นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.26 น. บทความนี้มีผู้ชม: 837030 ครั้ง

www.thummech.com
คือการทำความเย็นที่เข้าใกล้ หรือถึงอุณหภูมิของศูนย์องศาสัมบูรณ์ ความเย็นระดับนี้เป็นความเย็นที่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะหยุดการเคลื่อนไหว ถ้ากล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือความตาย ที่ยิ่งกว่าความตายเสียอีก


11 วัฏจักรการทำความเย็น

วัฏจักรการทำความเย็น

                วัฏจักรการทำความเย็นที่แสดงในที่นี้เป็นระบบการใช้น้ำยา R-22 มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ เครื่องอัด และเอ็กแพนชั่นวาล์ว วาล์วนี้จะเป็นเขตแบ่งกันระหว่างด้านความดันสูง และด้านความดันต่ำ

                มันเป็นวัฏจักรการทำงานที่ย้อนกลับได้ เป็นระบบปิด สามารถแปรเปลี่ยนพลังงานจากระดับต่ำไปสู่ระดับที่สูง ซึ่งตรงข้ามกับพลังงานทางธรรมชาติ ที่เปลี่ยนจากพลังงานระดับสูง ไปสู่พลังงานที่มีระดับต่ำ ในวัฏจักรการทำความเย็นจึงต้องมีการป้อนพลังงานเข้าไปในวัฏจักรเสมอเพื่อชดเชยกับงานที่ต้องเสียไปในรูปของความร้อน ประสิทธิภาพจึงไม่ได้ 100 % นอกจากนี้ประสิทธิภาพยังขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ และการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดอีกด้วย

                หลักการทำความเย็นขั้นพื้นฐานทั่วไปสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำความเย็นที่เป็นระบบไครโอเจนิกส์ได้อย่างดี         

 

 

 

ระบบการทำความเย็นอย่างง่าย

 

25769_refrig.jpg

รูปที่ 2 วัฏจักรการทำความเย็นอย่างง่าย

 

เครื่องอัด (Compressor)

   เครื่องอัดเป็นตัวเพิ่มพลังงานของสารจากก๊าซที่มีความดันต่ำ, อุณหภูมิต่ำ ไปเป็นของก๊าซที่มีความดันสูง, อุณหภูมิสูง สารจะไหลไปตามท่อทางไปที่เครื่องควบแน่น

 

เครื่องควบแน่น (Condensor)

                เครื่องควบแน่นเป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนของสารความเย็น กล่าวง่าย ๆ ก็คือทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของสารความเย็น ที่มาจากเครื่องอัด จากก๊าซไปเป็นของเหลวที่เย็นตัวลง แต่ความดันยังสูงอยู่

 

เอ็กแพนชั่นวาล์วทางความร้อน (Thermal expansion valve)

                หน้าที่ง่าย ๆของเอ็กแพนชั่นวาล์ว ก็คือจะทำหน้าที่ขยายของเหลว ไปเป็นก๊าซเย็นอย่างฉับพลัน ลักษณะของเอ็กแพนชั่นวาล์ว คือการลดพื้นที่หน้าตัดของท่อทางสารทำความเย็น นอกจากนี้ก็ยังมี ท่อขนาดเล็ก (Capillary tube) ที่ทำหน้าที่คล้ายกัน

                 

อีแวปเปอเรเตอร์ (Evaporator)

                อีแวปเปอเรเตอร์เป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งจากก๊าซเย็นที่มาจากเอ็กแพนชั่นวาล์วไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น (ยกตัวอย่างพื้นที่ที่ต้องการให้เย็นเช่น ภายในตู้เย็น, ภายในห้องปรับอากาศ ของไหลที่ไหลเวียนภายในห้องทำความเย็นจะเป็นอากาศ)

 

                อุปกรณ์ทั้ง 4 ที่กล่าวมานี้เป็นส่วนที่สำคัญของการทำความเย็น ไม่สามารถขาดได้ นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์เสริมอีกมากมาย เช่น ถังพักน้ำยา (Receiver tank) ตาแมว (sign glass) และเทคนิคการโค้งงอท่อ แต่จะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที