วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 08 พ.ค. 2024 04.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1940 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


โรคเครียด อย่าปล่อยให้สะสม อาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด!

โรคเครียด

สภาวะความกดดัน เหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดคิด มนุษย์จะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองสิ่งเหล่านี้ โดยสมองนั้นจะหลั่งสารความเครียดออกมา พฤติกรรมของมนุษย์จะแสดงอาการเครียด เช่น เหงื่อ ใจสั่น หายใจผิดจังหวะ ถ้ามีภาวะความเครียดสะสมมาก ๆ เป็นระยะเวลานาน อาจจะก่อให้เกิดเป็นโรคเครียดกับตัวเองได้ 

โรคเครียดมักมีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และสามารถหายไปเองได้ในบางครั้ง อยู่ที่ตัวเราจะมีวิธีรับมือกับปัญหานั้นได้อย่างไรบ้าง แต่ละบุคคลจะหาทางออกของโรคเครียดแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ที่กำลังประสบอยู่

บทความนี้จะบอกถึงสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาดูแลตัวเองจากโรคเครียด เพื่อให้คุณได้เข้าใจมากยิ่ง และมองหาทางออกที่เหมาะสมเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลไปยังสุขภาพจิตและสุขภาพกายจนไม่สามารถรับมือได้


ทำความเข้าใจโรคเครียด คืออะไร 

โรคเครียด คือภาวะเครียดสะสมที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกภายในและภายนอก เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายทำให้มีความรู้สึกกดดัน วิตกกังวล ผิดหวังและรู้สึกเหนื่อยล้า ซึ่งก่อให้เกิดส่งผลกระทบด้านลบกับร่างกายและจิตใจ โดยมีอาการหัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ความรู้สึกที่กล่าวข้างต้น คือจุดเริ่มต้นของโรคเครียด

ไม่ว่าจะช่วงอายุไหนหรือเพศอะไรก็ตาม สามารถเกิดโรคเครียดได้เสมอ สาเหตุความเครียดของแต่ละคนค่อนข้างแตกต่างกันไป โดยวิธีการรับมือกับความเครียดขึ้นอยู่กับบุคคล บางคนอาจจัดการกับสถานการณ์ได้ ในขณะที่ บางคนอาจจะไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้หรือมีความยากต่อการจัดการ จนเกิดเป็นโรคเครียด


โรคเครียดมาจากสาเหตุอะไรบ้าง

สาเหตุของโรคเครียด

สาเหตุของโรคเครียด มักจะเกิดจากคนที่ใช้ชีวิตที่กดดันตัวเองมากเกิน จนเกิดการผิดหวังอาจนำไปสู่การป่วยทางจิตหรือสุภาพ เช่นโรคเครียดโรคซึมเศร้า โรคเครียดวิตกกังวล โรคแพนิค ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โดยปัจจัยหลัก ๆ สาเหตุของโรคเครียดมี 2 ปัจจัย คือ

1. ปัจจัยภายใน

การเจ็บป่วยของสภาพร่างกาย โรคภัยต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคแพนิค สารเคมีในสมองไม่สมดุลผิดปกติจึงไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้

2. ปัจจัยภายนอก 

เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้


ความเครียดมีทั้งหมดกี่ระดับ

เมื่อเรามีความเครียดสะสมอาการพฤติกรรมของเรานั้นก็จะเปลี่ยนแปลง ส่งผลไปถึงคนรอบข้าง และสภาพร่างกายจิตใจเรา ส่งผลให้เกิดเป็นโรคเครียดตามมา ระดับความเครียดมีอยู่ 3 ระดับ มีดังนี้

1. ความเครียดเฉียบพลัน (Acute Stress)

ความเครียดเฉียบพลัน (Acute Stress) ลักษณะของความเครียดเฉียบพลัน เมื่อเกิดเจอปัญหาที่ไม่คาดคิดหรือไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น อาการตกใจ ความกลัว และเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ระบบการทำงานของสมองมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาจึงทำให้มีพฤติกรรมที่แปลกไปจากเดิม เช่น ยืนนิ่ง เหนื่อยออก พูดติด ๆ ขัด ๆ 

เดินไปมา จิตใจไม่อยู่กับตัว

2. ความเครียดที่เกิดต่อเนื่อง (Episodic Acute Stress)

ความเครียดที่เกิดต่อเนื่อง (Episodic Acute Stress) มีลักษณะเกิดขึ้นหลายครั้งติดต่อกัน เรียกว่า ความเครียดเกิดต่อเนื่อง เป็นสภาวะทางจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลากหลาย เช่น เกิดอุบัติเหตุหลังจากนั้นมีปัญหาที่ทำงานจนโดนไล่ออก และมีปากเสียงกับคู่รักทำให้เลิกรากัน เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นหลายครั้งติดต่อกันนำไปสู่โรคเครียดสะสม

3. ความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress)

ความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) มีลักษณะความเครียดที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ จากชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน เรียกว่า "ความเครียดเรื้อรัง" หรือ "ความเครียดที่สะสม" ซึ่งอาจไม่แสดงอาการทันที แต่มักจะสะสมเรื่อย ๆ จนกว่าจะเกิดเป็นโรคเครียดที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมได้ 

สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องประจำ ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ ไม่เข้าใจเนื้อหาการเรียน ทำงานที่มีความกดดัน มีโรคประจำตัว และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน


โรคเครียด อาการโดยทั่วไปเป็นอย่างไร

อาการโรคเครียด

โรคเครียดมักจะเกิดจากอาการเครียดวิตกกังวลเป็นการตอบสนองทางกายและจิตใจกับสถานการณ์ที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน โดยความเครียดสามารถมีผลต่อร่างกายและจิตใจของเราได้หลายด้าน 

ส่วนมากเมื่อเราเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายหรือน่ากังวล ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การเพิ่มความเร็วของอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจแต่สำหรับคนที่โรคเครียดอาการมักแตกต่างจากคนอื่น อาการที่แสดงออกมาจะมี ทางร่างกายและจิต

อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการโรคเครียดสะสมมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถคืนความสมดุลและผ่อนคลายตัวเองได้ ยิ่งมีภาวะโรคเครียดติดต่อกันเป็นเวลายาวนานผลกระทบมันค่อนข้างร้ายแรงเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจตัวเอง รวมถึงยังทำร้ายถึงคนรอบ ๆ ตัวเราอีกด้วย


โรคเครียด มีขั้นตอนรักษาและดูแลตัวเองได้อย่างไร

วิธีดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคเครียด

ดูแลรักษาโรคเครียดด้วยตัวเอง โรคเครียดก่อเกิดจากความเครียดสะสมที่เกิดเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่ต้องในชีวิตประจำวันได้ แต่ก็ยังมีวิธีที่จะหยุดยั้งภาวะความเครียดนั้นได้ เช่น 

ทั้งหมดนี้ เมื่อคุณรู้สึกว่าโรคเครียดที่คุณพบเจอมีความรุนแรง และมีผลกระทบต่อเราอย่างมาก การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะมีประสิทธิภาพในการช่วยให้คุณให้มีทักษะในการจัดการกับโรคเครียดและอาการวิตกกังวลเครียดอื่นๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชในการตรวจโรคเครียด เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสุขภาพจิต สามารถทำการประเมินและวินิจฉัยระดับความรุนแรงของโรคเครียด รวมถึงช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและองค์ประกอบที่เป็นตัวกำเนิดของความเครียดนั้นได้


สรุปโรคเครียด ภาวะโรคเครียด

โรคเครียดเป็นการประสบปัญหาทางจิตใจและร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อเราพบเจอสถานการณ์ที่ท้าทาย หรือน่ากังวล การตอบสนองต่อความเครียดเป็นปฏิกิริยาธรรมชาติของร่างกายและจิตใจ เพื่อช่วยให้เราจัดการกับสถานการณ์นั้น โรคเครียดอาจมีอยู่หลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับที่เป็นปกติ ที่ไม่มีผลกระทบกับจิตใจและร่างกาย จนถึงระดับที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพ

อาการของโรคเครียดอาจประกอบไปด้วยความกังวล ความรู้สึกตึงเครียด หรือการกลัว รวมถึงอาการทางกายเช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจเร็ว และความรู้สึกมึนงง โรคเครียดรักษาดูแล โดยปกติมักเน้นไปที่ใช้เทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การฝึกสมาธิ การผ่อนคลาย การจัดการความคิด เป็นต้น 

แต่หากอาการเครียดมีระดับรุนแรงและมีผลกระทบอย่างมาก ควรพิจารณาหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมในการปรับปรุงสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจให้ดีที่สุด

ทาง Bedee มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชในการดูแลรักษาหรือให้คำปรึกษากับผู้ที่กำลังประสบพบเจอกับโรคเครียด พวกเราพร้อมจะดูแลแก้ไขปัญหาให้กับคุณ สามารถต่อติดพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official : @BeDeebyBDMS


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที