editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 24 เม.ย. 2008 13.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 47381 ครั้ง

รอยยิ้มเชื่อมใจ 120 ปีไทย-ญี่ปุ่น


การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.ยุวชน กรังด์ปรีซ์ - รายละเอียด การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ยุวชน กรังด์ปรีซ์ 2551 ครั้งที่ 8

เอกสาร การสมัครทั้งหมด ดาวน์โหลด ที่ ----> http://www.tpa.or.th/robot/newindex.php 

รายละเอียด การแข่งขันหุ่นยนต์  ...  ยุวชน  กรังด์ปรีซ์  2551  ครั้งที่ 8

TPA Robot Grand Prix Junior 2008

วันที่  30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2551

 

จากการที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส... ได้ริเริ่มจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับอุดมศึกษา ในชื่อการแข่งขันที่เรียกว่า “การแข่งขันหุ่นยนต์ ส... ชิงแชมป์ประเทศไทย หรือ TPA ROBOT CONTEST THAILAND CHAMPIONCHIP” เป็นประจำทุกปี โดยมีการจัดต่อเนื่องกันมา 15  ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.. 2535 เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขันหุ่น-ยนต์ที่ประเทศญี่ปุ่นจนประสบความสำเร็จถึงขั้นเคยเป็นผู้ชนะเลิศในประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว และทำให้การแข่งขันหุ่นยนต์เป็นที่รู้จักและนำไปจัดกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ

                สมาคมฯ เล็งเห็นว่า การประดิษฐ์หุ่นยนต์ของเยาวชนไทย สมควรที่จะขยายไปสู่การแข่งขันในระดับมัธยมศึกษา จึงได้มีการริเริ่มจัดการแข่งขันในระดับมัธยมศึกษาขึ้นตั้งแต่ปี พ.. 2543 เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสแสดงความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า การแข่งขันหุ่นยนต์ ส... ยุวชน กรังด์ปรีซ์

สำหรับในปีนี้นับเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่  8  โดยในปีนี้จะมีการแข่งขันหุ่นยนต์ตามกติกาตามโจทย์กำหนด  หัวข้อของกติการอบคัดเลือก ซึ่งจะมีแนวทางให้ทราบในวันอบรมเพื่อคัดเลือกทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรอบต่อไป

 

1. การอบรมก่อนการแข่งขันเพื่อคัดเลือก 36 ทีม

โดยก่อนการแข่งในรอบสุดท้าย (30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน) จะมีการอบรมเพื่อคัดเลือก 36 ทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรอบสุดท้าย  โดยมีการอบรมที่สถาบันเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) แบ่งเป็น 3 รอบ รอบที่ 1 ในวันที่  26-27  มี.ค.  2551 รอบที่ 2 ในวันที่ 31 มี.ค.-1 เม.ย. 2551 และ รอบที่ 3 ในวันที่ 2 – 4 เม.ย. 2551 และทีมผู้เข้าร่วมการอบรมจะถูกทดสอบโดยคณะกรรมการตัดสินรอบคัดเลือกหลังจากจบการอบรมช่วงบ่าย

 

2.รายละเอียดของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

การแข่งขันหุ่นยนต์ตามกติกาหรือตามโจทย์กำหนด

นักเรียนที่ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 36 ทีม ต้องประดิษฐ์หุ่นยนต์ให้สามารถทำภาระกิจตามกติกาที่กรรมการกำหนด โดยอุปกรณ์หุ่นยนต์มาตรฐาน ...จะจัดส่งให้ในส่วนของกติกาคณะกรรมการตัดสินจะแจ้งให้ทราบในช่วงเช้าของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเวลา 08.30 . ให้เวลาในการพัฒนาหุ่นยนต์และโปรแกรมประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนทำการแข่งขัน และทำการแข่งขันเป็นรอบๆ จนได้ผู้ชนะเลิศที่ Mcc Hall  ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์  บางกะปิ  ในวันที่  30 พฤษภาคม – 1  มิถุนายน 2551

              การแข่งขันหุ่นยนต์ฯ ประจำปี 2551 มีการแข่งขันทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

    1.  การแข่งโดยใช้หุ่นยนต์ ROBO NOVA

                    ROBO Basketball ใช้หุ่นยนต์ ROBONOVA 1 ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ประเภท Humanoid จับลูกบอลเดินผ่านสิ่งกีดขวาง แล้วนำไปปล่อยลงตระกร้า โดยจะใช้เวลาแข่งขันประมาณ 3 – 5 นาที

                     2. การแข่งขันโดยใช้  AX 11 Controller

                  การแข่งขัน Robo Delivery  ใช้อุปกรณ์ AX 11 Controller  ประดิษฐ์หุ่นยนต์สำหรับส่งของจำนวน 2 ตัว และเขียนโปรแกรมภาษา C ให้หุ่นยนต์เดินตามเส้น เพื่อหยิบของและส่งของตามจุดที่กำหนด   

  3. การแข่งขันหุ่นยนต์เล่นละคร  เป็นการแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์หรือกลไกบังคับด้วยมือ ( Remote Control ) ควบคุมด้วย Servo Motor  ผู้เข้าแข่งขันไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อบังคับหุ่นยนต์  แต่จะเน้นความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์โครงสร้างหุ่นยนต์ และการนำเสนอเป็นเนื้อเรื่อง

 

3.คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

·        เป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนทั้งในภาครัฐและเอกชน

·        สมาชิกในทีมประกอบด้วยนักเรียน 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน รวม 4 ท่าน

·        แต่ละโรงเรียนสามารถส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันได้ประเภทละ 1 ทีมเท่านั้น

 

4.อุปกรณ์ที่ ส... จะจัดให้แต่ละทีม

4.1 อุปกรณ์สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์  

ชุดหุ่นยนต์อัตโนมัติ ซึ่งหุ่นยนต์จะถูกประกอบ/โปรแกรมขึ้นโดยผู้เข้าแข่งขันของแต่ละทีมเอง ในวันที่เข้ารับการอบรมโดยอุปกรณ์จะประกอบด้วยชิ้นส่วนทางกลพื้นฐานของหุ่นยนต์ วงจรควบคุม อุปกรณ์ตรวจวัด (sensors) มอเตอร์ และสายเคเบิลสำหรับเชื่อมต่อกับพอร์ตอนุกรมของคอมพิวเตอร์

 

5.อุปกรณ์ที่ทางโรงเรียนจะต้องเตรียมมาเอง

คอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาโปรแกรมหุ่นยนต์ (โรงเรียนต้องนำมาเองไม่มีให้ยืมใช้) โดยควรมีคุณสมบัติดังนี้ คือ มีระบบปฏิบัติการ  Windows 98, 2000, NT หรือ  XP, CPU 80486  ขึ้นไป RAM 16 MB ขึ้นไป  มีพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ 1 MB ขึ้นไป  มีพอร์ตอนุกรมอย่างน้อย 1 พอร์ต  (Serial Port)

 

6.สถานที่จัดการแข่งขัน

·        อบรมและคัดเลือก ณ สถาบันเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น) ซอยพัฒนาการ 37 .พัฒนาการ

·        รอบชิงชนะเลิศ ณ. Mcc Hall ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์  บางกะปิ

 

7.รางวัล (อาจมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบก่อนวันอบรม ทาง www.tpa.or.th )

รางวัลชนะเลิศการแข่งขันได้รับเงินรางวัล                           30,000  บาท พร้อมโล่รางวัลและเหรียญที่ระลึก

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1  ได้รับเงินรางวัล                      20,000 บาท  พร้อมโล่รางวัลและเหรียญที่ระลึก

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2  ได้รับเงินรางวัล                      10,000 บาท  พร้อมโล่รางวัลและเหรียญที่ระลึก

รางวัลชนะเลิศการประกวดกองเชียร์                                      15,000 บาท  พร้อมโล่รางวัล

รางวัลรองชนะเลิศการประกวดกองเชียร์                                10,000 บาท   พร้อมโล่รางวัล

 

8.เงินช่วยเหลือค่าเดินทาง

1.       เฉพาะทีมที่สมัครเข้าร่วมการคัดเลือก ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดทุกทีมที่ตกรอบคัดเลือก ( ยกเว้น  กรุงเทพ ฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี รวม  4 จังหวัด) จะได้รับเงินสนับสนุนค่าเดินทางทีมละ 1,000 บาท(หนึ่งพันบาทถ้วน)  และทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก 36 ทีม ได้รับเงินสนับสนุนค่าเดินทางทีมละ 2,000 บาท(สองพันบาทถ้วน)รับ ณ วันที่เดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขัน ( 1 โรงเรียนสมัครได้ประเภทละ 1 ทีมเท่านั้นโดยขอให้อาจารย์ที่ปรึกษานำเอกสารที่ต้องใช้ในการรับเงินสนับสนุนค่าเดินทางคือ   สำเนาบัตรข้าราชการ หรือบัตรประชาชนมาด้วย  )

2.       ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก  36 ทีม จะได้รับเงินสนับสนุนค่าเดินทางทีมละ 2,000 บาท  เมื่อเข้าร่วมแข่งรอบชิงชนะเลิศ ณ MCC Hall The mall บางกะปิ ทุกทีมทั้งทีมของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ ฯ และในต่างจังหวัด

(โดยขอให้อาจารย์ที่ปรึกษานำเอกสาร สำเนาบัตรข้าราชการหรือบัตรประชาชนมาด้วย)

 

9. กำหนดการแข่งขัน         การแข่งขันหุ่นยนต์ตามกติกาที่โจทย์กำหนด

 

31 พ.ค. – 1 มิ.ย. 51

การแข่งขันหุ่นยนต์ ส... ยุวชน กรังด์ปรีซ์ ปี  2551    MCC Hall The Mall บางกะปิ  

24 เม.ย. – 30 พ.ค. 51

นักเรียนฝึกซ้อมและประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

21 เมษายน 2550

ประกาศผลทีมที่ผ่าน Conceptual design ของหุ่นยนต์เล่นละคร

11 เมษายน 2551

วันสุดท้ายการของการส่ง Conceptual design การแข่งขันประเภทที่ 2 หุ่นยนต์เล่นละคร

7 เมษายน 51

ประกาศรายชื่อทีมที่เข้าผ่านการทดสอบเข้าแข่งขัน หุ่นยนต์ ส...ยุวชน กรังด์ปรีซ์

ประเภทที่ 1 ROBO Basketball และ ประเภทที่ 2 ROBO Delivery  ทาง www.tpa.or.th

2 – 3 เม.ย. 51

อบรมการสร้างหุ่นยนต์และทดสอบนักเรียนรอบที่ 3

31 มี.ค.-1 เม.ย. 51

อบรมการสร้างหุ่นยนต์และทดสอบนักเรียนรอบที่ 2

26 - 27 มี.ค 51

อบรมการสร้างหุ่นยนต์และทดสอบนักเรียนรอบที่ 1

14 มี.ค. 51

ประกาศรายชื่อทีมที่เข้าอบรมทั้ง 3 รอบ ทาง www.tpa.or.th

29 กุมภาพันธ์ 51

ปิดรับสมัครของผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ ส... ยุวชน กรังด์ปรีซ์ 2551  ครั้งที่ 8

 

10. สื่อประชาสัมพันธ์ระหว่างทีมกับสมาคม ฯ และทีมอื่น ๆ

... ได้จัดตั้ง เวบไซด์สำหรับเปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียน ที่จะเผยแพร่ข้อมูลหรือประชาสัมพันธ์ชื่อทีม รูปภาพสมาชิกทีม หรือกิจกรรมแต่ละช่วงของทีม สามารถส่งข้อมูลและภาพต่าง ๆ ได้ที่ คุณประจักษ์ เฉิดโฉม e-mail: prajak@tpa.or.th   หรือสอบถามเพิ่มเติมที่  คุณเอกวีร์  เกตุจันทรา  โทร. 02-7173000 ต่อ 523 e-mail: eakawee@tpa.or.th

 

ที่พัก

... ได้ติดต่อที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ต้องเดินทางมาพักในกรุงเทพในราคาพิเศษ  ไว้คือ

1) บ้านสิริ รีสอร์ท   โทร. 02-722-6602-10 ติดต่อคุณชาญชัย  ราคา 990 บาท ต่อ คืน

2) กิตติพล  โฮมพาร์ค อพาร์ทเมนท์   โทร. 02-719-9260 -7  ราคา 500 บาท ต่อคืน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที