อ.สมิต

ผู้เขียน : อ.สมิต

อัพเดท: 04 ก.ย. 2007 09.39 น. บทความนี้มีผู้ชม: 433191 ครั้ง

ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือการที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากความขัดแย้งระหว่างบุคคลแล้วยังจะมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มด้วย หากสมาชิกกลุ่มมีความแตกต่างกันมากในหลายๆ ด้าน ความขัดแย้งก็จะเกิดมากขึ้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการยากที่คนเราจะทำงานร่วมกันในหน่วยงานโดยปราศจากความขัดแย้ง จนมีคำกล่าวว่า “ความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในชีวิตแต่ปัญหาไม่จำเป็นต้องมี ”


แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง ตอนที่ 2

7.     ทัศนะต่อปัญหาความขัดแย้ง

           

ข้อดี

ข้อเสีย

- เกิดความคิดสร้างสรรค์

- เกิดความขุ่นเคืองกัน

- สร้างความร่วมมือกันในแต่ละฝ่าย

- ทะเลาะเบาะแว้งซึ่งกันและกัน

- เกิดความสามัคคี

- เป็นปรปักษ์กันอย่างรุนแรง

- สามารถจัดการและค้นหาวิธีการแก้ไข

  ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

- เกิดความอาฆาตและรอหาโอกาสที่จะ

  แก้แค้น

 

8.     แนวทางในการวิเคราะห์ความขัดแย้ง

           

            องค์ประกอบของความขัดแย้ง อาจจำแนกออกได้ 2 ประการ ได้แก่

            1.   สถานการณ์ของความขัดแย้ง (Conflict Situation)

            2.   เหตุการณ์ของความขัดแย้ง (Conflict Episode)

            ได้มีการเสนอแบบการวิเคราะห์ข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลในรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ ในลักษณะที่เป็นวัฎจักรระหว่าง

            1.   ประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้ง

            2.   สภาพสิ่งแวดล้อมหรือเหตุการณ์ที่เป็นจุดระเบิด ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งปรากฏขึ้น

            3.   การกระทำที่แสดงออกถึงความขัดแย้งของคู่กรณี และ

            4.   ผลต่างๆ ที่เกิดตามมาจากความขัดแย้งนั้น

 

            ความขัดแย้งระหว่างบุคคลนั้นอาจจะแสดงออกมาให้เห็นเป็นครั้งคราว ดังนั้น ในช่วงเวลาหนึ่ง ประเด็นที่มีความขัดแย้งกันจะมีลักษณะแอบแฝงอยู่ แต่เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทำการที่เห็นได้จะแจ้งออกถึงการจุดชนวนความขัดแย้งแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็จะแสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงความขัดแย้งเหล่านั้นทันที และหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการแสดงความขัดแย้งนั้นแล้ว ความขัดแย้งก็จะสงบเงียบไปชั่วระยะ

หนึ่ง และถ้าหากทั้งสองฝ่ายยังจำต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่ต่อไปแล้ว ความขัดแย้งก็จะแสดงออกมาให้ปรากฏให้เห็นอีกเมื่อมีเหตุการณ์  หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความขัด

แย้ง นอกจากนี้ยังอาจจะมีสิ่งกระตุ้นเร่งเร้าให้ความขัดแย้งปรากฏออกมา ที่เรามักจะเรียกเหตุการณ์เหล่านั้นว่า เป็นเหตุการณ์ที่เป็นจุดระเบิด (Triggering Events) ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มความรุนแรงของประเด็นความขัดแย้ง ในการวินิจฉัยความขัดแย้งระหว่างบุคคล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาว่าเหตุการณ์อะไรที่เป็นชนวนจุดระเบิดที่ทำให้พฤติกรรมซึ่งแสดงถึงความขัดแย้งปรากฏขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถกระทำการได้อย่างเหมาะสมในการพิจารณาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับความขัดแย้งหรือในการหาทางบริหารความขัดแย้ง

 

9.     สาเหตุของการเกิดความขัดแย้ง

 

            1.   การแข่งขันอันเนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด (Scarce Resource)

            2.   ความขัดแย้งที่สร้างขึ้นภายในองค์การ

            3.   จุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน

            4.   จุดมุ่งหมายเหมือนกัน แต่อาจใช้วิธีการที่จะให้บรรลุจุดมุ่งหมายต่างกัน

            5.   ความแตกต่างในลักษณะงาน

            6.   การให้คุณค่าและความสำคัญแตกต่างกัน

            7.   สภาพองค์การที่คลุมเครือ

            8.   ขาดการสื่อสารที่ดี

 

            หากจะค้นหาสาเหตุของความขัดแย้งที่เป็นตัวร่วมสำคัญ (Common Factor) ก็จะพบว่า ส่วนใหญ่ความขัดแย้งมีที่มาจากการขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน (Lack of Com-munication) การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน, คลุมเครือ หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน อาจเป็นสาเหตุของความขัดแย้งได้ และยังจะเป็นผลให้ความขัดแย้งระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นแล้วนั้น มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ (Spiral Conflict)

พบกันใหม่ วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที