มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 10 พ.ค. 2014 20.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 451255 ครั้ง

เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเองเป็นสิ่งที่คนทุกคนภาคภูมิใจ แต่รู้ไว้ว่า มันยาก ถ้าเข้ามาทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะธุรกิจแต่ละประเภทแต่ละธุรกิจ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จแตกต่างกันแต่มนง่ายถ้าอ่านเรื่องนี้ มีหลายตอนติดตามอ่านตลอด แล้วท่านจะรู้ว่าเถ้าแก่มืออาชีพเป็นง่ายนิดเดียว


เถ้าแก่กับรูปแบบธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว

รูปแบบเจ้าของคนเดียว (Sole or Individual Proprietorship)

                   เป็นรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินกิจการโดยบุคคลเพียงคนเดียวและเป็นเจ้าของเพียงคนเดียวหรือคู่สามีภรรยาร่วมกันเป็นผู้ก่อตั้งกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหวังผลกำไรเป็นหลักส่วนมากมักเป็นกิจการขนาดเล็ก เจ้าของเป็นผู้บริหารจัดการงานทั้งหมด ดังนั้นจึงมีความคล่องตัวในการจัดการงานสูง เนื่องจากสามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆได้เอง หากกิจการมีกำไรเจ้าของกิจการจะได้รับผลตอบแทนในรูปของกำไรแต่เพียงผู้เดียว แต่ถ้าในกรณีตรงข้ามกิจการเกิดการขาดทุนเจ้าของกิจการจะต้องรับผิดชอบผลการขาดทุนและหนี้สินที่เกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียวเช่นกัน ในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบเจ้าของคนเดียวนี้มีประโยชน์ในกรณีที่เจ้าของกิจการมีเงินลงทุนน้อย ธุรกิจที่จะดำเนินการไม่มีความยุ่งยากแต่หากกิจการต้องการหาแหล่งเงินทุนเพิ่มจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงินและถ้าหากเจ้าของมีประวัติด้านการทำธุรกรรมการเงินที่ไม่ดีด้วยแล้วจะยิ่งส่งผลในแง่ลบอีกด้วย

ข้อดีของรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินโดยบุคคลเพียงคนเดียว

1.       การจัดตั้งและการยกเลิกกิจการ

2.       อิสระในการบริหารจัดการ

3.       ความภาคภูมิใจในความสำเร็จและเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้   

4.       ส่วนแบ่งผลประโยชน์

5.       ปัญหาในการจัดทำบัญชี แต่จะต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตามฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
               มีพาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
               1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
               2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
               3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
               4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
               5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
               6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที