มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 ส.ค. 2009 10.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1881429 ครั้ง

การเดินทางของมนุษย์จะต้องมีแผนที่ การสร้างตึก สร้างบ้าน จะต้องมีพิมพ์เขียว การทำธุรกิจเช่นกันจะต้องมีแผน แผนที่ว่านี้คือแผนธุรกิจ เพื่อความสำเร็จและขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือเวลาที่ท่านต้องการหุ้นส่วน เพื่อให้เขาเหล่านั้นเชื่อว่าการทำธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือเพียงใด มิใช่พูดแค่ลมปาก แต่เป็นจริงได้ ที่สำคัญชาวบ้าน ที่จะทำธุรกิจ ไม่มีรู้ความสามารถที่จะเขียนแผนธุรกิจได้ เพราะจะต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความเชียวชาญในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเขียนขึ้นมาได้ บทความนี้ จะเขียนขึ้นอย่างง่าย ๆ สำหรับคนที่จะทำธุรกิจแต่ไม่มีพื้นฐานความรู้ ขาดความเชี่ยวชาญ ในการทำจัดทำแผนธุรกิจ และไม่เชียวชาญในการประกอบการธุรกิจ


วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ

วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ
      1.  เพื่อเตรียมพร้อมในการดำเนินงาน
      2.  เพื่อเป็นแนวทางธุรกิจให้ผู้กู้ หรือ ผู้ร่วมทุนสามารถขอกู้เงิน หรือระดมทุนมาลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจที่ต้องการจะทำ
      3.  เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินการธุรกิจอค้าปลีกขนาดย่อมเพราะ   เป็นการวางแผนล่วงหน้าออกมาในรูปของการจัดทำแผนธุรกิจ   และมีแผนสำรองเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้                                                                                                                                                     

       4.   เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมมีการลำดับความคิด การเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มประกอบการค้าปลีกขนาดย่อม

                            ธนาคารและสถาบันการเงินจะพิจารณาแผนธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม  ที่เสนอ  เพื่อตัดสินใจว่าจะให้การสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน   แผนธุรกิจจะเป็นเสมือนเครื่องมือในการสื่อความหมายว่าผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมมีความตั้งใจและ ต้องการความสำเร็จในการดำเนินการ ดังนั้นการเขียนแผนธุรกิจควรมีหลักเกณฑ์พื้นฐานของการจัดทำแผนธุรกิจ  โดยยึดรูปแบบสากล นอกจากนี้  แผนธุรกิจจะแสดงวิธีการสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
                            อนึ่งในการเขียนแผนธุรกิจ  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมต้องตระหนักอยู่เสมอว่า  เมื่อเขียนแผนธุรกิจเสร็จ  แผนดังกล่าวจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารและสถาบันการเงิน รวมทั้งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ ให้มีความรู้สึกว่าผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนโดยมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจโดยไม่คาดคิดมาก่อน  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมทำได้โดยวิเคราะห์อุปสงค์ที่อาจเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก เช่น มีสินค้าทดแทนเกิดขึ้น  รสนิยม  พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า จะต้องทำการวิจัยหาความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐคอยให้การสนับสนุนข้อมูลต่างๆ โดยไม่ต้องทำการวิจัยทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ได้อีกด้วย 
                   


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที