HIV เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งในบทความนี้เรามาดูกันว่า HIV นั้นคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ AID กัน
เรื่องเพศนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่เราคิด ด้วยประเทศไทยนั้นที่สังคมส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงโรคต่อติดทางเพศสัมพันธ์ STDs (Sexually Transmitted Diseases) หรือการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ STIs (Sexually Transmitted infections) ต่าง ๆ มากนัก โดยตัวอย่างโรคเช่น หนองใน เริม ซิฟิลิส เชื้อ HPV ซึ่งหนึ่งในการติดเชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่หลายคนรู้จักนั่นคือ การติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อที่ร้ายแรงหากเทียบกับโรคอื่น ๆ
เชื้อ HIV นั้นไม่เพียงติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยังสามารถติดต่อและส่งต่อมาจากทางอื่นได้อีกด้วย ซึ่งเราจะกล่าวในหัวข้อถัดไป ซึ่งการที่เรารู้ว่าตนเองนั้นติดเชื้อ HIV หรือไม่นั้นเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักให้ดีกันกว่า HIV คืออะไร ติดเชื้อได้จากทางไหนบ้าง มีอาการกี่ระยะ HIV ต่างกับ AIDS อย่างไร และมาศึกษาแนวทางป้องกันและรักษาหากเป็นผู้ติดเชื้อหรือต้องใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อกัน
HIV นั้นคือเชื้อไวรัสที่เป็นต้นตอที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยสำหรับโรคเอดส์ (AIDS) นั้นคือระยะของการติดเชื้อของ HIV จนร่างกายมีคุ้มกันต่ำจนกลายเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเชื้อ HIV นั้นเป็นไวรัสที่เมื่อติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งโดยมีชื่อว่าซีดีโฟร์ CD4 หรืออาจอีกชื่อที่เรารู้จักกันคือ T-cells ประเภทหนึ่ง แน่นอนว่าเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นเซลล์ในการกำจัดเซลล์ติดเชื้อในร่างกายต่ำลง ภูมิคุ้มกันในร่างกายนั้นจะค่อย ๆ ลดลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ จากโรคฉวยโอกาสได้ ตัวอย่างโรคเช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ PJP วัณโรค ท้องเสียเรื้อรัง เป็นต้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคแทรกซ้อน รวมถึงมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อและทำให้มีอาการจากโรคต่าง ๆ รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตได้
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV ในระยะเริ่มต้นหรือมีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ยังอยู่ในระยะที่ดีจะถูกเรียกว่า “ผู้ติดเชื้อ HIV” โดยหากผู้ที่ติดเชื้อ HIV เป็นระยะเวลานานไม่ได้รักการรักษาอย่างถูกต้องจนภูมิคุ้มกันโรคต่ำลงนั้นจนถึงระดับมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดอาการเจ็บป่วยจากโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ในระยะนี้เราจะเรียกผู้ป่วยว่า “ผู้ป่วยเอดส์” ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและมีการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นโรคต่างๆซ้ำ ต้องได้รับการรักษาจนกว่าเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ ภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายสูงขึ้นเพียงพอที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆและการติดเชื้อจากโรคฉวยโอกาส และต้องได้รับการรักษาจนภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อ HIV ได้ ซึ่งการรักษา HIV นั้นจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนโดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันการรักษา HIV มีความก้าวหน้าจากการพัฒนาของวงการแพทย์ เทคโนโลยี สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว มียาต้านไวรัส HIV ประสิทธิภาพสูงเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ในระดับที่ป้องกันการเป็นเอดส์ (AIDS) ช่วยเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรงขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิต และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้นั่นเอง
การติดเชื้อ HIV นั้นข้อสำคัญที่ควรจำนั่นคือ เป็นเชื้อที่สามารถติดจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสาเหตุของการติดเชื้อนั้นช่องทางการติดที่สำคัญนั่นคือ
การติดเชื้อ HIV นั้นจะสามารถแบ่งระยะของการติดเชื้อตามจำนวนเชื้อ HIV อาการ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ
ระยะนี้เป็นระยะแรกของการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะเป็นการติดเชื้อช่วง 2-4 สัปดาห์แรกหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อซึ่งในระยะนี้ เชื้อไวรัส HIV จะแบ่งตัวเพิ่มตามจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ T cells ให้ลดจำนวนอย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วงแรกที่เชื้อมีปริมาณไม่มาก ร่างกายยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อ โดยในบางรายนั้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีอาการคลื่นไส้ ถ่ายเหลว มีฝ้าขาวในช่องปาก โดยอาการดังกล่าวจะหายไปเองในเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อ HIV คิดว่าตนเองป่วยเป็นไข้หวัดทั่วไปเท่านั้น จึงไม่ได้ไปพบแพทย์ และทำการตรวจเลือดส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อ HIV เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ระยะนี้ผู้ติดเชื้อ HIV จะไม่แสดงอาการใด ๆ ร่างกายนั้นแข็งแรงเหมือนคนปกติทั่วไป โดยเซลล์ HIV นั้นจะแบ่งจำนวนไปเรื่อย ๆ และทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ T-cells ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีจำนวนที่ลดลงเรื่อย ๆ จนเมื่อระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำลงจนมีจำนวนเซลล์ 200-1000 เซลล์ต่อลูกบาสก์มิลิเมตรนั้น จะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเริ่มต่ำลง โดยส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่ง่ายขึ้น โดยในระยะนี้นั้นจะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี สำหรับผู้ที่มีการดำเนินโรคเร็ว (Rapid progressor) นั้นอาจมีระยะนี้เพียง 2-5 ปีเท่านั้น
ระยะนี้นั้นสามารถเรียกผู้ป่วยว่าเป็น ผู้ป่วยเอดส์ โดยระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อมเต็มที่ ซึ่งเมื่อตรวจระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวจะพบว่ามักมักจำนวน CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งส่งผลให้ร่างกายอ่อนแออย่างมาก เป็นผลให้เชื้อโรค แบคทีเรียต่าง ๆ เจริญเติบโตในร่างกายได้มาก และเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งส่วนใหญ่โรคฉวยโอกาสนั้นจะรักษายากและสามารถติดเชื้อเดิมซ้ำได้หรือหลายชนิดรวมกัน ซึ่งระยะนี้ผู้ป่วยจากการติดเชื้อ HIV จะมีอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้ กลืนลำบาก อ่อนเพลีย มองไม่ชัด สายตาพร่ามัว มีผื่นคันตามผิวหนัง ไม่มีสมาธิ ปวดศีรษะรุนแรง โดยผู้ป่วยระยะนี้สามารถเป็นโรคมะเร็งจากการแทรกซ้อนได้เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในสมอง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งขอบผนังหลอดเลือด เป็นต้น
โดยผู้ติดเชื้อ HIV จำนวนหนึ่งนั้นสามารถรักษาการติดเชื้อจนหายขาดด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกสันหลังซึ่งเป็นการรักษาแบบพิเศษที่ต้องมีเงื่อนไขต่าง ๆ ครบถ้วน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นการรักษาการติดเชื้อ HIV จะเป็นการให้ยาต้านไวรัส จุดประสงค์การให้ยานั้นเพื่อฟื้นฟูและชะลอความเสื่อมของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อให้ผู้ที่ติดเชื้อ HIV มีร่างกายที่แข็งแรงปกติมากที่สุด โดยผู้ติดเชื้อนั้นต้องได้มีวินัยในการทานยาต้านไวรัสอย่างเป็นประจำตามคำแนะนำจากแพทย์ และรักษาสุขภาพร่างกายให้ดี
อย่างที่กล่าวไปว่าเชื้อ HIV นั้นสามารถติดจากคนสู่คนได้ โดยเชื้อ HIV นั้นจะอยู่ในสารคัดหลั่งในร่างกาย โดยสามารถแพร่เชื้อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ การใช้เข็มร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ HIV การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การสัมผัสกับเลือดผู้ติดเชื้อ การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ การสัมผัสกับแผลเปิดของผู้ติดเชื้อนั้นมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อเช่นกัน
การรักษาการติดเชื้อจาก HIV จะเป็นการยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส HIV และหยุดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว โดยเพื่อให้เข้ารับการรักษาได้ผู้ที่ติดเชื้อ HIV นั้นต้องได้รับการยืนยันผลการตรวจเลือดเป็นบวก หรือติดเชื้อ HIV โดยทางแพทย์นั้นจะให้ยาต้านไวรัสในกลุ่ม ARV (AntireTroviral drugs) ซึ่งสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสและการทำลาย HIV โดยตัวอยา ARV จะอยู่ด้วยกันหลายชนิดเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรักษามากกว่ายาชนิดเดียว ซึ่งกลุ่มจาก ARV หลายชนิดนั้นจะช่วยกันออกฤทธฺ์เพื่อลดจำนวนเชื้อไวรัส HIV ให้ถึงในจำนวนที่ไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองติดเชื้อ HIV โดยภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง (PEP:Post-exposure prophylaxis) นั้นควรรีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการรับยา ARV เพื่อต้านเชื้อไวรัส และป้องกันการพัฒนาของไวรัสไปอยู่ในระดับที่ตรวจพบได้ โดยสำหรับผู้ที่ไม่ติดเชื้อแต่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อขอรับยา ARV เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งต้องทานยาทุกวัน และพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหลังจากสัมผัสกับความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งนั้นสามารถรักษาการติดเชื้อจนหายขาดด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกสันหลังซึ่งเป็นการรักษาแบบพิเศษที่ต้องมีเงื่อนไขต่าง ๆ ครบถ้วน
การติดเชื้อ HIV นั้นในระยะแรกถือว่าไม่ใช่ผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งเชื้อ HIV นั้นเมื่อร่างกายติดเชื้อตัวไวรัสนั้นจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ T-cells ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ โดยการติดเชื้อ HIV นั้นมาจากหลายสาเหตุและสามารถส่งต่อคนสู่คนได้ โดยหากปล่อยให้โรคดำเนินเป็นระยะเวลานานจนเป็นโรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือ AIDS จะทำให้สามารถเป็นโรคฉวยโอกาสได้ ซึ่งการรักษาเชื้อ HIV นั้นจะเป็นการทานยาต้านไวรัสเพื่อยับยั้งการแพร่เชื้อ และฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที