ศุภกร

ผู้เขียน : ศุภกร

อัพเดท: 22 ม.ค. 2008 11.02 น. บทความนี้มีผู้ชม: 185460 ครั้ง

การแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่แค่คิดจะทำ แต่ต้องลงมือทำจริง
ปัจจุบันคนไทยที่ตื่นตัวเรื่องนี้ยังมีอยู่น้อย ร่วมกันเผยแพร่ความรู้เรื่องภาวะโลกร้อนให้แก่คนที่ท่านรู้จักให้มากเท่ามากที่สุด


ภาวะโลกร้อน : ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน : ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
รายงานผลกระทบจากภาวะโลกร้อนฉบับใหม่เตือนชาวโลก “เวลาใกล้จะหมดแล้ว”


19050_001-01.jpg

ระดับน้ำในลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมาลดต่ำลงอย่างมากในหน้าแล้ง ทำให้ชาวบ้านมีแหล่งอาหารลดน้อยลง ซึ่งคาดว่าความแห้งแล้งจะทวีความรุนแรงไปเรื่อยๆ เนื่องจากผลของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง



กรุงบรัสเซลส์, Belgium — หลังการเจรจานานเกือบสัปดาห์ ประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างตึงเครียดยาวนานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง จนถูกกำหนดเพิ่มเป็นนโยบายของรัฐ ก็ได้ข้อสรุปออกมาเป็นรายงานฉบับใหม่ในที่สุด รายงานว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกชุดนี้มีด้วยกัน 4ฉบับ ซึ่งจะทยอยเผยแพร่ตลอดปี 2007 (พ.ศ.2550) ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ว่าด้วยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อระบบนิเวศวิทยาและกิจกรรมของมนุษย์ รวมทั้งประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขี้นในช่วงศตวรรษหน้า อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

“มหันตภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตเริ่มปรากฏให้เห็นรางๆ แล้ว ถ้าเราไม่รีบลงมือทำโดยด่วน โลกเราจะต้องแปรสภาพด้วยน้ำมือมนุษย์ที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง” สเตฟานี ตันมอร์  เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซสากล กล่าว  “สิ่งที่รายงานฉบับนี้บอก คือ พวกเราไม่มีเวลาเหลือแล้วจริงๆ”

 

เนื้อหาบางส่วนของรายงานฉบับนี้บ่งชี้ว่า

 มีความเป็นไปได้ที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะส่งผลให้พันธุ์พืชและสัตว์จำนวนมากต้องสูญพันธุ์ภายใน 60-70 ปี ที่ผ่านมาเรามีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าสภาพภูมิอากาศมีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตกบบางสายพันธุ์ แต่นี่เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นตามยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น  ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นวันข้างหน้ามันมากมายมหาศาลกว่าเมื่อครั้งเกิดการสูญพันธุ์ 5 เหตุการณ์หลักในอดีตกาล

ในทศวรรษหน้า ประชากรโลกที่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากหลักสิบล้านเป็นหลายพันล้าน โดยเฉพาะในอินเดีย บางส่วนของเอเชียใต้ และอาฟริกา  ขณะที่ประเทศที่ยากจนที่สุดเหล่านี้กำลังตกอยู่ในภาวะทุกข์เข็ญ บรรดาประเทศร่ำรวย เช่น ออสเตรเลีย และหลายประเทศในยุโรปทางตอนใต้ก็กำลังรอเผชิญกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน

 

ความสามารถในการผลิตอาหารในพื้นที่ที่ยากจนที่สุดของโลกจะลดลง ทำให้ภาวะความอดอยากหิวโหยรุนแรงขึ้นและเป็นการขัดขวางการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาต่างๆ ในรอบพันปี  นอกจากนั้นภายในช่วง 2-3 ทศวรรษนี้ ภาวะโลกร้อนยังจะส่งผลให้การเพาะปลูกข้าวสาลี  ข้าวโพด และข้าวเจ้าในอินเดียและจีนได้ผลผลิตน้อยลง

 

ช่วงทศวรรษหน้า อาฟริกาจะประสบกับภัยแล้งและภาวะขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาความอดอยาก และการพลัดที่อยู่ของประชากรเพิ่มขึ้น

 

การละลายของธารน้ำแข็งในทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา และยุโรปจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในการจัดการทรัพยากรน้ำสำหรับประชากรโลกจำนวนมาก และส่งผลต่อการเกิดอุทกภัยที่เพิ่มขึ้นจนนับครั้งไม่ถ้วน จากการที่ระดับน้ำในทะเลสาปธารน้ำแข็งไหลทะลักออกมา รวมถึงภัยพิบัติอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ธารน้ำแข็ง

 

ประชากรจำนวนมากจะประสบกับภัยพิบัติอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น  พายุ คลื่นยักษ์ และอุทกภัยจากแม่น้ำในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายหลักในเอเชีย เช่นแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร ในบังคลาเทศ และจูเจียง (แม่น้ำไข่มุก) ในประเทศจีน

 

อุณหภูมิที่สูงขึ้นเกิน 1 องศาเซลเซียส มีผลทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นหลายเมตรภายในช่วงเวลาหลายร้อยปี  ทั้งนี้เกิดจากการละลายของธารน้ำแข็งกรีนแลนด์และธารน้ำแข็งเวสต์ แอนตาร์กติกเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดช่วงหลายทศรรษหน้ายังจะส่งผลให้แนวชายฝั่งมหาสมุทรเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมอย่างมหาศาล

 

นักการเมืองจัดการกับภัยคุกคามนี้อย่างไร

 หลังการเจรจานานเกือบ 22 ชั่วโมงในค่ำคืนหนึ่งของการประชุม  ซาอุดิอาระเบีย จีน และรัสเซียได้ทำลายแผนภาพสำคัญในรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี ในด้านผลกระทบ โดยถอดเอากราฟแสดงผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลออกจากตารางสรุปประเด็นสำคัญ  นักวิทยาศาสตร์อาวุโสด้านภูมิอากาศคนหนึ่งได้ออกแถลงการณ์ความรู้สึกต่อที่ประชุมเรียกการกระทำครั้งนี้ว่าเป็น “การแสดงออกของความป่าเถื่อนทางวิทยาศาสตร์”  เมื่อขาดกราฟ ตารางแสดงถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจึงขาดข้อมูลแวดล้อมที่จะชี้ให้เห็นว่า ผลกระทบต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อไร

 

ความก้าวหน้าจากการค้นพบอีกชิ้นหนึ่งระบุว่า ประเทศจีน และซาอุดิอาระเบียเป็นพื้นที่สำคัญที่ซึ่งระบบทางธรรมชาติจะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ตามหลักฐานจากกการสังเกตจากทั่วทุกทวีป และเกือบทุกมหาสมุทร มีความมั่นใจในระดับสูง (มาก) ว่าระบบทางธรรมชาติมากมายกำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุณหภูมิผิวโลกที่สูงขึ้น

 

ประเทศจีน และซาอุดิอาระเบีย ยืนกรานที่จะให้ตัดคำว่า “มาก” ออก ทั้งๆ ที่ความมั่นใจในหลักฐานที่ค้นพบอยู่ระดับมากกว่าร้อยละ 99.9  บรรดานักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เขียนรายงานของไอพีซีซีนำข้อสรุปที่อ่อนแรงนี้ไปใช้ในเป้าหมายสำคัญทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

 

เราเชื่อว่า นี่เป็นแบบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของไอพีซีซี  นับตั้งแต่ปี 1998 (..2541)มันเป็นความก้าวหน้าที่อันตรายและอัปลักษณ์ที่สุด  เท่าที่เรารับรู้มา ไม่เคยมีการกระทำเช่นนี้ในประวัติศาสตร์ของไอพีซีซี

 

ยังไม่สายเกินไป

กรีนพีซเรียกร้องให้มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกให้อยู่ในระดับสูงสุดได้แค่ปี 2020 (..2563) และหลังจากนั้นให้ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว โดยต้องลดลงทั่วโลกอย่างน้อยร้อยละ 50 นับจากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 1990 (..2533) จนถึงปี 2050 (..2663) และกำจัดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้หมดไปก่อนสิ้นศตวรรษที่ 21

 

“เรายังมีทางเลือก” ตันมอร์กล่าว “ยังพอจะมีเวลาสำหรับการปฏิวัติพลังงานที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าระบบพลังงานของเราได้อย่างน่าสนใจ และสร้างเศรษฐกิจปลอดคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับที่รักษาอุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส รวมทั้งหลีกเลี่ยงผลกระทบที่นำไปสู่ความหายนะทั้งมวล”

 

“ทางเลือกหนึ่งที่ปิดประตูตายสำหรับพวกเราแน่นอนหลังจากรายงานฉบับนี้ออกมา คือ นั่งนิ่งเฉยทำเป็นทองไม่รู้ร้อน”

ขอขอบคุณ http://www.greenpeace.org/ สำหรับบทความ ผลกระทบภาวะโลกร้อน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที