัวเก็บสารความเย็นเหลวที่ระเหยไม่หมดจากอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) โดยสารความเย็นเหลวจะเข้าสู่ Accumulator ระบบทำความเย็นและส่วนที่เป็นไอนั้น จะถูกดูดกลับเข้าคอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) ทางท่อรูปทรงตัวยู เพื่อให้น้ำมันที่ติดมากับสารความเย็นเหลวนี้จะถูกแยกตัวด้วย

ดังนั้นแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) จึงต้องมีรูข้างล่างของท่อรูปทรงตัวยูเพื่อให้น้ำมันถูกดูดกลับเข้าคอมเพรสเซอร์ ( compressor ) ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีสารทำความเย็นเหลวบางส่วนที่ย้อนกลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) ทางรูนี้ด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากสารทำความเย็นเหลวบางส่วนที่ตกค้างมีปริมาณที่น้อยมาก จึงไม่ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อคอมเพรสเซอร์ ( compressor )

Pulsation Damper

ในกรณีที่ระบบไฮดรอลิคของแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) มีอัตราการไหลที่ไม่ราบเรียบ เช่น ใช้ปั๊มมือโยก เกียร์ปั๊ม เป็นต้น โดยถังสะสมพลังงานสามารถช่วยทำให้อัตราการไหลนั้นราบเรียบขึ้นได้

Pressure Compensate

ในกรณีที่ระบบไฮดรอลิคของแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) จำเป็นจะต้องล็อคความดันให้คงที่เป็นระยะเวลานานๆ โดยที่ไม่สิ้นเปลืองกำลังงาน ถังสะสมพลังงานความดันที่สูญเสียไป ซึ่งอาจเนื่องการรั่วเพียงเล็กน้อยที่เกิดจาก วาล์ว ซีลกระบอกสูบ เป็นต้น

Emergency Energy Reserve

ในกรณีที่ระบบไฮดรอลิคของแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) ต้องมีความสามารถในการทำงานในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ปั๊มเสีย เป็นต้น โดยถังสะสมพลังงานสามารถที่จะสะสมพลังงานไว้เพื่อเหตุนั้นๆได้

Hydraulic Spring

ถังสะสมพลังงานแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) สามารถใช้เป็น Mechanical Spring โดยที่เราสามารถควบคุมทั้งค่าความแข็งและความดันในการใช้งานได้ งานที่พบได้แก่ ลูกกลิ้งที่ใช้รีดชิ้นงาน งานเจาะหรืองานกระแทก เป็นต้น

 


 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที