วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 04 ก.พ. 2024 22.27 น. บทความนี้มีผู้ชม: 42455 ครั้ง

ความรู้ทั่วไป การตลาด ประชาสัมพันธ์


Brand Ambassador vs. Presenter แตกต่างกัน อย่างไร

Brand ambassador คืออะไร สำคัญอย่างไร

ในปัจจุบันเวลาที่ดูทีวี ดู YouTube หรือเล่นโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ เราจะต้องเจอกับโฆษณาตลอด โดยเรามักจะเห็นคนดัง หรือคนมีชื่อเสียงอยู่ในโฆษณานั้น ๆ ซึ่งเราจะเรียกคนเหล่านี้ว่าแบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) ที่จะโปรโมทสินค้าของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก แต่หลายครั้งก็มีคนสับสนระหว่างแบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) และพรีเซนเตอร์ (Presenter)

โดยในบทความนี้เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่าง Brand Ambassador และ Presenter  ต่างกันอย่างไร Brand Ambassador คืออะไร หน้าที่ของ Brand Ambassador คืออะไร มาหาคำตอบกันเลยค่ะ


Brand Ambassador คือ

Brand ambassador คือผู้นำเสนอและส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้านั้น ๆ เพื่อให้สินค้าของแบรนด์ดังกล่าวได้รับความสนใจในตลาด ในขณะที่ Presenter คือผู้ที่แสดงโฆษณาเพียงเท่านั้นไม่มีการผูกพันใด ๆ กับสินค้า

แต่ Brand Ambassador จะมีเงื่อนไขและผูกพันกับแบรนด์ซึ่งภาพลักษณ์ของแบรนด์แอมบาสเดอร์จะส่งผลกับภาพลักษณ์ของสินค้าด้วย อีกทั้งต้องมีการออกงานที่จะช่วยส่งเสริมการขายของแบรนด์นั้น ๆ อีกด้วย


ลักษณะของ Brand Ambassador 

Brand ambassador คือผู้ที่โปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จัก

Brand Ambassador คือบุคคลที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเป็นได้ถ้าไม่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง

ชื่อเสียงของตัวบุคคลถือว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดอันดับแรกของการเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ เนื่องจากชื่อเสียงของบุคคลนั้น ๆ จะสามารถผลักดันให้แบรนด์และธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว โดย Brand Ambassador จะมีผู้ติดตามและแฟนคลับเป็นจำนวนมาก จึงทำให้สามารถเจาะตลาดและกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้

  1. การมี Passion

Passion คือความหลงใหลในบางอย่างที่จะเป็นแรงผลักดันหรือแรงกระตุ้นในการทำสิ่งนั้น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเป็น Brand Ambassador ซึ่งหากใครได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Brand Ambassador บุคคลนั้นจะต้องแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในการเรียนรู้ในเรื่องของแบรนด์ สินค้า บริการ

  1. ความเป็นมืออาชีพ

ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็น Brand Ambassador จะต้องแสดงความเป็นมืออาชีพอย่างสูงสุด เนื่องจากแบรนด์แอมบาสเดอร์จะต้องไปออกงานอีเว้นท์ต่าง ๆ รายการโทรทัศน์ต่าง ๆ ที่ถูกได้รับมอบหมาย อีกทั้งแบรนด์แอมบาสเดอร์ถือเป็นหน้าตาของแบรนด์ ดังนั้นเวลาทำอะไรจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายต่อแบรนด์

  1. สร้าง Profile บนโลกออนไลน์

ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็น Brand Ambassador จะต้องมีผู้ติดตามและแฟนคลับเป็นจำนวนมากในพื้นที่โซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube หรือ TikTok เพราะสามารถช่วยให้เกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายมากขึ้น


หน้าที่ของ Brand Ambassador 

Brand ambassador คือผู้ที่รับความสนใจในสังคม

Brand Ambassador คือบุคคลที่เป็นแบรนด์จ้างเพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการ โดย Brand Ambassador ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของบริษัท ดังนั้นจึงมีผลต่อภาพลักษณ์และรายได้ของบริษัท ซึ่งแบรนด์แอมบาสเดอร์จะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1.เมื่อออกสื่อต้องใช้สินค้าหรือพูดถึงสินค้าทุกครั้ง

2.ต้องใช้สินค้าของแบรนด์ในชีวิตประจำวัน

3.เป็นตัวแทนของสินค้าเมื่อต้องไปออกงานอีเว้น หรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

4.ไม่ใช้สินค้าแบรนด์อื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่ง


ประเภทของ Brand Ambassador 

ประเภทของ Brand Ambassador สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

Niche Authority Brand Ambassadors

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Niche Authority Brand Ambassadors คือกลุ่มสายอาชีพที่มีคุณสมบัติเด่น ๆ ซึ่งเหมาะแก่การเป็น Brand Ambassador โดยบุคคลในกลุ่มนี้จะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางกับแบรนด์ที่จ้างมา เช่น ถ้าแบรนด์นั้นขายเครื่องมือแพทย์ก็จะให้หมอมาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ เป็นต้น

Peer Advocate Ambassadors

กลุ่มลูกค้าผู้สนับสนุน Peer Advocate Ambassadors คือกลุ่มลูกค้าเดิมของแบรนด์นั้น ๆ ที่ได้ใช้สินค้าหรือบริการจนรู้สึกประทับใจและอยากบอกต่อกับคนอื่น ๆ  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว

ถ้ามองในเรื่องของ Marketing Funnel การทำแบบนี้จะทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ ในอนาคตถ้าแบรนด์ไหนเห็นถึงช่องทางนี้ก็อาจนำลูกค้ามาเป็น Customer Brand Ambassador เช่นกัน

Influencer Ambassadors

กลุ่มผู้มีชื่อเสียง Influencer Ambassadors คือกลุ่ม Celebrity เช่น ดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงในแต่ละวงการ ซึ่งจะได้รับการว่าจ้างให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของแบรนด์และต้องศึกษาสินค้าหรือบริการที่ตัวเองต้องนำเสนออีกด้วย

อีกทั้งกลุ่ม Celebrity จะถูกแต่งตั้งให้เป็น Brand Ambassador มากที่สุด เพราะมี Profile และมีแฟนคลับติดตามเป็นจำนวนมาก

Student Brand Ambassadors

กลุ่มนักเรียนนักศึกษา Student Brand ambassador คือกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีการทำกิจกรรมสร้างคอนเทนต์ให้ตรงใจกลุ่มเพื่อน ๆ ในสถานศึกษา เพื่อจะดึงดูดเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกันให้มาสนับสนุนแบรนด์

Informal Ambassador

การใช้กลุ่มตัวแทนแบบไม่เป็นทางการ Informal Ambassador นั้น ทางแบรนด์จะไม่เคร่งในเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์มากนัก แต่จะเน้นเรื่องของการขายซึ่งจะใช้วิธีการแชร์ข้อมูลให้เพื่อน ๆ หรือทำการตลาดในช่องทางของตัวเอง

โดยแบรนด์จะมีการเตรียมชุดข้อมูลให้กับตัวแทนเป็นที่เรียบร้อยซึ่งกลุ่มตัวแทนแบบไม่เป็นทางการจะได้ค่าตอบแทนเป็นส่วนแบ่งคอมมิชชั่นตามที่มีการตกลงกันไว้

Employee Brand Ambassador

กลุ่มพนักงาน Employee Brand Ambassador จัดว่าเป็นกลุ่มที่เหมาะแก่การเป็นตัวแทนของแบรนด์อีกกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากพนักงานในองค์กรจะรู้เรื่องข้อมูลดีที่สุด


Brand Ambassador vs Presenter แตกต่างกันอย่างไร 

ความแตกต่างระหว่างแบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) และพรีเซนเตอร์ (Presenter) สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน ดังนี้

1. Brand Ambassador

2. Presenter


Global Ambassador คืออะไร  

Brand Ambassador คือบุคคลที่ถือว่าเป็นตัวแทนของแบรนด์

Global Ambassador คือบุคคลที่มีชื่อเสียงมีคนรู้จักเป็นวงกว้างและมีภาพลักษณ์ตรงกับที่แบรนด์ต้องการ จนถูกรับเลือกให้เป็นตัวแทนให้กับแบรนด์ดัง ๆ ระดับโลก รวมถึงเป็นตัวแทนในการไปร่วมออกงานกับแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นงานอีเวนต์และงานโฆษณา

ซึ่งจะมีหน้าที่คล้ายกับแบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) คือการโปรโมทสินค้าให้คนรู้จัก นอกจากนี้ผู้ที่เป็น Global Ambassador จะไม่สามารถใช้สินค้าแบรนด์อื่น หรือคู่แข่งออกสื่อได้เลย ตัวอย่างของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Global Ambassador ได้แก่ ลิซ่า BLACKPINK ที่ได้เป็น Global brand ambassador สองแบรนด์ของ LVMH ทั้ง Bvlgari และ Celine เป็นต้น


การเลือก Brand Ambassador 

1.การกำหนดแบรนด์แอมบาสเดอร์

การกำหนดแบรนด์แอมบาสเดอร์มีความสำคัญมาก เพราะสามารถข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมาก ซึ่งแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่น่าเชื่อถือจะสามารถสร้างความประทับใจที่ดีให้กับลูกค้าที่มาใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ ดังนั้น Brand ambassador คือผู้ที่สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ให้กับแบรนด์ และมีผู้ติดตามมากมาย

2.การเลือกบุคคลให้เหมาะสม

แทบทุกคนสามารถเป็น influencer ได้ โดยบริษัทสามารถค้นหาผู้สมัครที่เหมาะสมได้ตามดังนี้

1.เลือกจากบุคคลภายในบริษัทของคุณเอง

ใครรู้จักแบรนด์ดีไปกว่าพนักงานของตัวเอง? นี่คือวิธีที่พนักงานกลายเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในอุดมคติ ด้วยความภักดีของพวกเขาจะทำโปรโมตแบรนด์ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี หากต้องเลือกระหว่างผู้บริหารและพนักงานทั่วไปในการให้มาเป็น Brand Ambassador พนักงานทั่วไปจะมีความเหมาะสมมากกว่า

2.เลือกจากในหมู่ลูกค้าที่เคยใช้บริการ

ลูกค้าประจำถือว่าเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่เหมาะสมในการเป็น Brand Ambassador โดยลูกค้าประจำมักจะพูดคุยเกี่ยวกับแบรนด์บนแพลตฟอร์ม ดังนั้นจึงทำให้พวกเขากลายเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์อย่างสมบูรณ์แบบได้

ในปัจจุบันสามารถพบแบรนด์แอมบาสเดอร์ส่วนใหญ่ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยพวกเขาสามารถสร้างตัวตนในพื้นที่นั้น ๆ ได้ โดยบล็อกเกอร์นั้นจะมีอิทธิพลอย่างมากในเว็บ ด้วยการโพสต์บล็อกเดียวสามารถทำให้คนจำนวนมากเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชนได้ นั่นจึงทำให้พวกเขากลายเป็นผู้มีอิทธิพลในองค์กรที่ยอดเยี่ยมในครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Twitter, Facebook, Instagram, Pinterest และ LinkedIn ดังนั้นในโซเชี่ยลจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ดีในการมองหาแบรนด์แอมบาสเดอร์

3.ให้ทดลองผลิตภัณฑ์ของคุณเล็กน้อย

เมื่อบริษัทได้ทำการกำหนดและเจอกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีศักยภาพแล้ว พวกเขาควรส่งตัวอย่างบางส่วนไปให้ตัวแทนที่เป็นเป้าหมายเพื่อตรวจสอบบริการเบื้องต้นของบริษัท อย่างไรก็ตามไม่ว่าพวกเขาจะเป็นลูกค้าประจำอยู่แล้วหรือว่าแบรนด์ใหม่ทั้งหมดก็ควรจะต้องส่งตัวอย่างไปให้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าประจำเกิดความประทับใจกับ "ของสมนาคุณ" และพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งของทีมด้วยความรู้สึกที่ไร้มลทิน

4.รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับ brand ambassador

ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับแอมบาสเดอร์นั้นถือว่าเป็นสัมพันธ์ที่มีการพึงพาอาศัยกัน ไม่ว่า brand ambassador จะทำอะไรให้กับบริษัท บริษัทจะต้องมีการตอบแทน

แม้ว่าจะไม่มีเงินเดือนให้ แต่แบรนด์แอมบาสเดอร์ก็สามารถรับสิ่งจูงใจเป็นตัวเงินได้เช่นกัน การดูแลแบรนด์แอมบาสเดอร์จะทำให้พวกเขาอยากอยู่กับแบรนด์ไปนาน ๆ โดยสิ่งนี้จะดึงดูดผู้สนับสนุนรายอื่นและจะเปิดโอกาสมากขึ้น


การเลือก Brand Ambassador เป็นคนในองค์กร มีข้อดีอย่างไร

1.ได้รับความไว้วางใจอย่างสุดซึ้ง

ผู้ติดตามโซเชียลมีเดียของพนักงานมักจะเป็นเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน โดยผู้คนจะคิดว่าเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดของพวกเขานั้นมีความน่าเชื่อถือที่สุด ซึ่งพนักงาน Brand ambassador คือผู้ที่สามารถช่วยเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของการเข้าแอปพลิเคชัน อีกทั้งพนักงานแบรนด์แอมบาสเดอร์จะได้รับโบนัสที่ไม่ใช่เงินสดหรือเงินสดที่ให้เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ

2.ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์

พนักงานจะรู้ข้อมูลภายในอยู่แล้ว ดังนั้นจึงง่ายต่อการทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ พวกเขารู้ดีว่าทำไมกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มถึงสนใจและชื่นชมเป้าหมายของบริษัท โดยพนักงาน brand ambassadors จะช่วยงานด้านการค้นหาและตัวแทนจากภายนอกได้อีกด้วย

3.การได้รับตำแหน่งในการเป็นพนักงานที่น่าดึงดูดใจ

ด้วยการเป็นตัวแทนบริษัทที่มีความโดนเด่นและตัวตนของนายจ้าง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะนำเสนอตัวเอง employer brand ที่น่าดึงดูดใจ โดยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจอและสร้างสัมพันธ์กับพนักงานใหม่ที่มีศักยภาพ


สรุปหัวข้อ Brand Ambassador 

หากอ่านมาถึงตรงนี้คุณคงเห็นความแตกต่างระหว่างพรีเซนเตอร์กับแบรนด์แอมบาสเดอร์ แล้ว โดยในปัจจุบันถือว่าเป็นยุคที่มีการแข่งขันในการทำธุรกิจสูง

ดังนั้นการใช้ แบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) จัดว่าเป็นกลยุทธ์ซึ่งสามารถสร้างความต่างและข้อได้เปรียบให้กับแบรนด์ได้ โดยหลายแบรนด์ได้มีการใช้ Brand Ambassador ในการการวางแผนบริหารจัดการแบรนด์แบบสมัยใหม่อีกด้วย

โดยแบรนด์แอมบาสเดอร์นั้นมีหลายประเภทซึ่งหากจะใช้ เพื่อสร้างผลกำไรในการทำธุรกิจสูงสุดควรใช้ให้เหมาะสมกับแผนการตลาดและกิจกรรมที่ได้มีการวางแผนเอาไว้ค่ะ


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที