วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 08 พ.ค. 2024 04.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1927 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


วัยทอง คืออะไร ทำความเข้าใจให้หมดกังวล

วัยทอง เป็นภาวะที่เกิดได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แล้ววัยทองคืออะไร มีอาการอย่างไร การรับมือกับวัยทอง และการดูแลร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยทอง
 

 วัยทองคืออะไร


คำว่า “วัยทอง” หรืออีกคำที่เรียกว่า “วัยหมดประจำเดือน”  นั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงหลาย ๆ ท่านกังวล แต่วัยทองนั้นเกิดได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง แต่หากเพศหญิงนั้นจะแสดงอาการออกมากว่าเพศชาย จากพออายุมากขึ้นนั้นก็ยิ่งเข้าใกล้วัยทองเข้าไปทุกที หรือบางคนที่ถึงช่วงอายุวัยทอง หรือ หมดประจำเดือนแล้วนั้น แต่ยังไม่รู้ว่าการที่ตัวเองอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง อารมณ์เสียบ้าง เหวี่ยงบ้าง เกิดจากที่สิ่งที่ตัวเองกำลังเผชิญ หรือ เป็นที่อาการของวัยทองกันแน่ ซึ่งอาการเหล่านี้บางท่านอาจเป็นมาก หรือ บางท่านอาจไม่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ตัวเองมากนัก จึงทำให้ผู้หญิงเกิดการกังวลว่าการที่เข้าสู่วัยทองนั้นอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้

วัยทอง นั้นเรียกได้ว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงอายุ ๆ หนึ่งบางรายอาจเกิดอาการไว บางรายอาจรู้ตัวทันว่าเข้าสู่วัยทองจึงเตรียมการรับมือ ดังนั้นผู้หญิงควรทำความเข้าใจว่า วัยทอง นั้นเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง วิธีเตรียมรับมือกับช่วงหมดประจำเดือน วิธีการบรรเทารักษา หรือจากเข้าสู่วัยทอง เพื่อให้การใช้ชีวิตของผู้หญิงนั้นดีเหมือนเดิมนั่นเอง


วัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน (Menopause) คืออะไร

วัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน นั้นคือ ภาวะที่เมื่อร่างกายมีอายุถึงช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ทำให้ฝ่ายหญิงนั้นผลิตไข่ลดลงเรื่อย ๆ จนรังไข่หยุดการสร้างฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน(Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) จนหยุดผลิตเป็นผลให้หมดประจำเดือนอย่างถาวร  ซึ่งจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศลดลงนั้นทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะฝ่ายเพศหญิงนั้นจะลดลงเร็วอย่างมาก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แสดงอาการชัดเจน และรุนแรงกว่าฝ่ายชายในช่วงนั้นนั่นเอง


อาการของวัยทองนั้นมักเกิดขึ้นหลังจากฮอร์โมนลดลงจนถึงจำนวนหนึ่ง อาการสามารถแสดงได้ตั้งแต่ช่วงก่อนหมดประจำเดือนจนถึงประจำเดือนหมดไปสักระยะ ทางฝ่ายหญิงนั้นจะเริ่มมีอาการจากวัยทองเมื่อหมดประจำเดือนประมาณ 1 ปีขึ้นไปโดยปกติ ซึ่งหากค่าเฉลี่ยอายุของการเกิดวัยทองแล้วนั้นจะอยู่ที่ราว ๆ อายุ 45-50 ปีสำหรับเพศหญิง และสำหรับฝ่ายชายนั้นจะอยู่ที่ 50-55 ปีเป็นต้นไปขึ้นอยู่กับจำนวนฮอร์โมนเพศและปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เข้าสู่ภาวะวัยทองนั่นเอง 


วัยทองนั้นนอกจากจะทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนแล้วนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ ดังนั้นผู้ที่มาอายุตามค่าเฉลี่ยควรหมั่นตรวจสอบร่างกาย อารมณ์ และ ควรไปต่างร่างกาย พบแพทย์ เพื่อปรึกษาและเตรียมรับมือกับการเข้าสู่วัยทอง


วัยทอง มีอาการอย่างไร

อย่างที่กล่าวไปว่าอาการจากวัยทองนั้นเป็นผลมาจากการลดลงของฮอร์โมนเพศ และเพศหญิงนั้นจะแสดงอาการมากกว่าฝ่ายชาย โดยอาการที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเข้าสู่วัยทอง มีดังนี้
 

ไม่เพียงแต่วัยทองจะส่งผลกระทบต่ออาการขั้นต้นที่กล่าวมา วัยทองนั้นยังสร้างความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้อีกเช่น โรคกระดุกพรุน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น สำหรับเพศหญิงยังทำให้มีโอกาสมีลูกน้อยลงอีกด้วย


วัยทอง อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์

อาการวัยทอง


อาการจากวัยทองนั้นหากไม่รุนแรงมาก หรือ ผิดปกติจนใช้ชีวิตไม่ได้นั้นโดยส่วนมากอาการนั้นจะค่อย ๆ หายไปเมื่อร่างกายปรับตัวได้ แต่จะมีบางอาการที่ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเหล่านั้นนั่นคือ
 

อาการจากวัยทองนั้นปกติไม่รุนแรงมากแต่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ควรตรวจร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีหากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ 


สาเหตุของอาการวัยทอง เกิดจากอะไร

เรามาดูกันถึงสาเหตุที่เข้าสู่วัยทองกัน วัยทองนั้นเกิดจากการที่ร่างกายนั้นผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง เกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง เพศหญิงนั้นจะส่งผลทำให้ประจำเดือนหมดเนื่องจากรังไข่จะเริ่มหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศที่มีชื่อว่า เอสโตรเจน(Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของวัยทองได้ 


วัยทอง กับ วิธีรักษา มีหรือไม่

วิธีรักษาวัยทอง

 


อาการจากภาวะวัยทองนั้นสามารถรักษาได้ต่างสภาพอาการ โดยสามารถแบ่งได้หลัก ๆ ดังนี้
 


รับมือกับวัยทอง เตรียมให้พร้อมหายกังวล

เนื่องจากการเข้าสู่ภาวะวัยทองนั้นทำให้การเกิดอาการต่าง ๆ ที่สามารถส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นวิธีที่มีประสิทธิภาพนั่นคือการเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพร่างกายและค่าฮอร์โมน เพื่อเตรียมรับมือต่อการเข้าสู่ภาวะวัยทอง


สรุปวัยทอง

อาการวัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน นั้นเกิดจากการที่ร่างกายลดการผลิตฮอร์โมนเพศ มักเกิดขึ้นจากโดยเฉลี่ยแล้วตั้งแต่ 40 - 55 ปี ทำให้เกิดอาการวัยทองต่าง ๆ  ซึ่งสามารถรักษาได้โดยทั้งการไม่ใช่ฮอร์โมนและแบบใช้ฮอร์โมน ผู้ที่เริ่มเข้าอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปควรทำการตรวจสภาพร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยทองนั่นเอง

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที