นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4292111 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


2.4 โมเลกุล ,เกรน และผลึก, สารประกอบ

2.4 โมเลกุล (Molecules)

      วัตถุ หรือสสารเกิดขึ้นได้โดยการเชื่อมโยงกันทางเคมีของธาตุตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป ที่เราเรียกว่า “สารประกอบ (Compound เมื่อธาตุสองธาตุ หรือมากกว่า มาผสมกันอะตอมเหล่านั้นจะเชื่อมโยงกัน จนเป็น โมเลกุลของสารประกอบ

ยกตัวอย่าง อะตอมของออกซิเจน และอะตอมของไฮโดรเจนผสมกันก็จะเป็นโมเลกุลของน้ำ (H2+O = H2O)

      อะตอมที่เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุ ในทำนองเดียวกันโมเลกุลเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสารประกอบ ธาตุสองธาตุ หรือมีมากกว่าสองธาตุรวมกันจนเป็นโมเลกุล

 

รูปธาตุ และสารประกอบ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอแสดงอะตอม โมเลกุล และธาตุ

 

      อะตอมในแต่ละโมเลกุลจะเชื่อมต่อกันโดยกริยาทางเคมี อะตอมจะรับ หรือให้ ซึ่งอยู่ร่วมกันในอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงแหวนวงนอกสุด เช่น ในโมเลกุลของน้ำดูที่รูปด้านล่าง ออกซิเจนรับเอาอะตอมของไฮโดรเจน เพื่อมาเติมเต็มที่วงแหวนวงนอก 

 

รูปแบบการจับตัวกันของโมเลกุลของน้ำโดยมีกริยาเคมีกระทำระหว่างกันจนเป็นโมเลกุล

 

2.5 เกรน และผลึก (Grains and Crystals)

      เมื่อมีการรวมกันกลุ่มใหญ่ของอะตอม หรือโมเลกุล จนเป็นผลสำเร็จ กลุ่มของอะตอม หรือโมเลกุลนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ครอบครัว (Family) ครอบครัวของอะตอมอาจมีขนาดใหญ่พอที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาทิเช่น ครอบครัวที่รู้จัก ที่เราเรียกว่า “เกรน” และ “ผลึก” อะตอมทั้งหมดในเกรน หรือผลึกจะเรียงตัว และก่อรูปแบบอย่างเหมาะสมเป็นระเบียบ

 

รูปเกรนที่เรียงตัวกันจนเป็นผลึก

 

รูปความสวยงามของแก้วผลึกเกิดจาการเรียงตัวกันของเกรนอย่างเป็นระเบียบ เกิดขึ้นตามธรรมชาติในถ้ำ

 

2.6 สารประกอบ (Compounds)

      สารประกอบ คือธาตุที่เชื่อมต่อกันทางเคมีตั้งแต่สองธาตุขึ้นไปประกอบรวมกัน ดังนั้นสารประกอบจึงไม่ได้มาจากธาตุเดียว มันจะผสมกันอย่างน้อยสองธาตุอยู่ในตัวเดียวกัน

 

รูปสารประกอบเกิดจากการเชื่อมต่อกันทางเคมีของธาตุตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป

 

      สารประกอบที่เชื่อมโยงกันทางเคมี เป็นการยากที่จะทำการแยกธาตุที่อยู่ภายในออกจากกัน เพราะจะเชื่อมต่อกันแบบถาวร ถ้าไม่มีปฏิกิริยาเคมีแบบพิเศษที่ทำให้สารประกอบเกิดการเปลี่ยนแปลงจึงสามารถแยกธาตุออกมาได้

      ลักษณะหนึ่งที่น่าสนใจของสารประกอบคือมันอาจมีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือคุณสมบัติของสารประกอบจะเป็นไปตามคุณสมบัติของธาตุที่มาประกอบกัน เช่น เหล็กกำมะถัน ทำมาจากธาตุเหล็ก และธาตุกำมะถัน เหล็กเป็นสารที่เป็นแม่เหล็ก แต่กำมะถันไม่ใช่สารที่เป็นแม่เหล็ก

 

รูปธาตุไฮโดรเจน กับออกซิเจนรวมตัวกันทางเคมีจนเป็นสารประกอบที่เรียกว่าน้ำ

 

รูป น้ำเป็นสารประกอบ

 

รูป ลักษณะเด่นของสารประกอบอาจจะมีความแตกต่างในแต่ละคุณสมบัติของธาตุ ตัวอย่างสารประกอบไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งแต่ละธาตุเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ไฟติด แต่เมื่อผสมกันเป็นรูปของน้ำแล้วมันสามารถดับไฟได้

 

      น้ำเป็นสารประกอบ ที่ประกอบไปด้วยธาตุของไฮโดรเจน และออกซิเจน สถานะปกติของธาตุทั้งคู่เป็นแก๊ส อย่างไรก็ตาม เมื่อเชื่อมต่อกันทางเคมี มันก็จะกลายเป็นน้ำ ที่สามารถใช้ดับไฟได้ ดูรูปด้านล่าง

 

รูป ลักษณะเด่นของสารประกอบอาจจะมีความแตกต่างในแต่ละคุณสมบัติของธาตุ ตัวอย่างสารประกอบไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งแต่ละธาตุเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ไฟติด แต่เมื่อผสมกันเป็นรูปแบบน้ำแล้วมันสามารถดับไฟได้

 

 

รูปธาตุโซเดียม (Na)

 

รูปแก๊สคลอรีน (Cl)

 

รูป แบบจำลองพันธะทางเคมีของ NaCl

 

รูปโซเดียมคลอไรด์บริสุทธิ์ หรือที่รู้จักกันว่าเกลือแกง

 

วิดีโอแสดงสารประกอบ และของผสมทางเคมี

 

      ธาตุโซเดียม และคลอไรด์ เมื่อผสมกันทางเคมี ผลที่ได้ก็คือเกลือแกง โซเดียม และคลอไรด์ เมื่อเป็นธาตุเดี่ยวโดยทั่วไปแล้วทั้งคู่จะมีพิษโซเดียมมองดูบริสุทธิ์ สีออกเป็นโลหะคล้ายเงิน สามารถเผาไหม้ได้ ส่วนคลอไรด์เป็นแก๊สสีเขียว แก๊สพิษนี้สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตได้ แต่เมื่อนำสารสองชนิดมาผสมกันทางเคมีก็จะกลายเป็นเกลือแกง ซึ่งสามารถกินได้

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“การมีชีวิตยืนนานเท่าใดนั้นไม่สำคัญ

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ควรมีชีวิตอย่างไร เพื่ออะไร”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที