KIEMAN

ผู้เขียน : KIEMAN

อัพเดท: 08 มิ.ย. 2023 09.26 น. บทความนี้มีผู้ชม: 10034 ครั้ง

ยอดธรรมะพระอริยสงฆ์


มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ

นโมนี้เมื่อกล่าวเพียงสองธาตุเท่านั้นยังไม่สมประกอบยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้คือ เอาสระอะจากตัว น มาใส่ตัว ม เอาสระโอจากตัว ม มาใส่ตัว น แล้วกลับตัว มะมาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่าใจ เมื่อเป็ฯเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจเต็มตามส่วน สมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโนคือใจนี้เป็ฯดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมด ได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพพงคมาธมมา มโนเสฏฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจคือมหาฐานนี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จักนโมจนแจ่มแจ้งแล้ว มโนก็สุดบัญญัติคือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกจากนโมทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติบัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติ ด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลง หลงถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราไปหมด วาสนานั้นเป็นไปตามอัธยาศัย คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้วแต่คบคนพาลวาสนาก็อาจเป็นเหมือนคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน แต่คบบัณฑิตวาสนาก็เลื่อนขั้นขึ้นเป็นบัณฑิตฉะนั้น พึงคบบัณฑิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น  


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที