editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 23 เม.ย. 2010 08.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 70170 ครั้ง

บทสัมภาษณ์บุคคลพิเศษ
โดยทีมงาน tpa.or.th


ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

Executive Interview

บทสัมภาษณ์

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
รถยนต์ที่ใช้:
Toyota Corola, Toyota Camry, Honda Accord
อาหารที่ชอบ:
อาหารไทย, จีน
รายการโทรทัศน์ที่ดูประจำ:
ข่าว, สารคดี
หนังสือที่ชอบอ่าน:
การบริหารจัดการ, แมกกาซีน
ภาพยนตร์ที่ชอบดู:
หนังชีวิต, หนังประวัติศาสตร์
อุปกรณ์ IT ที่ซื้อล่าสุด:
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
เว็บไซต์ที่เข้าเป็นประจำ:
Google
หัวข้อ:

ทีมงาน : สำหรับปี 2008 โครงการหรือกิจกรรมของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มีกิจกรรมที่อะไรที่เป็นโครงการสำคัญของปีนี้และก็ 3 ปีข้างหน้าครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : โดยภารกิจหลักของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เราจะมีแบ่งภารกิจได้เป็น 2 กรณี ส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งก็คือในฐานะของสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาตินี้จะมีรองนายกรัฐมนตรีซึ่งปัจจุบันก็คือ รองนายกโฆษิต เป็นประธานกรรมการนะครับ และก็มีรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ และก็รัฐมนตรีอีกหลาย ๆ กระทรวง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ในกรรมการชุดนี้

บทบาทของคณะกรรมการนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ก็คือเป็นกรรมการที่จัดทำแผนกลยุทธแห่งชาติในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทั้งในด้านการวิจัย ทางด้านทรัพยากรบุคคล ทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างความตระหนักต่าง ๆเป็นต้น ซึ่งแน่นอนครับสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในภาครัฐและภาคเอกชน เพียงแต่ว่าในปัจจุบันในช่วงที่ผ่านมาได้มี พรบ. ฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพระราชบัญญัติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งได้ผ่าน คมช. เมื่อสัก 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว สิ่งต่าง ๆ พระราชบัญญัติอันนี้ คือเราจะเอาคณะกรรมการนโยบายนาโนเทคโนโลยี หรือนโยบาย ICT หรือนโยบายทางเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือทางวัสดุแห่งชาติ เป็นต้น มาจับรวมกันอยู่ในคณะกรรมการชุดเดียวกัน เราจะเรียกว่าเป็นคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ในกรณีเข้าใจว่าคงเริ่มจากรัฐบาลใหม่ที่กำลังจัดตั้งอยู่ ศูนย์นาโนฯ ก็จะเป็นสำนักเลขานุการของคณะอนุกรรมการ ของนาโนเทคโนโลยี เป็นกรรมการชุดใหญ่ อันนี้ก็เป็นภารกิจหลัก

ส่วนอีกแง่หนึ่งของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติก็คือ เราก็ต้องมีการทำการวิจัยของเราเอง สร้างศักยภาพการทำวิจัยพัฒนาเรามีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จะมีแลบวิเคราะห์ทดสอบแก่ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะทางด้านที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี และเราก็มีการสร้างบุคลากรนักวิจัย การสร้างความตระหนักต่าง ๆ ให้แก่ทางสาธารณะชน ภาครัฐ หน่วยงานอื่น ๆ มีการจัดอบรมสัมมนาเป็นต้น อันนี้เป็นกลุ่มงานหลักใหญ่ ๆ ของศูนย์ ที่แน่นอนเราก็มีการจัดทำแผนกลยุทธนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เสร็จแล้วก็เสนอผ่าน ครม. ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อันที่เป็นแผนแต่เดิมก็เป็นแผน 10 แต่ว่าขั้นตอนในการเข้า ครม. อะไรก็ต้องมีการเปลี่ยนรัฐบาล มีการยุบสภา เท่าที่ผ่านมาเป็นต้นนะครับ มันก็เลยทำให้ล่าช้า แผนเราจะเหลือแผน 8 ปี ซึ่งผ่าน ครม. เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแต่ในปีที่แล้วนะครับ ปี 2550


ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เทคโนโลยีการทำแบบเดิม นาโนเทคโนโลยีจะมีข้อแตกต่างและข้อดีอย่างไร

ศ.ดร. วิวัฒน์ : คือสำหรับคนทั่วไปนะครับ ก็จะเริ่มอธิบายตรงกันก่อนว่านาโนเทคโนโลยีหมายถึงอะไร จริงคำว่านาโนเทคโนโลยีมีรากศัพท์ มาจากคำว่านาโน ตัวอย่างหน่วยวัดเป็นเมตร ถ้าเราบอกว่านาโนเมตร เทียบกับไม้บรรทัด ไม้บรรทัดหนึ่งอันจะมี 30 เซนติเมตร จะแบ่งเป็น 10 ช่องก็คือ 1 มิลลิเมตร 1 มิลเมตร ก็จะเป็นเศษ 1 ส่วน 1000 เมตร เราก็เอาเศษ 1 ส่วน 1000 เมตร อันนี้ที่เป็น 1 ช่องเล็ก ๆ บนไม้บรรทัด มาแบ่งเป็น 1000 ส่วนอีกทีหนึ่ง เราจะได้หน่วย 1 ไมโครเมตร 1 ไมโครเมตรคือเศษ 1 ส่วนล้านเมตร ทีนี้ 1 ไมโครเมตรยังไม่เล็กพอเราจึงเอา 1 ไมโครเมตร เราก็เอา 1 ไมโครเมตรมาแบ่งเป็นเศษ 1 ส่วน 1000 อีกที ก็คือเศษ 1 ส่วน 1000 ล้านของเมตร ก็จะเป็นหน่วยของนาโนเมตร ทีนี้เราถามว่า 1 นาโนเมตรมันโตขนาดไหน มันก็คือประมาณว่าถ้าเราสามารถจับอะตอมของไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เล็กสุดที่เรามีอยู่ เอา 10 อะตอมของไฮโดรเจนมาวางเลียงแถวกันเป็นเส้นตรง เราก็จะได้ความยาวของ 1 นาโนเมตร หรือถ้าเราบอกว่าย่อส่วนจาก 1 เมตรให้เหลือ 1 นาโนเมตรก็คิดถึงโลกเรา ถ้าเราย่อส่วนโลกที่เราอยู่ตอนนี้ออกมาหรือเมตรเล็ก ๆ เหมือนลูกแก้วเล็ก ๆ อันนี้จะเป็นการย่อส่วนเศษ 1 ส่วน 1000 ล้านส่วน มันจะเล็กลงเหลือนิดเดียว

ทีนี้เมื่อเราสนใจวัสดุโครงสร้างหรือระดับนาโน, ระดับอะตอมหรือโมเลกุลเหล่านี้ แล้วเราสามารถควบคุมโครงสร้างมัน เราก็จะได้วัสดุที่มีคุณสมบัติแปลกใหม่ ที่ไม่มีในวัสดุทั่วไปที่เราจะพบเห็นกันได้ แปลกใหม่ยังไงยกตัวอย่างเช่น ถ้าทองคำที่เป็นสีทองเหลืองอร่ามถ้าเราเอาทองมาแบ่งให้เล็กลงเรื่อย ๆ จนถึงขนาด 10-20 นาโนเมตร ทองคำของเราก็จะเป็นสีแดง หรือว่าจุดหลอมเหลวของทองคำก็จะเป็นของเหลวได้ง่ายขึ้น ต่ำลงจากเดิมเป็นหลายร้อยองศาหรือ จะมีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างแปลกใหม่เกิดขึ้น ทีนี้การที่เราสามารถควบคุมในระดับอะตอม หรือว่ามาจัดโครงสร้างในระดับแบบนี้เราก็จะได้คุณสมบัติที่เราเอามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ถามว่านาโนเทคโนโลยีเป็นเรื่องใหม่ไหม จริง ๆ แล้วมันไม่ได้ใหม่มากมาย เรามีวิชาเคมี พวกธาตุพวกอะตอมต่างๆ การที่เราเอาอะตอมของโซเดียม มาบวก อะตอมของคลอรีน เราก็จะได้โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) หรือเกลือแกงที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ก็เป็นปฏิบัติการนิยามได้ว่าในระดับนาโน แต่ว่าในอดีตเราไม่เรียกนาโนเมตรเนื่องจากถ้าเราไม่สามารถควบคุมโครงสร้าง ไม่สามารถรักษาผลึกให้มันมีขนาดนาโนแล้วมาใช้ประโยชน์ได้ มันก็เป็นวิชาทั่ว ๆ ไปที่เราเรียนทั่วไป ไม่ว่าทางเคมี ฟิสิกส์ หรือทางเทคโนโลยีชีวิภาพ ชีววิทยา เป็นต้น

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : อาจารย์ยกตัวอย่างเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ที่ใช้นาโนเทคโนโลยีกับผลิตภัณฑ์แบบเดิมสัก 1 ผลิตภัณฑ์ครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างครีมกันแดด ฝรั่งเขาชอบไปตากแดดแต่ว่าเพื่อไม่ใช้ผิวถูกทำลายด้วยรังสี UV เขาจะต้องทาครีมกันแดดครีม ซึ่งจะมีสารป้องกัน ยกตัวอย่าง ไทเทเนียมไดออกไซด์หรือ ซิงค์ออกไซด์ แต่ว่าในอดีตสิ่งเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่กว่านาโนเทคโนโลยีหรือว่าเป็นระดับไมโคร อนุภาพของเหล่านี้มีขนาดใหญ่ซึ่งแสงจะวิ่งลอดผ่านได้ลำบากเกิดการสะท้อนแสงออกมาแล้วเราจะเห็นเป็นอนุภาคสีขาว แต่ก่อนคนทาครีมกันแดด ก็จะทาหมดใบหน้าจนเปียกและขาวมากแล้วดูไม่ดีแต่ปัจจุบันพอเราเปลียนอนุภาคมาเป็นขนาดนาโนเราจะพบว่าความยามคลื่นของแสง แสงที่เรามองเห็นอยู่ทั่วไป มันเป็นแสงสีน้ำเงินเข็มจนถึงแสงออกไปสีแดง ช่วงแสงที่เรามองเห็นได้จะมีขนาดความยามคลื่น 0.4-0.8 ไมโครเมตรหรือว่าประมาณ 400 - 800 นาโนเมตร แต่เปลี่ยนให้เหลือแค่ 50 นาโนเมตร มันก็จะเล็กกว่าความยาวคลื่นและคลื่นก็จะวิ่งผ่านไปได้ โดยการผสมอนุภาคเหล่านี้เข้าไปในครีมกันแดด มันก็จะเป็นครีมที่ดูใสๆ ใส่เหมือนของเหลวทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีพื้นที่ผิวมากพอและก็ยังสามารถดูดกลืนรังสี UV ต่างๆ ได้ก็ป้องกัน UV ให้เราขณะเดียวกันก็ดูไม่น่าเกลียดเหมือนกับในอดีตที่มีขนาดใหญ่ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : ในอุตสาหกรรม หัวใจ หรือ Key Success Factor ที่จะนำเรื่องนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประสบความสำเร็จควรจะเริ่มต้นจากจุดไหนก่อนครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : คือนาโนเทคโนโลยีเนื่องจากมันครอบคลุมกว้างมากตั้งแต่งานวัสดุศาสตร์หรือเราเรียกว่าวัสดุนาโน ทางการตัดต่อพันธุกรรมตัดต่อยีนส์ หรือว่าการเล่นกับ DNA ต่าง ๆ หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ต่างๆ โดยใช้ตัวโครงร่างในการยึดโครงสร้าง ปัจจุบันก็จะดูกันในระดับนาโมเมตร หรือเครื่องอิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่ก่อนเราจะมีชุดคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าเป็นไมโครชิปส์ เนื่องจากเส้นห่างของวงจรระดับหลายไมโคร หรือว่าระดับหลายสิบไมโครเมตรปัจจุบันพวกนี้ก็จะลงมาระดับนาโนเป็นต้นนั้น ก็การประยุกต์ได้แทบทุกอย่าง ได้ทุกภาคอุตสาหกรรม เพียงแต่ว่ามุมมองของประเทศไทยจริง ๆ แม้เรามีอุตสาหกรรม Hard disk drive ก็ตาม แต่เราก็ยังไม่มีอุตสหกรรมที่ติดไมโครชิปส์ หรือว่าชิปส์ที่เรานำมาคำนวณในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพราะว่าโรงงานพวกนี้ลงทุนทีหนึ่งเป็นหมื่นล้าน ยิ่งเป็นโรงงานระดับไมโครเซล การสร้างโรงงานหนึ่งโรงยิ่งต้องการการลงทุนมากมาย เทคโนโลยีก็ลำบาก เราไปไม่ถึงในจุดตรงนั้น นาโนเทคโนโลยีในบ้านเราก็จะเหลือ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่เกี่ยวกับวัสดุต่าง ๆ อย่างเช่น ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เป็นนาโนมาใช้ประโยชน์หรือเอาซิงค์ออกไซด์มาใช้ประโยชน์ขนาดนาโนหรือเราสร้างในเครื่องสำอางต่าง ๆ อนุภาพที่นำส่งสมุนไพรมาที่ผิวหนังได้อย่างดีปรับได้ดีในนาโนเป็นต้น ก็ในส่วนที่เราสามารถเข้าไปลงทุนได้โดยลงทุนก็ไม่มากขอให้มีแนวความคิดดี ๆ มีวิธีการที่เหมาะสม

อีกส่วนหนึ่งก็คือเทคโนโลยีทางชีวภาพต่าง ๆ ที่เราสามารถพัฒนาพวกสารตรวจจับของระบบชีวภาพอย่างเช่น พวกสารแอนตี้บอดี้ เป็นต้น เอามาติดกับอนุภาพนาโนเพื่อมาตรวจจับเชื่อโรค ต่าง ๆ และก็สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นส่วนที่เราสามารถประยุกต์พวกนาโนเทคโนโลยีได้

ทีมงาน : เพราะฉะนั้นการนำหัวใจเทคโนโลยีมาใช้น่าจะเป็นในเรื่องของแนวคิด ในการประยุกต์นาโนเทคโนโลยีในเชิงวัสดุศาสตร์หรือในเชิงเทคโนโลยีชีวภาพ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ครับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเหมาะกับบ้านเรา มันไม่ต้องการลงทุนมาก จุดนี้ Dr. Richard E. Smalley ที่ได้รับรางวัลโนเบลทางด้านสังเคราะห์ วัสดุที่ใช้เป็น Buckyball ซึ่ง Dr. Richard ก็เป็นคนพูดเองว่านาโนเทคโนโลยีในแง่วัสดุขอให้เรามีแลบเคมีง่าย ๆ ทีเราเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือระดับมัธยมปลายอะไรอย่างนี้แต่ขอให้เรามีไอเดียดี ๆ เราสามารถสร้างสารนาโนใหม่ ๆได้โดยไม่ลำบาก แต่ในที่จริงแล้วปัญหาที่ทุกคนจะเจอคือใครจะเชื่อเราหรือไม่อย่างไรว่าสารอันนี้มันเป็นนาโนจริงมีขนาดเท่าไหร่อะไรอย่าง

ทีมงาน : อันนี้ต้องพึ่งทางศูนย์นาโนมัยครับในการ Certified หรือเป็นการให้ไอเดียครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : คือเครื่องมือที่เราจะมองเห็นภาพในระดับนาโนหรือพื้นที่ผิวหรือการดูการกระจายขนาดรูปภาพว่าเป็นนาโมจริงหรือไม่ เครื่องมือพวกนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงตัวหนึ่งก็หลายล้านบาท เพราะฉะนั้นศูนย์เราก็เลยมีบริการว่า ถ้าอุตสาหกรรมไทยพัฒนาสารที่เชื่อว่ามันดีจริงมีนาโนถึงฆ่าเชื่อโรคได้หรืออะไรต่าง ๆ เราก็จะช่วยวิเคราะห์คุณสมบัติให้ด้วยว่า ขณะนั้นค่าเฉลี่ยเป็นอย่างไร แล้วก็มันฆ่าเชื่อโรคจุลินทรีย์ได้จริงหรือไม่มากน้อยเท่าไหร่ หรือมันมีคุณสมบัติอย่างไรในพื้นที่ผิวหรือฟิล์มมันไม่เป็นฟิล์มของนาโนทำให้เสื้อผ้าเรากันสกปรกได้หรือกันน้ำได้ เหมือนกันใบบัว ใบบอน เป็นต้น แล้วก็สามารถวัดคุณสมบัติมุมเวลาสัมผัสที่เป็นคอนแทคแองเกิลของหยดน้ำบนผิว เป็นต้นนะครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : ในมุมมองของอาจารย์นะครับพูดถึงงานนาโนเทคโนโลยี มูลค่าทางเศรษฐกิจในไทย 2008 ถ้าเกิดนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้แล้วจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยอย่างไร

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ตามที่เรียนให้ทราบว่าการคิดมูลค่าเราอาจจะพูดลำบาก สมมติเรามีอุตสาหกรรม Hard disk drive อยู่ปีหนึ่งเราส่งออกหลายแสนล้าน ตอนนี้ตัว Hard disk ต่าง ๆ เพิ่ม memory ให้มันเก็บได้เป็น GB เป็นต่อความยาว 1 นิ้ว อย่างนี้เป็นต้นนะครับ ที่นี้ถ้าเราถามว่ามูลค่านี้เท่าไร่มันอาจจะต้องเปรียบเทียบว่ามูลค่าส่วนเพิ่มเป็นเท่าไหร่ แทนที่มูลค่าเดิมนั้น เช่น สมมติมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 4 แสน 5 แสน ล้านในอนาคตเรานำนาโนเทคโนโลยีมาใช้แล้วมันเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่ แต่การเพิ่มมันต้องมี 2 ส่วนคือว่าปริมาณที่เราส่งออกเพิ่มขึ้น กับราคาต่อหน่วยมันเพิ่มขึ้น การจำแนกสิ่งเหล่านี้มันก็ไม่ง่ายนัก ในทำนองเดียวกันตลาดทั่วไป อย่างเช่น เสื้อ เดิมเราขายตัวละ 150 บาท พอเราเคลือบเป็นนาโนเราขายเป็นตัวละ 250 หรือ 300 มูลค่าส่วนเพิ่มเหล่านี้มันจะเป็นเท่าไหร่ดูแล้วประเมินยาก อย่างไรก็ตาม ในตลาดต่างประเทศก็มีการประเมินว่าภายในอีกปี 2015 หรือจาก 7 ปีนี้ต่อไปมูลค่าของสินค้านาโนในระดับสากลก็จะมีมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐ 1ล้านของล้านก็คือ ถ้าเราคิดเป็นเงินบาทก็เอา 30 คูณ ตอนเงินดอลล่าตกเหลือ 30 บาท มันก็คือ 30 ล้านล้านบาท

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : อาจารย์ครับ อยากให้อาจารย์ บอกประวัติ คร่าวๆ ของอาจารย์ครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : คืออยากให้เห็นภาพชัดก็จะเริ่มตั้งแต่ก่อนนั้นนิดหนึ่งนะครับ ก็คือว่าหลายคนมองว่า นักวิทยาศาสตร์เป็นยังไงต้องเก่งขนาดไหนถึงมาอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ จริงแล้วสมัยผมเรียนประถมเรียนอะไรก็ไม่เรียนเก่งนะครับ เคยได้สูงสุดก็ได้เป็นที่ 2 ของห้องเรียนซึ่งเป็นครั้งเดียวส่วนใหญ่ก็อยู่ประมาณที่ 7 ที่ 8 แถวนั้นนะครับ ตอนเรียนมัธยมต้น ก็จะเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา โรงเรียนอยู่ติดกับอัสสัมชัญบางรัก ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่มีแต่ผู้หญิงอย่างเดียวนะครับ พอจบ ป.4 ตอนนั้นทางโรงเรียนก็ไม่ให้อยู่ต่อเนื่องจากที่นั้นเป็นโรงเรียนผู้หญิง พอขึ้น ป.5 เลยต้องย้าย สมัยยุคที่ผมเรียนนั้นก็คือเขาจะบังคับให้เรียนถึง ป.4 แล้วก็มี ม.1 - ม.8 ผมก็พยายามไปสอบเข้าอัสสัมชัญบางรักก็สอบไม่ติดนะครับ คือไม่ได้ไปเรียนพิเศษ ไม่ได้เป็นเด็กที่เรียนเก่งอะไร ก็เลยไปเรียนโรงเรียนเอกชนมีชื่อว่าโรงเรียนกรุงเทพวิทยา(ซึ่งตอนนี้ก็ปิดไปแล้ว)อยู่แถวนเรศ เรียนถึง ม. 6

ช่วงนั้นทางบ้านก็คือทางคุณพ่ออยากให้มาฝึกทำงานเลย ไม่ต้องเรียนสูงๆ แล้วเราไปทำธุรกิจ ทำงานไปเลย จะดีกว่า แต่ว่าคุณแม่ก็ยังเห็นว่าอยากจะให้เรียนต่อสูง ๆ ตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่หย่ากัน เดิมอยู่กับคุณพ่อซึ่งเป็นคนรับผิดชอบค่าเล่าเรียน ทางคุณแม่ก็อยากให้เรียนต่อก็ย้ายไปอยู่กับคุณแม่ รายได้ก็มีนิดเดียว ก็เลยพยายามหาที่เรียนต่อที่ไม่ต้องเสียแปะเจี๊ย เพราะโรงเรียนที่ผมเรียนอยู่นั้นมีแค่ ม.6 ยังไงอยู่ต่อไม่ได้ ก็ต้องหาที่เรียน ช่วงนั้นก็เลยตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียว โชคดีก็สามารถสอบเข้าเตรียมอุดมได้ โดยที่ไม่ได้คาดก็ได้ห้องคิงด้วยนะครับนั้นก็เลยกลายเป็นจุดพลิกผัน เนื่องจากเรามีความจำเป็นว่าถ้าเราไม่เรียน เราก็ต้องไปทำงาน ทีนี้ตัวผมเองก็ไม่อยากทำงาน คิดว่าตอนนี้ยังเด็กอยู่อนาคตข้างหน้าก็น่าจะเรียนสูงหน่อย เพราะนั้นพอจบเตรียมเดิมก็ว่าจะเรียนหมอ ทางบ้านก็อยากให้เรียน แต่ว่าตอนนั้นถ้าเข้ามหาวิทยาลัยในสาขาที่คาดแคลนไม่ว่าเรียนหมอ เรียนวิศวะ จะต้องจ่ายค่าเรียนเพิ่ม ถ้าเราไม่จ่ายค่าเล่าเรียนเพิ่มพอจบแล้วก็ต้องไปทำงานให้ราชการ ระหว่างที่ตัดสินใจก็มีเพื่อนในห้องมาชวนบอก มีทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปลองสอบไหม เด็กห้องคิงส่วนใหญ่เด็กเรียนเก่งกันทั้งนั้น อยากจะไป Challenge นะครับลองสอบดู ผมเองก็ไม่ได้แทบเตรียมตัวอะไร รู้ล่วงหน้าสักอาทิตย์หนึ่ง สมัครสอบไม่กี่สิบบาทก็ลองสอบทุนรัฐบาลญี่ปุ่นดู ในยุคนั้นคนก็ไม่ค่อยมีคนรู้จักทุนรัฐบาลญี่ปุ่น รู้จักแต่ทุนโคลอมโบ ซึ่งไปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สมัยนั้นจะสอบทุนโคลอมโบก็ต้องไปเรียนภาษาอังกฤษ ตอนผมเรียนมัธยมผมก็คิดว่าจะไปเมืองนอกได้เข้าชิงทุนโคลอมโบ ก็ไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษไว้ก่อนเพื่อเป็นพื้นฐาน

แต่พอดีไปสอบทุนรัฐบาลญี่ปุ่นจะโดยฟลุคหรือโดยอะไรก็แล้วแต่ ทุนเขาต้องการ 10 คน ผมติดอันดับ 13 ก็คือสำรองอันดับ 3 ปรากฎว่ามีคนสละสิทธิ์ไป 3 คนพอดี ผมก็เลยได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ทีนี้ถ้าเราจะรอดูว่าเอ็นท์ฯ ติดเมืองไทยไหม หรือว่าจะติดทุนโคลอมโบไหม คือทุนรัฐบาลญี่ปุ่นบังคับให้เราไปญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นเมษา ถ้าเรารอทุนอื่นหรือเรารอสอบเอ็นทรานซ์ เราต้องสละสิทธิ์ทุนนี้ ก็เลยคิดว่าไปญี่ปุ่นก็ดี เพราะถึงแม้เขาแพ้สงครามก็ตามแต่ว่าเขาพื้นฟูเศรษฐกิจได้ ก็น่าสนใจ และก็คิดว่า ถ้าเราเทียบไปเรียนเมืองนอกซึ่งศาสนาก็ต่างกัน วัฒนธรรมก็ต่างกัน มุมมองก็ต่างกัน สิ่งที่เราเรียนก็ไม่แน่ใจว่าจะใช้กับสังคมไทยได้ดีมากน้อยขนาดไหน แต่เราก็มองว่าญี่ปุ่นก็เป็นสังคมของเอเชียด้วยกัน ศาสนาพุทธ คล้ายๆ กัน ตอนนั้นก็เลยตัดสินใจว่าไปทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ก็เลยไปเรียนปริญาตรีที่ญี่ปุ่น ไปเรียนวิศวะเคมี ไฟฟ้า ทีนี้เนื่องจากเราไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลย รู้ศัพท์แค่ 3 คำ อาริงาโต ซาโยนาระ ประมาณนี้ 2 คำ เขาเลยให้ไปเรียนภาษาและก็เรียนวิชาพื้นฐานเพิ่มเติมอีกปีหนึ่ง แล้วยุคนั้นนักเรียนต่างชาติก็อยู่ร่วมกัน อย่างสายวิทยาศาสตร์ก็ไปอยู่ร่วมกันที่หอพักชิบะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยชิบะ หนึ่งปีหลังจากนั้นค่อยไปเลือกว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยอะไรที่ไหน ตอนนั้นเอง ตอนเลือกมหาวิทยาลัยก็มันก็มีจุดพลิกผันอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าคุณไปญี่ปุ่น เหมือนกับถามคนเมืองไทยว่าอันไหนที่ใครอยากจะเข้าบ้าง คนไทยก็จะบอกจุฬาฯ หรือลำดับสองก็ธรรมศาสตร์ อะไรทำนองนี้ ในญี่ปุ่นเองก็เหมือนกัน ถามคนญี่ปุ่นก็บอกต้องไปมหาวิทยาลัยโตเกียว อันดับที่สองต้องไปเกียวโตอันนี้ก็เป็นปกติ

ทีนี้ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ว่านักศึกษาทั่วโลกมีการประท้วงมีการขอปรับปรุงระบบการศึกษา ก็ปรากฎว่าทั้งมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเกียวโต ก็มีการประท้วงหยุดเรียน ไม่ให้อาจารย์เข้ามาสอน ละไม่ให้เด็กเข้ามาเรียน มหาวิทยาลัยโตเกียวนี่ประท้วงทั้งปี อาจารย์ทางมหาลัยก็ตัดสินว่า เด็กไม่ได้เรียนหนังสือมา 1 ปี ทุกคนต้องสอบตก ฉะนั้นเมื่อตัดสินว่าทุกคนสอบตกก็ไม่มีการรับคนใหม่เข้ามา เพราะที่นั่งมันเต็ม ทุกคนยังได้เรียนชั้นเดิมอยู่ เป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว และก็ผมเชื่อว่าน่าจะในประวัติศาตร์มหาวิทลัยทั่วโลกด้วยที่ว่าเด็กตกชั้นทั้งปี และก็ไม่มีการรับเด็กใหม่ แต่ว่ามหาวิทยาลัยเกียวโตตอนนั้นแม้มีการประท้วงกันแต่ว่าก็ไม่ได้รุนแรงขนาดโตเกียว และก็ยังมีการรับนักศึกษาเหมือนเดิม ผมก็สองจิตสองใจว่า โตเกียวมันก็ดังกว่าแต่ก็อยู่ในเมืองใหญ่ซึ่งผมก็ไม่ค่อยชอบนะครับ ขึ้นรถไฟก็อัดเป็นปลากระป๋อง เมืองก็พลุกพล่านนะครับผมก็ไม่ค่อยชอบส่วนเกียวโตเป็นเมืองเล็ก ๆ ของญี่ปุ่นประชากรก็ประมาณ 2 ล้าน บรรยากาศก็เป็นอีกแบบหนึ่งไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรรมเป็นเมืองวัฒนธรรม เป็นเมืองหลวงเก่าที่มีอายุ 700 ปี ตอนนั้นใจก็ชอบบรรยากาศของเกียวโตมากกว่า เราก็เลือกไม่ถูก แต่เหตุการณ์เกิดอย่างนี้ แน่นอนเราก็เลือกไปเกียวโตแล้วก็ชวนเพื่อนผมไป อาจารย์กฤษฎา, คุณสุทธิชัย ก็ชวนกันไป ก็เป็นจุดพลิกผันอย่างหนึ่งที่เลือกไปมหาวิทยาลัยนี้ แล้วก็อีกจุดหนึ่งที่เป็นมูลเหตุที่เลือกไปที่นี่ก็คือ ในยุคนั้นมหาลัยเกียวโตเป็นแห่งเดียวที่ถ้าจะบอกว่า ถ้าจะมาเรียนที่นี่ ต้องมาเรียนตั้งแต่ปี 1 ทั้งที่เราเรียนมา 3 ปีนี้ฟังเล็คเซอร์ยังฟังแทบไม่รู้เรื่องเลย ลองนึกดูว่าเราเรียนภาษาอังกฤษหนึ่งปีแล้วลองเล็คเซอร์ในระดับมหาลัย ก็เป็นสิ่งท้าทาย

แต่ว่านักเรียนต่างชาติอื่นๆ ที่เข้ามหาลัยอื่นในยุคนั้นเขาจะให้ไปเรียนที่ชิบะในปี 1 ปี 2 ก่อน แล้วเมื่อขึ้นปี 3 แล้วก็เป็นสายวิชาชีพ หรือ major หรือ specialization ถึงจะให้ย้ายเข้ามหาลัย ไปเข้า เช่น โทโฮคึ โอซากา หรือมหาวิทยาลัยอื่นก็ตาม ก็จะย้ายไปเข้าตอนปี 3 ซึ่งเราจะไม่ค่อยมีเพื่อนพอเด็กนักเรียนญี่ปุ่นเรียนมาแล้ว 2 ปีอยู่ๆ ก็มีต่างชาติกะเหรี่ยงแทรกเข้ามาเขาก็ไม่ค่อยอยากคบเราแล้ว อันนี้ก็คือ นักเรียนต่างชาติเนี่ยเรียนยังไงก็ค่อยเก่งเพราะบรรยากาศมันดูเปลี่ยนแปลงไป

แล้วระหว่างนั้นเดินไปเรียนไฟฟ้าในช่วง 6-7 เดือนแรกไปเจอรุ่นพี่ที่อยู่โตเกียวเขาเรียน Industrial Industry ก็บอกว่าจริง ๆ แล้วประเทศที่จะพัฒนาเป็นอุตสากรรรมพวกนี้มันมีสาขาใหม่อันหนึ่งที่ใช้การคำนวณ สมัยก่อนวิชาเคมี วิชาชีวะ เราจะถือเป็นวิชาท่องมันไม่ค่อยมีคำนวณเท่าไหร่ แต่อันนี้มันไม่ใช่นะมันต้องใช้การคำนวณเยอะ ออกแบบของกลั่น ออกแบบพวกเครื่องจักรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม แล้วก็เป็นสาขาที่ในยุคนั้นเป็นของใหม่ แล้วก็เกาหลีเอง อเมริกันเองคนก็นิยมเรียนกันมาก ก็เลยตัดสินใจขอเปลียนสาขา ว่าเราอยากไปเรียนเรื่องที่มันค่อนข้างใหม่ เพราะดูว่าในอนาคตจะช้าหรือเร็วก็ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ยุคนั้นยังไม่มีปิโตรเคมี ไม่มีอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ เหมือนในปัจจุบัน แต่เราก็คิดว่าน่าจะเรียนของใหม่ ก็เลยขอเปลียน ก็เลยถือว่าผมเป็นคนที่เรียนวิศวะเคมีคนไทยที่น่าจะเป็นคนแรกที่ไปเรียนระดับปริญญาตรีในประเทศญี่ปุ่น

ทีมงาน : แล้วโทกับเอกครับอาจารย์

ศ.ดร. วิวัฒน์ : อันนี้ชีวิตก็เปลี่ยนไปโดยไม่ได้วางแผนนะครับ เดิมตอนนั้นก็คิดว่าเราจบปริญญาตรีความรู้เรายังน้อยกลับมาทำงานบ้านเราก็คงสู้คนอื่นไม่ได้ ก็เลยปรึกษาอาจารย์ อาจารย์ก็บอกว่าถ้าคุณอยากจะต่อทุนเรียนโทเนี่ยเนื่องจากผมเรียนกับคนญี่ปุ่นมา 4 เต็ม ๆ คุณก็ต้องสอบแข่งกับคนญี่ปุ่นตอนเข้าโท ก็ต้องแข่งสู้เขา เด็ก 40 คนเขารับแค่ 20 คน แล้วมีเด็กมาจากที่อื่นมาสอบเพิ่มด้วย อาจารย์ก็บอกว่าถ้าสอบเข้าได้ แข่งได้ ก็จะเจรจาต่อทุนให้ ช่วงนั้นผมก็เตรียมตัวแล้วก็สอบ ก็ปรากฎว่าสอบเข้าโทได้อย่างคะแนนค่อนข้างดีนะครับ ก็คิดว่าต้องเรียนโทต่อที่เกียวโต อยู่ๆ มาวันหนึ่งก็มีงานปาตี้ที่มหาวิทยาลัยจัดให้กับนักเรียนต่างชาติ เราก็พบกับอาจารย์หลาย ๆ คณะ นักเรียนต่างชาติหลาย ๆ แห่งมารวมกันปีละครั้ง ก็เป็นคอกเทลคุยกับอะไรต่อกันไป ก็ไปเจออาจารย์ประจำวิชาวิศวะกรรมเคมีอีกคนหนึ่งซึ่งผมไม่ได้อยู่แลปนั้นกับท่านเมื่อตอนอยู่ปี 4 เพราะมันจะมีห้องแลปคนละแลปกัน อาจารย์ก็ถามว่าเป็นยังไง จบกลับไปในอนาคตเป็นยังไง ผมก็เรียนอาจารย์ให้ทราบตามตรง ว่ายุคนั้นหรือประมาณ 30 กว่าปีที่แล้วจบมาจากญี่ปุ่นนี่คนไทยไม่ค่อยรู้จักเลยนะครับ กพ. เองก็ยังให้เงินเดือนเท่ากับคนที่จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งก็น้อยกว่าคนที่จบจากฟิลิปปินส์ ซึ่งจะได้สูงกว่าถ้ารับราชการ แต่ถ้าคุณจบจากอังกฤษเงินเดือนก็จะสูงกว่าจบจากฟิลิปปินส์อีก จะเป็นการแบ่งเกรดว่าจบจากเงินนอกเกรดนี้ เงินเดือนแค่นี้ แรกเริ่มจบตรีเหมือนกันนะครับหรือว่าจบโทเท่ากันถ้าคุณจบจากฟิลิปปินส์ก็อีกแบบหนึ่ง ญี่ปุ่นก็เกรดต่ำสุด หรือผู้อำนวยการ คุณเชี่ยวเวทย์ ที่ก็เคยเป็นผู้อำนวยการของ ส.ส.ท. ในอดีตนะครับท่านจบจาก Tokyo Institute of Technology ซึ่งถือว่าเหมือนกับ MIT ของอเมริกา แต่ว่าพอแปลเป็นภาษาไทยก็สถาบันเทคโนโลยี ไปสมัครราชการก็คิดว่าจบจากอาชีวะ ซึ่งในยุคนั้นก็ถือว่าต่ำกว่าปริญญาตรี เรียกว่าสถาบัน กพ. ยังไม่รู้จัก ไม่รับรองการรับราชการ ซึ่งต้องเอาหลักสูตรมาแปลว่าจบจากอะไร อันนี้ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าจบจากญี่ปุ่นคนยังไม่ค่อยรู้จัก แล้วราชการเองยังไม่ได้ให้ความสำคัญอะไร

ผมก็เล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็บอกว่า เอาอย่างนี้สิ เพราะว่าผมบอกว่าคนไทยส่วนใหญ่ไปเรียนที่อังกฤษ ไปเรียนที่สหรัฐ เรียนที่ออสเตรเลีย เขาเลยแนะนำว่า ทุกปีจะส่งเด็กไปญี่ปุ่นไปมหาวิทยาลัยในอเมริกา ปีหนึ่งประมาณคนหนึ่ง คือทางโน้นอยากรับไว้ โดยมีทุนไว้เป็นทุน Research Assistant หรือผู้ช่วยสอนก็คือเขาจะให้เราไปช่วยอาจารย์ทำการวิจัยที่ได้รับโครงการวิจัยมา ในนั้นก็จะมีเงินเดือนจ้างผู้ช่วยวิจัย ซึ่งหัวข้อของการทำวิจัยก็เป็นส่วนหนึ่งของปริญญาเอก พอทำเสร็จเราก็จะได้ปริญญาเอก อาจารย์เขาจะได้ผลงานไปส่งเจ้าของทุน ทุกคนก็ win win นะครับได้หมด สนใจไหม อาจารย์ถาม ผมก็บอกว่าถ้ามั่นใจว่าเขาให้ทุนเราตั้งแต่ต้นนะครับ ทางบ้านผมก็ไม่มีปัญญาจะส่งอะไร ผมก็บอกถ้าได้ตั้งแต่ต้นผมก็สนใจที่จะไป อาจารย์ก็บอก งั้นยูก็ไปสอบภาษาอังกฤษดูว่า TOEFL เป็นยังไง และถ้าผ่านได้ก็จะแนะนำแล้วก็จะเอาทุนอันนี้ให้ สวมรอยเด็กญี่ปุ่นไป ผมรู้ล่วงหน้าว่าประมาณหนึ่งเดือนก็ไปสอบ TOEFL ก็บังเอิญที่ผมเคยเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ต้น สมัยก่อนเรียนทุนโคลอมโบไว้ ถึงตอนเรียนญี่ปุ่นเองเราก็ไม่ชินภาษาอังกฤษ แต่ผมก็อ่านไทม์แมกกาซีนทุกสัปดาห์ และก็อะไรต่อมิอะไร TOEFL ไปสอบก็ได้ 660 ครับ สอบผ่านฉลุย เพราะฉะนั้นก็เลยได้ทุนอันนี้ ตอนนั้นก็คิดอยู่ว่าถ้าอยู่ญี่ปุ่นต่อคงจะได้เรียนตรี โท เอก เหมือนกับอาจารย์ ดร.บัณฑิต ก็รุ่นเดียวกัน เขาไปเรียนถึงตรี โท เอก แต่เราก็มาคิดดูว่าเรามาอยู่ที่ญี่ปุ่น 5 ปีเราก็เรียนรู้วัฒนธรรมเขาเยอะ อยู่อีก 5 ปีหลังคงเรียนรู้ได้เพิ่มนิดหน่อยคงไม่ได้มากไปกว่านี้

ก็เป็นจุดหนึ่ง ทั้งที่ถ้าอยู่ญี่ปุ่นต่อจะได้อะไรได้ดีกว่าเยอะ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขาเพิ่มทุนให้เกือบเท่าตัวถ้าต่อโท เอก แต่ที่อเมริกานี้เงินจะน้อยมาก จะอยู่ได้ต้องประหยัดมาก ๆ ก็พอถูกไถไปได้ แต่ก็ตัดสินใจอยากรู้ว่าอะไรว่าอเมริกาดีนักดีหนาเป็นอย่างไรสังคมเขาเป็นอย่างไ ก็เลยตัดสินใจเอาทุนนี้ไปสอบผู้ช่วยวิจัยในอเมริกาซึ่งเขาให้ตั้งแต่วันแรกจนจบก็เลยได้ทุนไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Texas ซึ่งมหาวิทยาลัยเขาจะมีหลาย ๆ campus โดย campus ใหญ่สุด ดีสุด อยู่ที่ Austin ซึ่งคือเมืองหลวงของรัฐ Texas หลายคนคงรู้จัก Dallas, Houston ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ชื่อดังแต่ไม่ใช่เมืองหลวง

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : ถามเรื่องทั่ว ๆ ไปนะครับอาจารย์ ในชีวิตประจำวันอาจารย์ อาหารที่ทานอยู่ประจำวันมีอย่างไรบ้างครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : คือผมเป็นคนแบบคิดว่าไปที่ไหนก็ทานที่นั้นตามพื้นเมือง ผมอยู่เมืองไทยผมก็ทานอาหารไทย แต่ก่อนก็ชอบทานเผ็ดนะครับ แต่พออยู่ญี่ปุ่นทานอาหารญี่ปุ่นก็ได้นะครับ เรียกว่าปลาดิบหรืออะไรก็ได้นะครับ ตอนอยู่อเมริกามันยากนิดหนึ่ง คือว่าเราไปแบบนักเรียนจนๆ ไปซื้อกินข้างนอกทุกวันเงินมันไม่พอ ส่วนใหญ่ก็กินแบบง่าย ๆ ทำแกงกะหรี่หรืออะไร ทำทีก็กินไป 2 วันอะไรประมาณนี้นะครับ คือเป็นนักเรียนเราไม่มีเวลานั่งทำอาหารครับ ทำทีก็หม้อใหญ่ ๆ เก็บใส่ตู้เย็นกิน ก็กินแบบง่าย ๆ

ทีมงาน : แล้วปัจจุบันอาจารย์ทานอาหารเทียง อาหารเย็น เป็นแบบไหนครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : อาหารส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันก็ง่าย ๆ พวกก๋วยเตี๋ยว หรืออะไรที่ไม่หนักท้องนะครับก็เป็นอาหารกลางวันครับ ช่วงเย็นส่วนใหญ่ก็กลับไป ถ้าไม่ได้ติดประชุมหรืองานเลี้ยงอะไรก็กลับไปทานที่บ้านครับ อาหารแบบกึ่ง ๆ แบบไทย - จีน ผสมกันง่าย ๆ ครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : อาจารย์ชื่นชอบรถยนต์แบบไหนครับ และที่ใช้ในปัจจุบันใช้แบบไหนครับอาจารย์

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ตอนกลับมาใหม่ ๆ ต้องขอเรียนนิดหนึ่งนะครับ กลับย้อนหลังว่าตอนที่จบอเมริกากำลังจะจบนะครับ ตอนนั้นก็คิดอยู่เหมือนกันว่าเรากลับเมืองไทยแล้วจะทำอะไร เนื่องจากเราไม่ได้ติดทุนตรงนี้มันก็มี Possibility เยอะก็มีความรู้ทางภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ก็เชื่อว่าเข้าบริษัทเอกชนอะไรต่าง ๆ ได้หลายแห่งนะครับ แต่ก็มีความคิดที่เกิดขึ้นกับตอนที่ไปญี่ปุ่น ตอนที่ไปญี่ปุ่นสิ่งที่ประทับใจมากเลยคือประเทศเขาเป็นประเทศที่แทบไม่มีทรัพยากรอะไรนะครับ ประเทศไทยเรามีพื้นที่ 1.5 เท่าของญี่ปุ่นครับ ประชากรเราก็ประมาณครึ่งหนึ่งของเขา แถมประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาเป็นเนินเป็นอะไรที่ราบนี่เขามีแค่ 20% ของพื้นที่ประเทศ ต่างกับประเทศไทยประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ส่วนเนินเขาอะไรต่ออะไรมีบ้างแต่ผมว่าไม่เกิน 20 -30 % ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ใช้สอยได้จริงของญี่ปุ่นมีมีน้อยนะครับ ถามว่ามีแก๊สธรรมชาติไหม ก็มีนิดเดียว ถ่านหินก็มีนิดหน่อย น้ำมันแทบไม่มี ทรัพยากรต่าง ๆ มีน้อยมาก แผ่นดินไหวก็บ่อย แถมแพ้สงครามอย่างราบคาบ ช่วงนั้นถูกอเมริกาทิ้งระเบิดเมืองใหญ่ ๆ โตเกียวไฟไหม้ราบเป็นหน้ากลองเลยครับ โรงงานก็เสียหายนะครับ แต่ที่น่าแปลกก็คือญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก แล้วภายใน 10 -20 ปี จัดโอลิมปิกได้

ทีมงานก็คือเขาทำอย่างนี้ได้อย่างไร คำตอบที่สำคัญที่สุดคือเขามีทรัพยากรบุคคลที่ดี คนเขามีระเบียบวินัย มีการศึกษาสูง มีระบบการศึกษาที่ให้ความรู้คนเหมือน ๆ กัน โรงเรียนในต่างจังหวัดหรือในเมืองคุณภาพไม่ต่างกัน นั่นก็คือทุกคนมีวินัย มีความขยันขันแข็ง ทุกคนมีความรู้สึกว่าจะต้องพยายามสร้างประเทศให้อยู่รอดได้ คือเขามีสเปคทางบุคคลของเขาดี ผมก็เลยมีความคิดคล้าย ๆ กันว่าเราเสียเวลาเรียนหนังสือตั้ง 10 ปี แล้วถ้าเราเอาความรู้ไปทำงานบริษัท ก็ถามรุ่นพี่ที่ไปทำงานบริษัทแล้วว่าเป็นอย่างไร เขาก็บอกทำงานบริษัทใช้ความรู้ได้นิดเดียว ความรู้วิศวะหรืออะไรก็ตามที่เรียนมา ใช้ได้คงไม่เกินสัก 10 % ความรู้ที่มีอยู่ที่เรียนมานี่เป็นเรื่องพื้น ๆ แล้วที่เหลือก็คือเรื่องของการบริหารจัดการ ก็เสียดายความรู้ด้วย อีกอันหนึ่งก็คือหลักสำคัญของการสร้างคน ก็เลยตัดสินใจว่าอย่างนี้เราสอนหนังสือดีกว่า ก็เลยสนใจมาเป็นอาจารย์ก็ แม้เงินเดือนของอาจารย์ยุคนั้นจะไม่กี่พันบาทเนีย ทั้งที่จบปริญญาเอก แต่เราก็เห็นว่าเราน่าจะมา เราสร้างเด็กเก่ง ๆ ได้คนไปทำงานในอุตสาหกรรมพัฒนาอุตสาหกรรมได้ก็น่าจะมี Impact ก็เลยตัดสินใจ พอดีช่วงนั้นที่จุฬาฯ เขามีตำแหน่งว่างพอดีในภาควิชาวิศวะกรรมเคมีก็เลยติดต่ออาจารย์จุฬาฯ ที่ไปเรียนต่อที่ Austin ที่ Texas เขียนจดหมายมา กลับมาอยู่ได้ 2 วันก็ไปทำงานเลยนะครับ ก็คือนัดล่วงหน้าไว้แล้ว แต่เงินเดือนต่ำในยุคนั้นรถยนต์อะไรเราก็ไม่มีปัญญาที่จะซื้อ พอดีแม่ของแฟนเขามีฐานะดีหน่อยเขาก็ซื้อรถโคโรลา แบบมือ 2 หรือว่ามือ 3ที่ใช้แล้ว 10 กว่าปี มาใช้

เรื่องรถก็คิดว่าเนื่องจากอยู่ญี่ปุ่นมานาน ก็คิดว่ารถญี่ปุ่นส่วนใหญ่คิดต่อราคา คิด performance ค่อนข้างคุ้มรถบีเอ็มดับเบิ้ลยู รถเบนซ์ อะไรก็ดี แต่ว่าค่าราคามาหารต่อหน่วยรู้สึกว่าค่อนค้างแพง ต่อ Performance ที่เราได้ ก็เลยจะใช้รถญี่ปุ่นเป็นหลัก เคยใช้ โคโรลา ใช้ซันนี่ ของนิสัน ครับแต่โคโรลาเป็นหลัก ตอนหลังฐานะดีหน่อยแต่ก็ใช้แคมรี และก็ใช้แอคคอร์ดอยู่บ้าง

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : รายโทรทัศน์ที่อาจารย์ชอบดูเป็นประจำครับเป็นรายการอะไรครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ส่วนใหญ่จะดูข่าวเป็นหลักครับ หรือรายการที่ให้ความรู้อย่างสารคดี จะไม่ค่อยชอบดูที่มันเป็นเรื่องยาว ๆ ที่ต้องดูทุกอาทิตย์ ต้องดูเป็นตอนยาวๆ นะครับมัน ชอบดูแบบที่จบในครั้งเดียวหรือไม่เกิน 2 ครั้งครับ

ทีมงาน : หนังสือที่อาจารย์ชอบอ่านครับเป็นสไตล์ไหนครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : โดยนิสัยผมเป็นคนสะสมหนังสือ ชอบอ่านหนังสือสารพัดแบบ แบบตอนไปอยู่ที่ญี่ปุ่นก็มีหนังสือ ตอนนี้หนังสือผมก็เรียกว่ามีใส่ตู้หนังสือแทบจะ 10 ตู้อยู่แล้ว ก็ชอบสะสมหนังสือต่าง ๆ ที่ให้ความรู้นะครับ แต่ว่าตอนหลังเวลาอ่านไม่ค่อยมี ก็จะติดตามพวกหนังสือแมกกาซีนนะครับ ให้รู้ว่าโลกเราไปถึงไหนแล้ว และได้ความรู้ในส่วนลึกครับ ในขณะเดียวกันตอนนี้ต้องทำงานบริหาร ก็จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการและมุมมองต่างๆ ซึ่งก่อนหน้าที่อยู่จุฬาฯ ก็จะดูหนังสือออกไปทางวิชาการ

ทีมงาน : หนังภาพยนตร์ที่อาจารย์ชื่นชอบครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ส่วนใหญ่ก็ชอบพวกหนังชีวิตนะครับ หนังที่เป็นประวัติศาสตร์หรือเขาให้ขอคิด แต่ต้องขอเรียนว่าเนื่องจากสายตาผมไม่ค่อยดีนัก สายตาสั้นตั้งแต่เด็ก เคยไปดูหนังในโรงหนัง อากาศเย็น ๆ แล้วก็เพ่งสายตา ปวดหัวมากเลยนะครับ ตอนผมกลับมาแต่งงานใหม่ ๆ เคยไปดูครั้ง สองครั้งตอนนี้ผมแทบจะไม่เข้าโรงหนังเลย หนังส่วนใหญ่ก็ดูจากโทรทัศน์ และ VCD

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : อุปกรณ์ IT ที่อาจารย์ซื้อมาล่าสุดคืออะไรครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : อุปกรณ์ทางด้าน IT ที่ซื้อมาล่าสุดเป็นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คครับ

ทีมงาน : สุดท้ายนะครับ เว็บไซต์อาจารย์ที่อาจารย์เข้าประจำคือเว็บไซต์อะไรครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : เว็บไซต์สำหรับ Search ก็เป็น Google นะครับ ใช้ค้นหาข้อมูล และเป็นแหล่งความรู้เพิ่มเติม อย่างช่วงนี้ก็กำลังจะบรรยายเกี่ยวกับพวกรถไฟฟ้า Bullet Train ที่ญี่ปุ่นนะครับ จะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมก็จะ Search Google ครับ ถือเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ เป็นประโยชน์มากครับ


.a {color:#FF0000;}

Executive Interview

บทสัมภาษณ์

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

1 ใน 4 ศูนย์แห่งชาติ ที่อยู่ภายใต้ สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์กรอิสระที่อยู่ในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หัวข้อ:
ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
รถยนต์ที่ใช้:
Toyota Corola, Toyota Camry, Honda Accord
อาหารที่ชอบ:
อาหารไทย, จีน
รายการโทรทัศน์ที่ดูประจำ:
ข่าว, สารคดี
หนังสือที่ชอบอ่าน:
การบริหารจัดการ, แมกกาซีน
ภาพยนตร์ที่ชอบดู:
หนังชีวิต, หนังประวัติศาสตร์
อุปกรณ์ IT ที่ซื้อล่าสุด:
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
เว็บไซต์ที่เข้าเป็นประจำ:
Google

ทีมงาน : อาจารย์ครับ อยากให้อาจารย์ บอกประวัติ คร่าวๆ ของอาจารย์ครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : คืออยากให้เห็นภาพชัดก็จะเริ่มตั้งแต่ก่อนนั้นนิดหนึ่งนะครับ ก็คือว่าหลายคนมองว่า นักวิทยาศาสตร์เป็นยังไงต้องเก่งขนาดไหนถึงมาอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ จริงแล้วสมัยผมเรียนประถมเรียนอะไรก็ไม่เรียนเก่งนะครับ เคยได้สูงสุดก็ได้เป็นที่ 2 ของห้องเรียนซึ่งเป็นครั้งเดียวส่วนใหญ่ก็อยู่ประมาณที่ 7 ที่ 8 แถวนั้นนะครับ ตอนเรียนมัธยมต้น ก็จะเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา โรงเรียนอยู่ติดกับอัสสัมชัญบางรัก ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่มีแต่ผู้หญิงอย่างเดียวนะครับ พอจบ ป.4 ตอนนั้นทางโรงเรียนก็ไม่ให้อยู่ต่อเนื่องจากที่นั้นเป็นโรงเรียนผู้หญิง พอขึ้น ป.5 เลยต้องย้าย สมัยยุคที่ผมเรียนนั้นก็คือเขาจะบังคับให้เรียนถึง ป.4 แล้วก็มี ม.1 - ม.8 ผมก็พยายามไปสอบเข้าอัสสัมชัญบางรักก็สอบไม่ติดนะครับ คือไม่ได้ไปเรียนพิเศษ ไม่ได้เป็นเด็กที่เรียนเก่งอะไร ก็เลยไปเรียนโรงเรียนเอกชนมีชื่อว่าโรงเรียนกรุงเทพวิทยา(ซึ่งตอนนี้ก็ปิดไปแล้ว)อยู่แถวนเรศ เรียนถึง ม. 6

ช่วงนั้นทางบ้านก็คือทางคุณพ่ออยากให้มาฝึกทำงานเลย ไม่ต้องเรียนสูงๆ แล้วเราไปทำธุรกิจ ทำงานไปเลย จะดีกว่า แต่ว่าคุณแม่ก็ยังเห็นว่าอยากจะให้เรียนต่อสูง ๆ ตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่หย่ากัน เดิมอยู่กับคุณพ่อซึ่งเป็นคนรับผิดชอบค่าเล่าเรียน ทางคุณแม่ก็อยากให้เรียนต่อก็ย้ายไปอยู่กับคุณแม่ รายได้ก็มีนิดเดียว ก็เลยพยายามหาที่เรียนต่อที่ไม่ต้องเสียแปะเจี๊ย เพราะโรงเรียนที่ผมเรียนอยู่นั้นมีแค่ ม.6 ยังไงอยู่ต่อไม่ได้ ก็ต้องหาที่เรียน ช่วงนั้นก็เลยตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียว โชคดีก็สามารถสอบเข้าเตรียมอุดมได้ โดยที่ไม่ได้คาดก็ได้ห้องคิงด้วยนะครับนั้นก็เลยกลายเป็นจุดพลิกผัน เนื่องจากเรามีความจำเป็นว่าถ้าเราไม่เรียน เราก็ต้องไปทำงาน ทีนี้ตัวผมเองก็ไม่อยากทำงาน คิดว่าตอนนี้ยังเด็กอยู่อนาคตข้างหน้าก็น่าจะเรียนสูงหน่อย เพราะนั้นพอจบเตรียมเดิมก็ว่าจะเรียนหมอ ทางบ้านก็อยากให้เรียน แต่ว่าตอนนั้นถ้าเข้ามหาวิทยาลัยในสาขาที่คาดแคลนไม่ว่าเรียนหมอ เรียนวิศวะ จะต้องจ่ายค่าเรียนเพิ่ม ถ้าเราไม่จ่ายค่าเล่าเรียนเพิ่มพอจบแล้วก็ต้องไปทำงานให้ราชการ ระหว่างที่ตัดสินใจก็มีเพื่อนในห้องมาชวนบอก มีทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปลองสอบไหม เด็กห้องคิงส่วนใหญ่เด็กเรียนเก่งกันทั้งนั้น อยากจะไป Challenge นะครับลองสอบดู ผมเองก็ไม่ได้แทบเตรียมตัวอะไร รู้ล่วงหน้าสักอาทิตย์หนึ่ง สมัครสอบไม่กี่สิบบาทก็ลองสอบทุนรัฐบาลญี่ปุ่นดู ในยุคนั้นคนก็ไม่ค่อยมีคนรู้จักทุนรัฐบาลญี่ปุ่น รู้จักแต่ทุนโคลอมโบ ซึ่งไปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สมัยนั้นจะสอบทุนโคลอมโบก็ต้องไปเรียนภาษาอังกฤษ ตอนผมเรียนมัธยมผมก็คิดว่าจะไปเมืองนอกได้เข้าชิงทุนโคลอมโบ ก็ไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษไว้ก่อนเพื่อเป็นพื้นฐาน

แต่พอดีไปสอบทุนรัฐบาลญี่ปุ่นจะโดยฟลุคหรือโดยอะไรก็แล้วแต่ ทุนเขาต้องการ 10 คน ผมติดอันดับ 13 ก็คือสำรองอันดับ 3 ปรากฎว่ามีคนสละสิทธิ์ไป 3 คนพอดี ผมก็เลยได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ทีนี้ถ้าเราจะรอดูว่าเอ็นท์ฯ ติดเมืองไทยไหม หรือว่าจะติดทุนโคลอมโบไหม คือทุนรัฐบาลญี่ปุ่นบังคับให้เราไปญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นเมษา ถ้าเรารอทุนอื่นหรือเรารอสอบเอ็นทรานซ์ เราต้องสละสิทธิ์ทุนนี้ ก็เลยคิดว่าไปญี่ปุ่นก็ดี เพราะถึงแม้เขาแพ้สงครามก็ตามแต่ว่าเขาพื้นฟูเศรษฐกิจได้ ก็น่าสนใจ และก็คิดว่า ถ้าเราเทียบไปเรียนเมืองนอกซึ่งศาสนาก็ต่างกัน วัฒนธรรมก็ต่างกัน มุมมองก็ต่างกัน สิ่งที่เราเรียนก็ไม่แน่ใจว่าจะใช้กับสังคมไทยได้ดีมากน้อยขนาดไหน แต่เราก็มองว่าญี่ปุ่นก็เป็นสังคมของเอเชียด้วยกัน ศาสนาพุทธ คล้ายๆ กัน ตอนนั้นก็เลยตัดสินใจว่าไปทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ก็เลยไปเรียนปริญาตรีที่ญี่ปุ่น ไปเรียนวิศวะเคมี ไฟฟ้า ทีนี้เนื่องจากเราไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลย รู้ศัพท์แค่ 3 คำ อาริงาโต ซาโยนาระ ประมาณนี้ 2 คำ เขาเลยให้ไปเรียนภาษาและก็เรียนวิชาพื้นฐานเพิ่มเติมอีกปีหนึ่ง แล้วยุคนั้นนักเรียนต่างชาติก็อยู่ร่วมกัน อย่างสายวิทยาศาสตร์ก็ไปอยู่ร่วมกันที่หอพักชิบะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยชิบะ หนึ่งปีหลังจากนั้นค่อยไปเลือกว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยอะไรที่ไหน ตอนนั้นเอง ตอนเลือกมหาวิทยาลัยก็มันก็มีจุดพลิกผันอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าคุณไปญี่ปุ่น เหมือนกับถามคนเมืองไทยว่าอันไหนที่ใครอยากจะเข้าบ้าง คนไทยก็จะบอกจุฬาฯ หรือลำดับสองก็ธรรมศาสตร์ อะไรทำนองนี้ ในญี่ปุ่นเองก็เหมือนกัน ถามคนญี่ปุ่นก็บอกต้องไปมหาวิทยาลัยโตเกียว อันดับที่สองต้องไปเกียวโตอันนี้ก็เป็นปกติ

ทีนี้ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ว่านักศึกษาทั่วโลกมีการประท้วงมีการขอปรับปรุงระบบการศึกษา ก็ปรากฎว่าทั้งมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเกียวโต ก็มีการประท้วงหยุดเรียน ไม่ให้อาจารย์เข้ามาสอน ละไม่ให้เด็กเข้ามาเรียน มหาวิทยาลัยโตเกียวนี่ประท้วงทั้งปี อาจารย์ทางมหาลัยก็ตัดสินว่า เด็กไม่ได้เรียนหนังสือมา 1 ปี ทุกคนต้องสอบตก ฉะนั้นเมื่อตัดสินว่าทุกคนสอบตกก็ไม่มีการรับคนใหม่เข้ามา เพราะที่นั่งมันเต็ม ทุกคนยังได้เรียนชั้นเดิมอยู่ เป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว และก็ผมเชื่อว่าน่าจะในประวัติศาตร์มหาวิทลัยทั่วโลกด้วยที่ว่าเด็กตกชั้นทั้งปี และก็ไม่มีการรับเด็กใหม่ แต่ว่ามหาวิทยาลัยเกียวโตตอนนั้นแม้มีการประท้วงกันแต่ว่าก็ไม่ได้รุนแรงขนาดโตเกียว และก็ยังมีการรับนักศึกษาเหมือนเดิม ผมก็สองจิตสองใจว่า โตเกียวมันก็ดังกว่าแต่ก็อยู่ในเมืองใหญ่ซึ่งผมก็ไม่ค่อยชอบนะครับ ขึ้นรถไฟก็อัดเป็นปลากระป๋อง เมืองก็พลุกพล่านนะครับผมก็ไม่ค่อยชอบส่วนเกียวโตเป็นเมืองเล็ก ๆ ของญี่ปุ่นประชากรก็ประมาณ 2 ล้าน บรรยากาศก็เป็นอีกแบบหนึ่งไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรรมเป็นเมืองวัฒนธรรม เป็นเมืองหลวงเก่าที่มีอายุ 700 ปี ตอนนั้นใจก็ชอบบรรยากาศของเกียวโตมากกว่า เราก็เลือกไม่ถูก แต่เหตุการณ์เกิดอย่างนี้ แน่นอนเราก็เลือกไปเกียวโตแล้วก็ชวนเพื่อนผมไป อาจารย์กฤษฎา, คุณสุทธิชัย ก็ชวนกันไป ก็เป็นจุดพลิกผันอย่างหนึ่งที่เลือกไปมหาวิทยาลัยนี้ แล้วก็อีกจุดหนึ่งที่เป็นมูลเหตุที่เลือกไปที่นี่ก็คือ ในยุคนั้นมหาลัยเกียวโตเป็นแห่งเดียวที่ถ้าจะบอกว่า ถ้าจะมาเรียนที่นี่ ต้องมาเรียนตั้งแต่ปี 1 ทั้งที่เราเรียนมา 3 ปีนี้ฟังเล็คเซอร์ยังฟังแทบไม่รู้เรื่องเลย ลองนึกดูว่าเราเรียนภาษาอังกฤษหนึ่งปีแล้วลองเล็คเซอร์ในระดับมหาลัย ก็เป็นสิ่งท้าทาย

แต่ว่านักเรียนต่างชาติอื่นๆ ที่เข้ามหาลัยอื่นในยุคนั้นเขาจะให้ไปเรียนที่ชิบะในปี 1 ปี 2 ก่อน แล้วเมื่อขึ้นปี 3 แล้วก็เป็นสายวิชาชีพ หรือ major หรือ specialization ถึงจะให้ย้ายเข้ามหาลัย ไปเข้า เช่น โทโฮคึ โอซากา หรือมหาวิทยาลัยอื่นก็ตาม ก็จะย้ายไปเข้าตอนปี 3 ซึ่งเราจะไม่ค่อยมีเพื่อนพอเด็กนักเรียนญี่ปุ่นเรียนมาแล้ว 2 ปีอยู่ๆ ก็มีต่างชาติกะเหรี่ยงแทรกเข้ามาเขาก็ไม่ค่อยอยากคบเราแล้ว อันนี้ก็คือ นักเรียนต่างชาติเนี่ยเรียนยังไงก็ค่อยเก่งเพราะบรรยากาศมันดูเปลี่ยนแปลงไป

แล้วระหว่างนั้นเดินไปเรียนไฟฟ้าในช่วง 6-7 เดือนแรกไปเจอรุ่นพี่ที่อยู่โตเกียวเขาเรียน Industrial Industry ก็บอกว่าจริง ๆ แล้วประเทศที่จะพัฒนาเป็นอุตสากรรรมพวกนี้มันมีสาขาใหม่อันหนึ่งที่ใช้การคำนวณ สมัยก่อนวิชาเคมี วิชาชีวะ เราจะถือเป็นวิชาท่องมันไม่ค่อยมีคำนวณเท่าไหร่ แต่อันนี้มันไม่ใช่นะมันต้องใช้การคำนวณเยอะ ออกแบบของกลั่น ออกแบบพวกเครื่องจักรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม แล้วก็เป็นสาขาที่ในยุคนั้นเป็นของใหม่ แล้วก็เกาหลีเอง อเมริกันเองคนก็นิยมเรียนกันมาก ก็เลยตัดสินใจขอเปลียนสาขา ว่าเราอยากไปเรียนเรื่องที่มันค่อนข้างใหม่ เพราะดูว่าในอนาคตจะช้าหรือเร็วก็ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ยุคนั้นยังไม่มีปิโตรเคมี ไม่มีอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ เหมือนในปัจจุบัน แต่เราก็คิดว่าน่าจะเรียนของใหม่ ก็เลยขอเปลียน ก็เลยถือว่าผมเป็นคนที่เรียนวิศวะเคมีคนไทยที่น่าจะเป็นคนแรกที่ไปเรียนระดับปริญญาตรีในประเทศญี่ปุ่น

ทีมงาน : แล้วโทกับเอกครับอาจารย์

ศ.ดร. วิวัฒน์ : อันนี้ชีวิตก็เปลี่ยนไปโดยไม่ได้วางแผนนะครับ เดิมตอนนั้นก็คิดว่าเราจบปริญญาตรีความรู้เรายังน้อยกลับมาทำงานบ้านเราก็คงสู้คนอื่นไม่ได้ ก็เลยปรึกษาอาจารย์ อาจารย์ก็บอกว่าถ้าคุณอยากจะต่อทุนเรียนโทเนี่ยเนื่องจากผมเรียนกับคนญี่ปุ่นมา 4 เต็ม ๆ คุณก็ต้องสอบแข่งกับคนญี่ปุ่นตอนเข้าโท ก็ต้องแข่งสู้เขา เด็ก 40 คนเขารับแค่ 20 คน แล้วมีเด็กมาจากที่อื่นมาสอบเพิ่มด้วย อาจารย์ก็บอกว่าถ้าสอบเข้าได้ แข่งได้ ก็จะเจรจาต่อทุนให้ ช่วงนั้นผมก็เตรียมตัวแล้วก็สอบ ก็ปรากฎว่าสอบเข้าโทได้อย่างคะแนนค่อนข้างดีนะครับ ก็คิดว่าต้องเรียนโทต่อที่เกียวโต อยู่ๆ มาวันหนึ่งก็มีงานปาตี้ที่มหาวิทยาลัยจัดให้กับนักเรียนต่างชาติ เราก็พบกับอาจารย์หลาย ๆ คณะ นักเรียนต่างชาติหลาย ๆ แห่งมารวมกันปีละครั้ง ก็เป็นคอกเทลคุยกับอะไรต่อกันไป ก็ไปเจออาจารย์ประจำวิชาวิศวะกรรมเคมีอีกคนหนึ่งซึ่งผมไม่ได้อยู่แลปนั้นกับท่านเมื่อตอนอยู่ปี 4 เพราะมันจะมีห้องแลปคนละแลปกัน อาจารย์ก็ถามว่าเป็นยังไง จบกลับไปในอนาคตเป็นยังไง ผมก็เรียนอาจารย์ให้ทราบตามตรง ว่ายุคนั้นหรือประมาณ 30 กว่าปีที่แล้วจบมาจากญี่ปุ่นนี่คนไทยไม่ค่อยรู้จักเลยนะครับ กพ. เองก็ยังให้เงินเดือนเท่ากับคนที่จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งก็น้อยกว่าคนที่จบจากฟิลิปปินส์ ซึ่งจะได้สูงกว่าถ้ารับราชการ แต่ถ้าคุณจบจากอังกฤษเงินเดือนก็จะสูงกว่าจบจากฟิลิปปินส์อีก จะเป็นการแบ่งเกรดว่าจบจากเงินนอกเกรดนี้ เงินเดือนแค่นี้ แรกเริ่มจบตรีเหมือนกันนะครับหรือว่าจบโทเท่ากันถ้าคุณจบจากฟิลิปปินส์ก็อีกแบบหนึ่ง ญี่ปุ่นก็เกรดต่ำสุด หรือผู้อำนวยการ คุณเชี่ยวเวทย์ ที่ก็เคยเป็นผู้อำนวยการของ ส.ส.ท. ในอดีตนะครับท่านจบจาก Tokyo Institute of Technology ซึ่งถือว่าเหมือนกับ MIT ของอเมริกา แต่ว่าพอแปลเป็นภาษาไทยก็สถาบันเทคโนโลยี ไปสมัครราชการก็คิดว่าจบจากอาชีวะ ซึ่งในยุคนั้นก็ถือว่าต่ำกว่าปริญญาตรี เรียกว่าสถาบัน กพ. ยังไม่รู้จัก ไม่รับรองการรับราชการ ซึ่งต้องเอาหลักสูตรมาแปลว่าจบจากอะไร อันนี้ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าจบจากญี่ปุ่นคนยังไม่ค่อยรู้จัก แล้วราชการเองยังไม่ได้ให้ความสำคัญอะไร

ผมก็เล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็บอกว่า เอาอย่างนี้สิ เพราะว่าผมบอกว่าคนไทยส่วนใหญ่ไปเรียนที่อังกฤษ ไปเรียนที่สหรัฐ เรียนที่ออสเตรเลีย เขาเลยแนะนำว่า ทุกปีจะส่งเด็กไปญี่ปุ่นไปมหาวิทยาลัยในอเมริกา ปีหนึ่งประมาณคนหนึ่ง คือทางโน้นอยากรับไว้ โดยมีทุนไว้เป็นทุน Research Assistant หรือผู้ช่วยสอนก็คือเขาจะให้เราไปช่วยอาจารย์ทำการวิจัยที่ได้รับโครงการวิจัยมา ในนั้นก็จะมีเงินเดือนจ้างผู้ช่วยวิจัย ซึ่งหัวข้อของการทำวิจัยก็เป็นส่วนหนึ่งของปริญญาเอก พอทำเสร็จเราก็จะได้ปริญญาเอก อาจารย์เขาจะได้ผลงานไปส่งเจ้าของทุน ทุกคนก็ win win นะครับได้หมด สนใจไหม อาจารย์ถาม ผมก็บอกว่าถ้ามั่นใจว่าเขาให้ทุนเราตั้งแต่ต้นนะครับ ทางบ้านผมก็ไม่มีปัญญาจะส่งอะไร ผมก็บอกถ้าได้ตั้งแต่ต้นผมก็สนใจที่จะไป อาจารย์ก็บอก งั้นยูก็ไปสอบภาษาอังกฤษดูว่า TOEFL เป็นยังไง และถ้าผ่านได้ก็จะแนะนำแล้วก็จะเอาทุนอันนี้ให้ สวมรอยเด็กญี่ปุ่นไป ผมรู้ล่วงหน้าว่าประมาณหนึ่งเดือนก็ไปสอบ TOEFL ก็บังเอิญที่ผมเคยเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ต้น สมัยก่อนเรียนทุนโคลอมโบไว้ ถึงตอนเรียนญี่ปุ่นเองเราก็ไม่ชินภาษาอังกฤษ แต่ผมก็อ่านไทม์แมกกาซีนทุกสัปดาห์ และก็อะไรต่อมิอะไร TOEFL ไปสอบก็ได้ 660 ครับ สอบผ่านฉลุย เพราะฉะนั้นก็เลยได้ทุนอันนี้ ตอนนั้นก็คิดอยู่ว่าถ้าอยู่ญี่ปุ่นต่อคงจะได้เรียนตรี โท เอก เหมือนกับอาจารย์ ดร.บัณฑิต ก็รุ่นเดียวกัน เขาไปเรียนถึงตรี โท เอก แต่เราก็มาคิดดูว่าเรามาอยู่ที่ญี่ปุ่น 5 ปีเราก็เรียนรู้วัฒนธรรมเขาเยอะ อยู่อีก 5 ปีหลังคงเรียนรู้ได้เพิ่มนิดหน่อยคงไม่ได้มากไปกว่านี้

ก็เป็นจุดหนึ่ง ทั้งที่ถ้าอยู่ญี่ปุ่นต่อจะได้อะไรได้ดีกว่าเยอะ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขาเพิ่มทุนให้เกือบเท่าตัวถ้าต่อโท เอก แต่ที่อเมริกานี้เงินจะน้อยมาก จะอยู่ได้ต้องประหยัดมาก ๆ ก็พอถูกไถไปได้ แต่ก็ตัดสินใจอยากรู้ว่าอะไรว่าอเมริกาดีนักดีหนาเป็นอย่างไรสังคมเขาเป็นอย่างไ ก็เลยตัดสินใจเอาทุนนี้ไปสอบผู้ช่วยวิจัยในอเมริกาซึ่งเขาให้ตั้งแต่วันแรกจนจบก็เลยได้ทุนไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Texas ซึ่งมหาวิทยาลัยเขาจะมีหลาย ๆ campus โดย campus ใหญ่สุด ดีสุด อยู่ที่ Austin ซึ่งคือเมืองหลวงของรัฐ Texas หลายคนคงรู้จัก Dallas, Houston ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ชื่อดังแต่ไม่ใช่เมืองหลวง

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : ถามเรื่องทั่ว ๆ ไปนะครับอาจารย์ ในชีวิตประจำวันอาจารย์ อาหารที่ทานอยู่ประจำวันมีอย่างไรบ้างครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : คือผมเป็นคนแบบคิดว่าไปที่ไหนก็ทานที่นั้นตามพื้นเมือง ผมอยู่เมืองไทยผมก็ทานอาหารไทย แต่ก่อนก็ชอบทานเผ็ดนะครับ แต่พออยู่ญี่ปุ่นทานอาหารญี่ปุ่นก็ได้นะครับ เรียกว่าปลาดิบหรืออะไรก็ได้นะครับ ตอนอยู่อเมริกามันยากนิดหนึ่ง คือว่าเราไปแบบนักเรียนจนๆ ไปซื้อกินข้างนอกทุกวันเงินมันไม่พอ ส่วนใหญ่ก็กินแบบง่าย ๆ ทำแกงกะหรี่หรืออะไร ทำทีก็กินไป 2 วันอะไรประมาณนี้นะครับ คือเป็นนักเรียนเราไม่มีเวลานั่งทำอาหารครับ ทำทีก็หม้อใหญ่ ๆ เก็บใส่ตู้เย็นกิน ก็กินแบบง่าย ๆ

ทีมงาน : แล้วปัจจุบันอาจารย์ทานอาหารเทียง อาหารเย็น เป็นแบบไหนครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : อาหารส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันก็ง่าย ๆ พวกก๋วยเตี๋ยว หรืออะไรที่ไม่หนักท้องนะครับก็เป็นอาหารกลางวันครับ ช่วงเย็นส่วนใหญ่ก็กลับไป ถ้าไม่ได้ติดประชุมหรืองานเลี้ยงอะไรก็กลับไปทานที่บ้านครับ อาหารแบบกึ่ง ๆ แบบไทย - จีน ผสมกันง่าย ๆ ครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : อาจารย์ชื่นชอบรถยนต์แบบไหนครับ และที่ใช้ในปัจจุบันใช้แบบไหนครับอาจารย์

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ตอนกลับมาใหม่ ๆ ต้องขอเรียนนิดหนึ่งนะครับ กลับย้อนหลังว่าตอนที่จบอเมริกากำลังจะจบนะครับ ตอนนั้นก็คิดอยู่เหมือนกันว่าเรากลับเมืองไทยแล้วจะทำอะไร เนื่องจากเราไม่ได้ติดทุนตรงนี้มันก็มี Possibility เยอะก็มีความรู้ทางภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ก็เชื่อว่าเข้าบริษัทเอกชนอะไรต่าง ๆ ได้หลายแห่งนะครับ แต่ก็มีความคิดที่เกิดขึ้นกับตอนที่ไปญี่ปุ่น ตอนที่ไปญี่ปุ่นสิ่งที่ประทับใจมากเลยคือประเทศเขาเป็นประเทศที่แทบไม่มีทรัพยากรอะไรนะครับ ประเทศไทยเรามีพื้นที่ 1.5 เท่าของญี่ปุ่นครับ ประชากรเราก็ประมาณครึ่งหนึ่งของเขา แถมประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาเป็นเนินเป็นอะไรที่ราบนี่เขามีแค่ 20% ของพื้นที่ประเทศ ต่างกับประเทศไทยประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ส่วนเนินเขาอะไรต่ออะไรมีบ้างแต่ผมว่าไม่เกิน 20 -30 % ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ใช้สอยได้จริงของญี่ปุ่นมีมีน้อยนะครับ ถามว่ามีแก๊สธรรมชาติไหม ก็มีนิดเดียว ถ่านหินก็มีนิดหน่อย น้ำมันแทบไม่มี ทรัพยากรต่าง ๆ มีน้อยมาก แผ่นดินไหวก็บ่อย แถมแพ้สงครามอย่างราบคาบ ช่วงนั้นถูกอเมริกาทิ้งระเบิดเมืองใหญ่ ๆ โตเกียวไฟไหม้ราบเป็นหน้ากลองเลยครับ โรงงานก็เสียหายนะครับ แต่ที่น่าแปลกก็คือญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก แล้วภายใน 10 -20 ปี จัดโอลิมปิกได้

ทีมงานก็คือเขาทำอย่างนี้ได้อย่างไร คำตอบที่สำคัญที่สุดคือเขามีทรัพยากรบุคคลที่ดี คนเขามีระเบียบวินัย มีการศึกษาสูง มีระบบการศึกษาที่ให้ความรู้คนเหมือน ๆ กัน โรงเรียนในต่างจังหวัดหรือในเมืองคุณภาพไม่ต่างกัน นั่นก็คือทุกคนมีวินัย มีความขยันขันแข็ง ทุกคนมีความรู้สึกว่าจะต้องพยายามสร้างประเทศให้อยู่รอดได้ คือเขามีสเปคทางบุคคลของเขาดี ผมก็เลยมีความคิดคล้าย ๆ กันว่าเราเสียเวลาเรียนหนังสือตั้ง 10 ปี แล้วถ้าเราเอาความรู้ไปทำงานบริษัท ก็ถามรุ่นพี่ที่ไปทำงานบริษัทแล้วว่าเป็นอย่างไร เขาก็บอกทำงานบริษัทใช้ความรู้ได้นิดเดียว ความรู้วิศวะหรืออะไรก็ตามที่เรียนมา ใช้ได้คงไม่เกินสัก 10 % ความรู้ที่มีอยู่ที่เรียนมานี่เป็นเรื่องพื้น ๆ แล้วที่เหลือก็คือเรื่องของการบริหารจัดการ ก็เสียดายความรู้ด้วย อีกอันหนึ่งก็คือหลักสำคัญของการสร้างคน ก็เลยตัดสินใจว่าอย่างนี้เราสอนหนังสือดีกว่า ก็เลยสนใจมาเป็นอาจารย์ก็ แม้เงินเดือนของอาจารย์ยุคนั้นจะไม่กี่พันบาทเนีย ทั้งที่จบปริญญาเอก แต่เราก็เห็นว่าเราน่าจะมา เราสร้างเด็กเก่ง ๆ ได้คนไปทำงานในอุตสาหกรรมพัฒนาอุตสาหกรรมได้ก็น่าจะมี Impact ก็เลยตัดสินใจ พอดีช่วงนั้นที่จุฬาฯ เขามีตำแหน่งว่างพอดีในภาควิชาวิศวะกรรมเคมีก็เลยติดต่ออาจารย์จุฬาฯ ที่ไปเรียนต่อที่ Austin ที่ Texas เขียนจดหมายมา กลับมาอยู่ได้ 2 วันก็ไปทำงานเลยนะครับ ก็คือนัดล่วงหน้าไว้แล้ว แต่เงินเดือนต่ำในยุคนั้นรถยนต์อะไรเราก็ไม่มีปัญญาที่จะซื้อ พอดีแม่ของแฟนเขามีฐานะดีหน่อยเขาก็ซื้อรถโคโรลา แบบมือ 2 หรือว่ามือ 3ที่ใช้แล้ว 10 กว่าปี มาใช้

เรื่องรถก็คิดว่าเนื่องจากอยู่ญี่ปุ่นมานาน ก็คิดว่ารถญี่ปุ่นส่วนใหญ่คิดต่อราคา คิด performance ค่อนข้างคุ้มรถบีเอ็มดับเบิ้ลยู รถเบนซ์ อะไรก็ดี แต่ว่าค่าราคามาหารต่อหน่วยรู้สึกว่าค่อนค้างแพง ต่อ Performance ที่เราได้ ก็เลยจะใช้รถญี่ปุ่นเป็นหลัก เคยใช้ โคโรลา ใช้ซันนี่ ของนิสัน ครับแต่โคโรลาเป็นหลัก ตอนหลังฐานะดีหน่อยแต่ก็ใช้แคมรี และก็ใช้แอคคอร์ดอยู่บ้าง

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : รายโทรทัศน์ที่อาจารย์ชอบดูเป็นประจำครับเป็นรายการอะไรครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ส่วนใหญ่จะดูข่าวเป็นหลักครับ หรือรายการที่ให้ความรู้อย่างสารคดี จะไม่ค่อยชอบดูที่มันเป็นเรื่องยาว ๆ ที่ต้องดูทุกอาทิตย์ ต้องดูเป็นตอนยาวๆ นะครับมัน ชอบดูแบบที่จบในครั้งเดียวหรือไม่เกิน 2 ครั้งครับ

ทีมงาน : หนังสือที่อาจารย์ชอบอ่านครับเป็นสไตล์ไหนครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : โดยนิสัยผมเป็นคนสะสมหนังสือ ชอบอ่านหนังสือสารพัดแบบ แบบตอนไปอยู่ที่ญี่ปุ่นก็มีหนังสือ ตอนนี้หนังสือผมก็เรียกว่ามีใส่ตู้หนังสือแทบจะ 10 ตู้อยู่แล้ว ก็ชอบสะสมหนังสือต่าง ๆ ที่ให้ความรู้นะครับ แต่ว่าตอนหลังเวลาอ่านไม่ค่อยมี ก็จะติดตามพวกหนังสือแมกกาซีนนะครับ ให้รู้ว่าโลกเราไปถึงไหนแล้ว และได้ความรู้ในส่วนลึกครับ ในขณะเดียวกันตอนนี้ต้องทำงานบริหาร ก็จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการและมุมมองต่างๆ ซึ่งก่อนหน้าที่อยู่จุฬาฯ ก็จะดูหนังสือออกไปทางวิชาการ

ทีมงาน : หนังภาพยนตร์ที่อาจารย์ชื่นชอบครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : ส่วนใหญ่ก็ชอบพวกหนังชีวิตนะครับ หนังที่เป็นประวัติศาสตร์หรือเขาให้ขอคิด แต่ต้องขอเรียนว่าเนื่องจากสายตาผมไม่ค่อยดีนัก สายตาสั้นตั้งแต่เด็ก เคยไปดูหนังในโรงหนัง อากาศเย็น ๆ แล้วก็เพ่งสายตา ปวดหัวมากเลยนะครับ ตอนผมกลับมาแต่งงานใหม่ ๆ เคยไปดูครั้ง สองครั้งตอนนี้ผมแทบจะไม่เข้าโรงหนังเลย หนังส่วนใหญ่ก็ดูจากโทรทัศน์ และ VCD

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล

ทีมงาน : อุปกรณ์ IT ที่อาจารย์ซื้อมาล่าสุดคืออะไรครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : อุปกรณ์ทางด้าน IT ที่ซื้อมาล่าสุดเป็นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คครับ

ทีมงาน : สุดท้ายนะครับ เว็บไซต์อาจารย์ที่อาจารย์เข้าประจำคือเว็บไซต์อะไรครับ

ศ.ดร. วิวัฒน์ : เว็บไซต์สำหรับ Search ก็เป็น Google นะครับ ใช้ค้นหาข้อมูล และเป็นแหล่งความรู้เพิ่มเติม อย่างช่วงนี้ก็กำลังจะบรรยายเกี่ยวกับพวกรถไฟฟ้า Bullet Train ที่ญี่ปุ่นนะครับ จะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมก็จะ Search Google ครับ ถือเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ เป็นประโยชน์มากครับ



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที