Firebird

ผู้เขียน : Firebird

อัพเดท: 17 พ.ย. 2010 10.14 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6652 ครั้ง

ในการเรียนรู้ระบบของ Lean Manufacturing บางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้อง เข้าใจถึงแรงขับ และแนวคิดที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งนำไปสู่การเข้าใจต่อระบบ Lean อย่างถ่องแท้ เพราะเครื่องมือต่างๆของ Lean ล้วนมาจากแนวคิดดั้งเดิม เสมอ


แรงขับที่อยู่เบื้องหลังของระบบการผลิตแบบ Lean

           หลายคนอาจจะสงสัยว่า ระบบการผลิตแบบ Toyota Production System และระบบการผลิตแบบ Lean Manufacturing เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร หากมองย้อนไปในอดีต และทำความเข้าใจถึงรากเหง้า และที่มาของการกำเนิด ระบบการผลิตแบบ Toyota Production System และ การมีชื่อใหม่ ที่ชื่อว่า Lean Manufacturing

ในยุคของการผลิตเชิงมวล และเป็นการผลิตแบบทำทีละมากๆ โดยขณะนั้น อำนาจอยู่ที่ผู้ผลิต กล่าวคือ ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอ  ถือเป็นยุคการผลิตที่รุ่งโรจน์ที่สุด คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า กำเนิดที่ โรงงาน  Ford ในสหรัฐอเมริกา ที่มีระบบการผลิต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใช้สายพานลำเลียง ในการเคลื่อนย้ายรถ ไปตามสถานีงานต่างๆ โดยมี Frederick W. Taylor เป็นผู้ออกแบบ โดยเค้าได้เปลี่ยนวิถี จากการประกอบรถยนต์โดยช่างฝีมือ มาสู่กระผลิตแบบ แบ่งงานย่อย ซึ่งส่งผลให้ เกิดใช้ทักษะน้อยลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ และได้ชื่อว่า เป็นบิดาของวิชา Industrial Work Study (Time and Motion Study) ด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า ทั้ง Taiichi Ohno และ Eiji Toyoda ก็ได้ไปดูงาน ที่ Ford ด้วยเช่นเดียวกัน คำถามก็คือว่า ทำไมในขณะนั้น ทั้งสองคนนี้ จึงไม่ทำตามแบบ Ford ทำ? ทำไมจึงต้องมาคิดค้นหลักการใหม่ที่ซับซ้อน และยุ่งยาก แม้ในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่ทำความเข้าใจ และปฏิบัติได้ยากอยู่เหมือนกัน หากทำความเข้าใจ ในสถานการณ์ และเงื่อนไข ณ ขณะนั้นของทั้งสองคนคือ

1, ตลาดเป็นของผู้ผลิต ความต้องการสูงมาก จนต้องผลิตสีเดียว คือ สีดำ ในรุ่น Ford Model T แต่ที่ ญี่ปุ่นไม่ใช่อย่างนั้น ตลาดเป็นของผู้ซื้อ เพราะ ขนาดของตลาดเล็ก และผู้ผลิตหลายเจ้า ความต้องการรถมีปริมาณน้อย แต่หลากหลาย

2, ต้นทุนในการผลิตแบบ Ford นั้นสูงมาก แต่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับ Ford เพราะ เนื้อที่ในการจัดเก็บเยอะ ที่ดินราคาถูก ทรัพยากรมาก ราคาถูก แต่ที่ ญี่ปุ่นตรงข้ามกัน ราคาที่ดินแพง การจัดเก็บต้องการโกดังและการดูแลรักษา รวมถึง เงินลงทุน ที่จำกัดด้วย เช่นกัน

            เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไข และกำแพงที่ยิ่งใหญ่ดังกล่าว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำแบบเดียวกับที่ Ford ทำ แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้เกิดแนวคิดของ Toyota Production System? การจุดประกายแนวคิดนี้ เริ่มจากการที่ ทั้งสองคนได้ไปซื้อของ ที่ซูเปอร์มาเก็ต ที่มีการวางสินค้าในปริมาณต่ำ เมื่อมีคนหยิบไป ก็จะมีการเติมเข้ามา ซึ่งเป็นจุดแรกในการจุดประกาย ของหลักการ TPS ซึ่งยังเป็น จินตภาพอยู่ไม่น้อยในขณะนั้น

          ในระหว่างปี 1948-1975 ทั้งสามคนคือ Taiichi Ohno, Shigeo Shingo และ Eiji Toyoda ได้มีการพัฒนาระบบโตโยต้า ขึ้นมา แต่ยังไม่มีใครทราบ ในตอนแรกที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น เค้าเรียกว่า Just in Time โดยหลักการของ JIT ก็คือ ทุกๆกระบวนการนั้น เวลาที่ใช้ในการผลิตจะต้อง น้อยกว่าหรือ เท่ากับจังหวะเวลาที่ลูกค้าต้องการ (Takt time) โดยมีเงื่อนไขหลัก 3 อย่างคือ 1,สินค้าที่ต้องการ 2,ในเวลาที่ต้องการ(Cycle time จะต้องน้อยกว่า หรือเท่ากับ Takt Time ;การันตี ได้ว่าจะส่งมอบได้ทัน) 3,ในจำนวนที่ต้องการ(ป้องกัน Over production โดยเงื่อนไขของระบบคุณภาพจะต้องสมบูรณ์ จึงจะได้จำนวนที่ถูกต้อง เพราะจำนวนและเวลามีความสัมพันธ์กันอยู่) หลังจากที่ Toyota ได้พัฒนาหลักการของตนมาระยะหนึง จึงได้เรียกใหม่ว่า TPS โดยมี JIT เป็นเสาหนึ่งที่ต้องมี ส่งผลให้ Toyota มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำมาก

            คำว่า Lean มาจากไหนล่ะ? หลังจากวิฏฤติน้ำมันในปี 1973 ส่งผลให้ธุรกิจรถยนต์ทุกค่าย ต่างขาดทุนอย่างหนักและเกือบจะเข้าสู่สภาะล้มละลาย แม้แต่ Ford เองก็ตาม แต่ผลประกอบการในปี 1994 ของ Toyota กลับเป็นบวก คนที่ตกใจมากที่สุดก็หนีไม่พ้น สหรัฐอเมริกา ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และได้เข้าไปศึกษาเกี่ยวกับระบบการผลิตของโตโยต้า และเรียกมันใหม่ว่า Lean Manufacturing


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที