INFORWARRIOR

ผู้เขียน : INFORWARRIOR

อัพเดท: 09 ม.ค. 2009 01.06 น. บทความนี้มีผู้ชม: 238143 ครั้ง

The The Cathedral and The Bazzar หรือในชื่อภาษาไทยว่า "มหาวิหารกับตลาดสด" คือหนึ่งในบทความที่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชนนักพัฒนา
ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และมักจะกล่าวกันว่า นี่คือบทความที่ "ต้องอ่าน" สำหรับทุกคนที่สนใจโลกของโอเพ่นซอร์สอย่างแท้จริง


บทนำ ( Introduction )


โดย : Eric S. Raymond
เรียบเรียงจากต้นร่างฉบับแปลไทย : คุณเทพพิทักษ์ การุณบุญญานันท์ และคณะ

เรียบเรียงใหม่โดย : วิรัช เหมพรรณไพเราะ
เผยแพร่บทความโดย : ภาณุพงศ์ ชีม่วง




บทความเผยแพร่เรื่อง
"The Cathedral and The Bazzar" หรือในชื่อภาษาไทยว่า"มหาวิหารกับตลาดสด" นี้คือบทความที่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และมักจะกล่าวกันว่านี่คือบทความที่ "ต้องอ่าน" สำหรับทุคนที่สนใจโลกโอเพ่นซอร์สอย่างแท้จริง ผมเองเข้ามาเกี่ยวข้องกับโลกโอเพ่นซอร์สเมื่อประมาณปี 2002 โดยเริ่มต้นจากระบบปฏิบัติการ Linux ที่ต้องการนำมาติดตั้งให้กับเครื่องแม่ข่ายของบริษัท และได้ติดต่อกับแฮ็กเกอร์รายหนึ่งด้วยความบังเอิญ ซึ่งเราก็ได้ร่วมงานกันหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ของเราดำเนินไปด้วยดีในฐานะที่เข้าเป็น “ผู้ชี้แนะ” และผมเป็น “ผู้รับคำชี้แนะ” เหล่านั้นอย่างสนุกสนาน องค์กรของเราเป็นเพียงองค์กรขนาดย่อมๆ มีกลุ่มผู้ใช้งานที่รู้จักแต่คำว่า “ใช้” เท่านั้น เราไม่เคยมี “ยอดฝีมือ” ระดับแฮ็กเกอร์มาก่อน มันจึงเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก สำหรับการเปิดโลกทัศน์ให้ผมได้สัมผัสกับอาณาจักรของโอเพ่นซอร์ส โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สนั้น มีหลายส่วนที่ละม้ายคล้ายคลึงกับแนวความคิดดั้งเดิมของผมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ มันมีลักษณะเป็นโมดูลที่ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน มีชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกันหลายชิ้นและทุกชิ้นก็สามารถดัดแปลงแก้ไขได้อย่างค่อนข้างอิสระจากกัน นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่น่ายุ่งยากรำคาญใจสำหรับผู้ใช้งานคนอื่นๆ แต่สำหรับผมแล้ว มันไม่ต่างจากการที่เด็กเล็กๆ คนหนึ่ง ที่ได้รับของขวัญเป็นตัวต่อ Lego ซึ่งเขาสามารถเล่นสนุกกับทุกๆ จิตนาการของตัวเองได้ แม้ว่าผมจะเคยใช้แนวคิดอย่างนี้กับการใช้งานระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ มาก่อน แต่ผมซึมซับได้ในทันทีเลยว่า โลกของ Linux คือโลกที่ผมสามารถใช้แนวคิดนี้ได้อย่าง “ถูกต้องตามกฎหมาย” แล้วมันก็ได้กลายเป็นความปรารถนาที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดัน “ความถูกต้อง” นี้ให้แพร่หลายออกไปในสังคมวงกว้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักสำหรับ “สังคมอบายมุข” อย่างสังคมไทยในเวลานั้น ที่จะยอมรับหรือยอมทำความเข้าใจกับการสร้าง “สังคมอุดมปัญญา” อย่างที่ชุมชนโอเพ่นซอร์สใฝฝันกัน ผมไม่เคยได้ยินชื่อของเอกสารฉบับนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ จนกระทั้งวันหนึ่งที่ผมมีโอกาสไปร่วมงานเสวนากับชุมชนโอเพ่นซอร์สในประเทศไทย และได้พบเห็นบุคคลหลายๆ ท่าน ที่เราน่าจะถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีได้ โดยเฉพาะคุณพิทักษ์ การรุณญานันท์ ที่มักจะถูกเอ่ยอ้างถึงเสมอๆ ภายในเว็บไซต์ต่างๆ ของชุมชน Linux ในประเทศไทย หรือในการพูดคุยเรื่องทั่วๆ ไปเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการตัวนี้ ชื่อของ “คุณเทพ” ได้เอยถึงความตั้งใจที่จะแปลเอกสารฉบับนี้ให้เป็นภาษาไทยทั้งฉบับ หลังจากที่เคยมีการแปลเป็นบางบทบางตอนมาก่อนหน้านั้นอย่างกระจัดกระจาย ไม่กี่วันหลังจากนั้น ผมก็ได้เห็น “มหาวิหารกับตลาดสด” ฉบับภาษาไทยที่ “คุณเทพและเพื่อน” ช่วยกันแปล โดยมันถูกโพสต์ไว้ที่ http://linux.thai.net/~thep/catb/cathedral-bazaar แล้วผมก็ได้อ่านผ่านๆ อย่างเร็วๆ เพื่อจะทำความเข้าใจกับโทนของเรื่องราวทั้งหมดในนั้น ผมยอมรับว่า นั่นคือการแสดงออกถึงความตั้งใจที่ดี และเป็นความมุ่งมั่นของทุกๆ คนต่อเอกสารฉบับดังกล่าว แต่ผมก็ยังรู้สึกไม่ค่อยชอบในกับการวางลำดับของข้อความสลับไปสลับมาระหว่าง 2 ภาษา ซึ้งแม้ผมจะเข้าในว่า เป็นเรื่องของขั้นตอนปกติในระหว่างการทำงานร่วมกันหลายๆ คน แต่ก็สะดุดอารมณ์กับสำนวนการแปล (ที่ยังไม่เสร็จสมบรูณ์นั้น) ซึ่งผมเองก็ระบุลงไปชัดเจนไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เพราะมันต่างจิตต่างใจและต่างสไตล์กับที่ผมอยากจะให้มันเป็น รวมทั้งการอ่านหนังสือจากหน้าเว็บ ก็ไม่ใช่วิถีทางที่ผมถนัดนัก ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจคัดลอกลงมาทั้งฉบับ เพื่อที่จะจัดการเรียงลำดับบรรทัดใหม่ และตั้งใจที่จะเปลี่ยนฟอร์แมตให้กลายเป็นไฟล์ประเภท pdf เพื่อให้มันสะดวกกับการเผยแพร่ต่อๆ ไป โดยจะผนวกเอาต้นฉบับภาษาอังกฤษของ Eric Steven Raymond (ESR) ไว้ท้ายเอกสาร เพื่อให้ทุกคนสามารถเห็นต้นฉบับดังเดิมของเขา และใช้ในการตรวจสอบคำแปลที่ผม “เกลา” ใหม่จนแทบจะทั้งฉบับ ด้วยเหตุผลทางเทคนิคบางประการ เหตุผลแรกที่จะต้องเกลาภาษาใหม่นั้น เป็นเพราะมีคำไทยหลายคำที่ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้ในลักษณะที่เป็นอยู่ตามสำนวนเดิม แต่อีกเหตุผลหนึ่งนั้น เป็นเพราะผม “จำเป็น” ต้องเพิ่มเติมคำบางคำเข้าไปในประโยค เพื่อให้การตัดคำที่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์ของ OpenOffice V2.0.4 ที่ผมใช้งานอยู่ สามารถจัดการได้อย่างมีความเรียบร้อยพอเพียงกับอารมณ์ทางสายตาของผมเองด้วย (แม้ว่าจะมีการปรับปรุงเอกสารขั้นสุดท้าย ด้วย OpenOffice V2.4 แล้วก็ตาม) ซึ่งการเพิ่มเติมคำบางคำเข้าไปเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ย่อมต้องมีผลกระทบกับรูปประโยคเดิมของสำนวนแปลนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากจะทำ เพื่อให้ได้เอกสารฉบับภาษาไทยที่พร้อมจะถูกนำไปเผยแพร่ได้ในวงที่กว้างมากขึ้น (โดยเหตุที่ว่านี้ ผมได้แต่งเติมเข้าไปใหม่ หรือส่วนไหนที่เป็นสำนวนเดิมของคุณเทพกับเพื่อนๆ จึงของอนุญาตที่จะถือว่า ผมทำหน้าที่เป็นเพียง “ผู้เรียบเรียงประโยค” เท่านั้น และไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะถือครองลิขสิทธิ์ใดๆ ของสำนวนที่เรียบเรียงขึ้นมาใหม่ทั้งหมดนี้) อนึ่ง แม้ว่าผมเองก็เห็นด้วยกับการเขียนชื่อคน หรือชื่อเฉพาะบางชื่อด้วยภาษาไทย แต่เนื้องจากเอกสารทั้งฉบับกลับติดปัญหาที่ชื่อของ Seung-Hong Oh (และชื่อของอีกบางท่านที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ) ซึ่งยากจะหาคนที่ออกเสียงได้ถูกต้องจริงๆ โดยผมเข้าใจว่า น่าจะมาจากการเขียนทับเสียงจากภาษาจีนกวางตุ้ง และมีการออกเสียงบางอย่างที่ไม่มีสระในภาษาไทยให้สามารถใช้แทนได้เลย ดังนั้น ผมจึงจัดการแก้ไขชื่อเฉพาะทุกชื่อ ให้กลับไปใช้ภาษาอังกฤษแทน เพราะไม่อยากให้มันต้องสะดุดอารมณ์ใครตรงชื่อเรียกยากของคุณ Seung-Hong Oh (กับบุคคลอื่นๆ อีกบางคน) ที่จะกลายเป็นชื่อคนเพียงไม่กี่ชื่อ ที่เหมือนถูกกีดกันให้ไปใช้อีกหนึ่งมาตรฐานของงานแปล ผมต้องขอขอบคุณทุกๆ ความพยายามจากชุมชนโอเพ่นซอร์ส ที่มีความตั้งใจที่จะเผยแพร่เอกสารฉบับดังกล่าวให้กับสังคมไทย และไม่กล้าที่จะบอกว่าสำนวนที่เกลาขึ้นมาใหม่จากต้นฉบับภาษาไทยที่ “คุณเทพและเพื่อนๆ” ทุ่มเททำไว้นั้น สำนวนที่เกิดขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดียวกันนี้ ก็เป็นเรื่องที่จะจะร่วมกันแสดงความยินดี เพราะอย่างน้อยที่สุด คนที่แปลนั้นแหละ จะเป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้อ่านฉบับของเอกสารนี้อย่างละเอียดละออทุกๆ ตัวอักษร


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที