วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 24 เม.ย. 2024 21.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1601 ครั้ง

วิธีเก็บเงิน ออมเงิน


งบการเงิน ตัวช่วยไปสู่ความสำเร็จในอนาคตของทุกกิจการ

งบการเงิน ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

งบการเงินเป็นรายงานที่เกี่ยวข้องบัญชีการเงิน เป็นรายงานสำคัญที่ขาดไม่ได้ มันช่วยให้เห็นภาพรวมของกิจการได้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

การที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจใด ๆ ก็ตาม ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการบริหารกิจการ และบริหารการเงินควบคู่กันไป เพราะการสร้างยอดขายสูงเพียงอย่างเดียว โดยไม่ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็สามารถส่งผลให้มีผลกำไรน้อยหรือติดลบก็เป็นได้ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ไม่ยากถ้าผู้บริหารให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงิน

เครื่องมือที่ใช้วัดความสำเร็จ และเสถียรภาพของกิจการว่าอยู่ในระดับใดก็คือ “งบการเงิน” นั่นเอง เป็นกุญแจสำคัญที่กลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในกิจการจำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์ถึงฐานะทางการเงินของบริษัท บริหารจัดการเงินอย่างไร ทำกำไรมากน้อยแค่ไหน รสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ดีแค่ไหน หรือมีหนี้สินมากน้อยเพียงไร


ทำความเข้าใจ งบการเงินว่ามีกี่แบบ อะไรบ้าง

งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึงรายงานเกี่ยวกับด้านการเงินที่เป็นผลมาจากการดำเนินงาน ในทุก ๆ องค์กร/บริษัท/สถาบันการเงินจะต้องแสดงงบการเงินรวมให้แก่ผู้ถือหุ้นได้รับรู้ว่าบรรลุเป้าหมายหรือยัง จะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ เท่าไร

งบการเงิน คือ เอกสารทางการเงินที่สำคัญช่วยในเรื่องของการตัดสินใจลงทุน ที่ผู้ประกอบการ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในแต่ละส่วนงาน เช่น

อีกนัยหนึ่ง “งบการเงิน” เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยผู้บริหารจัดการธุรกิจ วางนโยบายพร้อมกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้นให้กับกิจการเพื่อเตรียมพร้อมเดินหน้าต่อไปในอนาคต

เราสามารถกล่าวได้ว่างบการเงินของบริษัทที่ดีต้องมีประโยชน์ต่อผู้ใช้หลาย ๆ กลุ่ม เพราะมีบุคลากรหลายกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลงบการเงินมาอ้างอิงสำหรับการวางแผนต่าง ๆ

ดังนั้นงบการเงินที่ดีควรมีลักษณะที่ดูแล้วเข้าใจง่าย เชื่อถือได้เพราะใช้ข้อมูลตามจริงที่สามารถเปรียบเทียบได้จากกิจการประเภทเดียวกัน และช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินถึงข้อผิดพลาดที่ผ่าน ๆ มาได้

โดยปกติแล้วงบการเงินของบริษัท จะมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบซึ่งมีจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกันไปดังนี้

งบการเงินมีกี่แบบ

1. งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)

งบการเงินตัวแรกเป็นงบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับมูลค่าของสินทรัพย์ (แบบหมุนเวียนและแบบไม่หมุนเวียน), หนี้สิน (แบบระยะสั้นและแบบระยะยาว), และส่วนของผู้ประกอบการ (หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ) ณ วันสิ้นงวดของแต่ละปี 

ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้วิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ การทำกำไร การจ่ายเงินปันผลประจำปี และยังใช้ในการวางแผนทางการเงินในอนาคต

ปกติฐานะทางการเงินของกิจการควรมีลักษณะนี้ : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของกิจการ

อย่างไรก็ตามงบแสดงฐานะการเงินอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกิจการ เพราะเปอร์เซ็นต์หนี้สูญ, การประมาณค่าความเสื่อมของสินทรัพย์ ฯลฯ ขึ้นกับดุลยพินิจของผู้บริหารในแต่ละแห่ง ซึ่งมูลค่านั้นอาจไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ณ วันสิ้นงวดปีก็เป็นได้

2. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)

จะแสดงรายการที่เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานสำหรับแต่ละงวดบัญชี สามารถแสดงให้เห็นถึงผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการประกอบการ ณ งวดบัญชีนั้น ๆ และสามารถใช้ในการพิจารณาหาทางปรับแก้ไขผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นในอนาคต

พูดถึงรายได้ของกิจการจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ รายได้ที่เกิดจากผลประกอบการหลัก และ รายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ยจากการลงทุน สำหรับในส่วนค่าใช้จ่ายจะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ ต้นทุนขาย, ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขายและบริหารงาน เช่น เงินเดือน ค่าเช่าสำนักงาน ฯลฯ, ค่าดอกเบี้ยเงินกู้, ภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายให้กับรัฐ เป็นต้น

การใช้งบกำไรขาดทุนเพื่อมาประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานในอนาคตก็ยังขึ้นกับนโยบายการบัญชี และการประมาณการอายุของสินทรัพย์ในการคำนวณค่าเสื่อมราคา ทำใหงบการเงินที่แสดงผลกำไร ขาดทุนมีความสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ของบริษัทอย่างมาก

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (Statement of Changes Equity)

เป็นงบแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น ณ วันสิ้นงวดของแต่ละรอบบัญชีเท่านั้น เป็นการแสดงการเปลี่ยนแปลงและกำไรขาดทุนทั้งหมดของกิจการในส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการ ช่วยทำให้รู้ถึงสาเหตุการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้นกิจการ โดยสรุปคือเป็นงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในส่วนของบุคคลที่เป็นเจ้าของกิจการ

4. งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)

จะแสดงปริมาณเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในงวดปีบัญชี เป็นงบที่แสดงถึงเงินสดหมุนเวียนในกิจการ เพียงแต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่ากิจการที่ก่อให้เงินสดเพิ่มขึ้นนั้นเป็นกิจการที่ดีและยั่งยืน เช่น เงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินการ (รายได้และค่าใช้จ่ายจากกิจการหลัก), กิจกรรมการลงทุน (เกิดจากการซื้อขายสินทรัพย์และเงินลงทุน), กิจกรรมการจัดหาเงิน (มาจากการลงทุนของเจ้าของ หรือกู้ยืมเงิน) เป็นต้น

งบการเงินที่โชว์ข้อมูลกระแสเงินสดช่วยให้สามารถประเมินสภาพคล่อง ความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการก่อให้เกิดเงินสดซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ของกระแสเงินสดในอนาคต

งบการเงิน กระแสเงินสด


ความสำคัญของงบการเงินที่มีต่อกิจการ

การทำงบการเงินเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของแผนกบัญชีที่มีหน้าที่ในการติดตาม และรวบรวมเงินทุนเข้าออก พร้อมสรุปผลของการประกอบการออกมาเป็นตัวเลขทุกสิ้นปี ช่วยให้รู้ถึงสภาพการเงินของบริษัท และทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้การดูงบการเงินเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารกิจการให้สอดคล้องและเข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยที่จะแสดงให้เห็นถึงด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. สถานะทางการเงิน

2. คุณภาพของการบริหาร และโอกาสทางการตลาด

ความสำคัญของงบการเงิน


สรุป ความสำคัญของงบการเงิน

งบการเงินเป็นรายงานด้านการเงินที่มีความสำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารมักใช้ในการวิเคราะห์ประเมินผลประกอบการของกิจการว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ กิจการนั้นยังคงอยู่ในฐานะที่มั่นคง มีความน่าเชื่อถือ สามารถดึงดูดให้นักธุรกิจมาลงทุนเพิ่มเติม

นอกจากนี้ยังเป็นความรับผิดชอบของทุกกิจการที่ต้องนำเสนองบการเงินเพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากรเพื่อเสียภาษีประจำปี ในขณะเดียวกันข้อมูลงบการเงินที่เตรียมไว้จะถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจ วางแผนโดยผู้บริหารเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที