วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 08 พ.ค. 2024 04.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1925 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


ค่าความดันโลหิต สัญญาณเตือนโรคร้ายที่เรามีไม่รู้ตัว

ค่าความดัน

เชื่อว่า ทุกคนต้องเคยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพ หรือเข้ารับการรักษายามเจ็บไข้ และทันทีที่เราไปถึง ทุกคนจำเป็นที่จะต้องวัดค่าความดันโลหิตเสมอ แล้วทำไมเราจะต้องวัดค่าความดันด้วย ความดันโลหิตนี้ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร สามารถบ่งบอกสุขภาพของเราได้อย่างไร หากมีค่าความดัน Systolic สูงเกินไป หรือค่า Dia ต่ำเกินไป จะส่งผลอย่างไรกับร่างกาย บทความนี้ มีคำตอบ


ค่าความดัน คืออะไร

ค่าความดัน หรือที่เรียกว่า ความดันโลหิต คือ แรงดันเลือดที่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดกับผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดง มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) และโดยทั่วไป จะแสดงค่าเป็นตัวเลขสองตัว เช่น 120/80 mmHg 

โดยค่าความดันโลหิตนี้ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นค่าที่ช่วยสะท้อนถึงการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย การส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพราะถ้าหากค่าความดันโลหิตสูง ย่อมเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่น ๆ

แต่ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตของแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกัน ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ พันธุกรรม พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต สุขภาพร่างกาย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น


เกณฑ์ปกติของค่าความดัน

ค่า Dia ต่ำ

สำหรับการอ่านค่าความดันโลหิต โดยปกติแล้ว สำหรับผู้ใหญ่มักจะมีค่าความดันอยู่ในช่วง 90/60 mmHg ถึง 120/80 mmHg ซึ่งเราสามารถแบ่งเกณฑ์ได้หลายระดับ ดังนี้

ความดันตัวบน

ในการอ่านค่าความดันโลหิต จะมีตัวเลข 2 ตัว โดยความดันตัวบน คือ ค่าความดันซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) แสดงถึงความดันในหลอดเลือดแดง เมื่อหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือด เป็นตัวเลขแรกที่กล่าวถึงเมื่อแสดงความดันโลหิต เช่น 120/80 mmHg ในตัวอย่างนี้ 120 คือความดันซิสโตลิก

ค่าความดัน Systolic มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงแรงดันที่ทำต่อผนังหลอดเลือด เมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดออกไปไหลเวียนผ่านหลอดเลือดแดง ส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย

ถ้าหากค่าความดัน Systolic สูง หรือที่เรียกว่า ความดันโลหิตสูง อาจทำให้หลอดเลือดแดงตึงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่น ๆ ดังนั้น เราต้องหมั่นติดตามค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

ความดันตัวล่าง

ส่วนความดันตัวล่าง คือ ค่าความดันไดแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure) แสดงถึงความดันในหลอดเลือดแดง เมื่อหัวใจคลายตัว เป็นตัวเลขแรกที่สองที่กล่าวถึงเมื่อแสดงความดันโลหิต เช่น 120/80 mmHg ในตัวอย่างนี้ 80 คือความดันไดแอสโตลิก

ค่าความดัน Diastolic มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นค่าบ่งชี้ถึงความดันในหลอดเลือดแดงในช่วงคลายตัวของหัวใจ ซึ่งช่วยให้หลอดเลือดแดงโคโรนารีสามารถส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เอง และแสดงถึงความดันปกติในหลอดเลือดแดง

ในการพิจารณาค่าความดันโลหิต เราจะต้องพิจารณาตัวเลขทั้ง 2 ส่วนร่วมกัน ถ้าหากตัวเลขทั้ง 2 มีค่าสูง แสดงว่า เรามีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางด้านหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นตรวจค่าความดันโลหิต เพื่อควบคุมไม่ให้ค่าความดัน Systolic สูงเกินไป หรือค่า Dia ต่ำเกินไปเช่นกัน


ค่าความดันของผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกันหรือไม่

ค่าความดันโลหิตของเพศชายและเพศหญิงนั้น อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง หากแต่ก็จะใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกันตามที่ American Heart Association (AHA) ได้กำหนดเกณฑ์ไว้ โดยที่ไม่แยกเพศ แต่ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตก็อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น

ผู้สูงวัยกับค่าความดันโลหิตสูง

โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้สูงอายุมักจะมีค่าความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง ด้วยสาเหตุหลายประการ ซึ่งเราสามารถจำแนกสาเหตุเหล่านี้ได้ ดังต่อไปนี้

และสำหรับผู้สูงอายุที่มีค่าความดันโลหิตสูง แพทย์อาจจะใช้ยาในการควบคุมค่าความดันโลหิต


ค่าความดันโลหิตที่เริ่มอันตราย

ค่าความดันโลหิตที่เริ่มอันตราย

ตามเกณฑ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตที่ได้อธิบายไปเบื้องต้น เกณฑ์ที่ถือว่าเป็นอันตราย คือ ค่าความดันโลหิตที่อ่านได้สูงกว่า 180/120 mmHg จึงควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือในอีกกรณีหนึ่ง คือ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว เจ็บหน้าอก หายใจถี่ และอาการทางระบบประสาท ดังนั้น ในกรณีต่าง ๆ เหล่านี้ เราต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด


ค่าความดันบอกโรคร้าย

การวัดค่าความดันโลหิตสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของแต่ละคนได้ และอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ดังต่อไปนี้


วัดค่าความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้าน

วัดค่าความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้าน

ในการวัดค่าความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้าน เราจะต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้มาตรฐาน ซึ่งในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ แบบแมนนวล (แอนะล็อก) และแบบอัตโนมัติ (ดิจิตอล) โดยมีขั้นตอนในการวัด ดังนี้

  1. นั่งพักสัก 2 - 3 นาทีก่อนที่จะวัดความดันโลหิต หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน การสูบบุหรี่ และออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีก่อนการวัด
  2. นั่งบนเก้าอี้โดยให้เท้าราบกับพื้น วางแขนบนโต๊ะที่ระดับหัวใจ ฝ่ามือหงายขึ้นสอดแขนและใช้ผ้าพันแขนไว้รอบต้นแขนของคุณ โดยให้ขอบด้านล่างของผ้าพันแขนอยู่เหนือข้อศอกประมาณ 1 นิ้ว พันให้กระชับแต่ไม่แน่นเกินไป
  3. กดเปิดเครื่อง เพื่อเริ่มวัดค่าความดันโลหิต หลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือเคลื่อนไหวระหว่างการวัด
  4. เมื่อการวัดเสร็จสมบูรณ์ จอภาพจะแสดงการอ่านค่าและบันทึกค่าความดันโลหิต

โดยทั่วไป เราสามารถวัดค่าความดันซ้ำได้ 2 หรือ 3 ครั้ง ด้วยการเว้นระยะเวลาสักครู่ ควรวัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่องควร ใช้แขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า และอาจจะวัด 2 เวลา คือ ช่วงเช้าภายใน 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอน และช่วงเวลาก่อนเข้านอน ประมาณ 2 ครั้ง เว้นระยะเวลาห่างกัน 1 นาที


ค่าความดันโลหิตที่ควรรีบไปพบแพทย์

จากการที่เราหมั่นตรวจค่าความดันโลหิตอยู่เป็นประจำ หากเราตรวจพบความดันโลหิตที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่


สรุป

ค่าความดันโลหิตถือว่าเป็นข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความสำคัญมาก เพราะสามารถระบุสภาพร่างกายภายในของเราได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญที่สุดอย่างหัวใจ สะท้อนปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ ที่เราไม่สามารถสังเกตได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่คอยสัญญาณให้เรากลับมาดูแลตัวเอง ก่อนที่จะสายเกินไป ถ้าหากวัดค่าความดันโลหิตได้ค่าที่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นวัดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที