วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 11 พ.ย. 2023 03.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 145 ครั้ง

?โรคนอนไม่หลับ? (Insomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยนอนหลับยาก ไม่สามารถนอนหลับได้เป็นระยะเวลานาน หรือตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นนอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน


ภาวะนอนไม่หลับ คืออะไร? ทำความเข้าใจอาการและวิธีรักษา

ภาวะนอนไม่หลับ

ภาวะนอนไม่หลับ หรือที่รู้จักกันในภาษาทางการแพทย์ว่า “โรคนอนไม่หลับ” (Insomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยนอนหลับยาก ต้องใช้เวลาในการนอนหลับนานผิดปกติ, ภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้เป็นระยะเวลานาน หลับๆ ตื่นๆ กลางดึกบ่อยๆ หรือผู้ป่วยที่ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นนอน

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่จากการวิจัยจะพบว่าผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนอนไม่หลับส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิต ทั้งสมาธิในการทำงาน การเรียน อ่อนเพลียระหว่างวัน ทำให้รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา เกิดความกังวลจนส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจ เช่น การเป็นซึมเศร้า

บทความนี้จึงพาเพื่อนๆ มารู้จัก อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) เพื่อตรวจสอบตนเองและป้องกันเบื้องต้น แต่หากเพื่อนๆ คนไหนที่มีอาการที่รุนแรง การเลือกเข้าพบแพทย์เป็นทางออกที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับการบำบัดรักษา

ทำความเข้าใจอาการนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือบุคคลที่มีความผิดปกติในวงจรการนอนหลับ เช่น นอนหลับไม่เป็นเวลา ใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ นอนหลับเร็วแต่ตื่นเร็ว หรือสะดุ้งตื่นกลางดึกและไม่สามารถนอนหลับต่อได้ ทำให้ตื่นมารู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาไม่สดชื่นเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอต่อร่างกาย ไม่มีพลังงานในการใช้ชีวิต ส่งผลกระทบให้อารมณ์อ่อนไหวและหงุดหงิดง่าย อีกทั้งยังส่งผลต่อสมาธิในการทำงาน การเรียน สุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน 

ทางการแพทย์ได้แบ่งโรคนอนไม่หลับออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะของช่วงเวลา

  1. อาการนอนหลับยาก (Initial Insomnia) ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการใช้เวลาเข้านอนนานผิดปกติ มากกว่า 20 นาทีขึ้นไป อาจเป็นเพราะความวิตกกังวล ความเครียด ความไม่สบายใจก่อนที่จะเข้านอน
  2. อาการหลับไม่ทน (Maintenance Insomnia) ภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้เป็นระยะเวลานาน สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อยๆ รู้สึกเหมือนไม่ได้นอนหลับทั้งคืน อาจมีผลกระทบมาจากปัญหาสุขภาพทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ผู้ป่วยไม่หายใจเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยไม่รู้ตัว หรืออาการกรดไหลย้อน
  3. อาการหลับไม่ยาว (Terminal Insomnia) ภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาปกติ เช่นตื่นระหว่างเช้ามืด และไม่สามารถนอนหลับต่อได้ พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะอาการซึมเศร้า หรือไบโพล่าร์

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ 

อาการนอนไม่หลับแบบไหนที่ควรเข้าพบแพทย์

ความรุนแรงของโรคนอนไม่หลับ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  1. อาการนอนไม่หลับระยะชั่วคราว (Transient Insomnia) ส่วนใหญ่จะพบในกรณีที่เปลี่ยนสถานที่นอนหลับ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนหรือไม่เหมาะสม ส่งผลให้นอนหลับไม่สบายและอาจวิตกกังวล หรืออาการเจ็ทแลค เนื่องจากการเดินทางข้ามประเทศหรือข้ามช่วงแบ่งเวลาโลก (Time Zone)
  2. อาการนอนไม่หลับระยะสั้น (Short-term Insomnia) ระยะเวลาจะประมาณ 2 - 3 วันถึง 3 สัปดาห์ เกิดจากความวิตกกังวล ซึมเศร้า ความเครียด
  3. อาการนอนไม่หลับระยะเรื้อรัง (Long-term or Chronic Insomnia) เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานโดยประมาณ 3 เดือนติดต่อกันหรืออาจเป็นปี เกิดจากการใช้ยารักษาหรือสภาวะทางร่างกายและจิตใจที่ไม่สมบูรณ์ 

หากผู้ป่วยมีสภาวะนอนไม่หลับติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือนติดต่อกันและเกิดขึ้น 3 คืนต่อสัปดาห์ หรือหากอาการของโรคนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพ มีอารมณ์อ่อนไหว หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่รู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและบำบัด

สาเหตุของภาวะนอนไม่หลับ

ผลกระทบของอาการนอนไม่หลับต่อร่างกาย

ภาวะนอนไม่หลับ ไม่ได้เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อเวลาเข้านอนที่ไม่เป็นเวลา แต่ยังส่งผลกระทบถึงร่างกายที่อาจทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำเนื่องจากการนอนไม่เพียงพอ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อจิตใจเพราะความกังวลในการนอนอีกด้วย

ผลกระทบที่ตามมาได้แก่

วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ

รักษาโรคนอนไม่หลับ

รักษาโรคนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยา

  1. การจัดการกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ความสะอาดของที่นอน การถ่ายเทของอากาศ เสียงรบกวน ปริมาณแสง อุณหภูมิที่เหมาะสม
  2. การคลายเครียดก่อนนอน อาจทำกิจกรรมเล็กๆ ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่ทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกเกิดความตื่นตัวมากเกินไป
  3. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบจำพวกคาเฟอีน, นิโคติน, แอลกอฮอล์
  4. หากไม่สามารถนอนหลับได้ในเวลา 20 นาที ควรลุกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนจะกลับไปนอนใหม่อีกครั้ง ควรใช้เตียงเมื่อถึงเวลานอนเท่านั้น
  5. ทำกิจกรรมเบาๆ ก่อนนอน เช่น การนั่งสมาธิ
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  7. สร้างวงจรการนอนหลับให้เป็นเวลา
  8. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในตอนกลางวัน-ตอนเย็น
  9. หลีกเลี่ยงการกดดันให้ตัวเองนอนหลับเพราะจะทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสมหรือความวิตกกังวล
  10. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ช่วยในการที่ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น
  11. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอน อาจส่งผลให้มีอาการท้องอืด อึดอัดท้อง และนอนหลับไม่สบาย
  12. หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ
  13. นอนในท่านอนที่เหมาะสม

รักษาโรคนอนไม่หลับโดยใช้ยา

การใช้ยาเพื่อรักษาภาวะนอนไม่หลับนั้น จำเป็นต้องได้รับยาที่สั่งโดยแพทย์ เช่น ยาจำพวกที่ใช้เพิ่มระดับฮอร์โมนเมลานิน หรือยารักษาอาการทางจิตที่จะช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ปรับอารมณ์ ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นและหลับสนิท

การใช้ยาที่ช่วยในการนอนรับระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้มึนศรีษะระหว่างวัน หรือผู้ป่วยมีอาการติดยาทำให้ต้องใช้ยาสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการนอนหลับ

วิธีการดูแลตนเองให้ห่างจากโรคนอนไม่หลับ

  1. การสร้างอุปนิสัยการนอนที่ดีให้กับตนเอง กำหนดระยะเวลาเข้านอน-ตื่นนอนเพื่อให้ร่างกายสร้างวงจรการนอนหลับ
  2. ขยับ เคลื่อนไหว ออกกำลังกายในช่วงกลางวัน-เย็น เพื่อให้ร่างกายรู้สึกต้องการการพักผ่อน
  3. ไม่ใช้ยาหรือเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ
  4. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการนอนหลับ รู้สึกสงบและผ่อนคลาย
  5. การสร้างวินัยให้ตนเอง กำหนดกิจวัตรประจำวันก่อนนอนที่ช่วยบรรเทาความเครียดสะสม

สรุปอาการนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือภาวะที่บุคคลมีการนอนผิดปกติ การนอนไม่เป็นเวลา การใช้เวลานานมากกว่า 20 นาทีเพื่อนอนหลับ การนอนหลับเร็วแต่ตื่นเร็ว หรือสะดุ้งตื่นกลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ แม้จะดูเหมือนภาวะทั่วไปที่สามารถพบเจอได้ แต่หากเป็นประจำมากขึ้นหรือ 3 ครั้ง/สัปดาห์ติดต่อเป็นเวลาหลายเดือน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่เป็นจุดเริ่มต้นโรคภัยต่างๆ ได้

ผู้ป่วยไม่ควรมองข้ามภาวะนอนไม่หลับที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน สร้างความอ่อนล้า อ่อนเพลียให้แก่ร่างกาย ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียน อีกทั้งยังส่งผลต่อร่างกายและอารมณ์ ดังนั้นการเข้ารับการรักษาให้ถูกต้อง ถูกวิธีจึงเป็นวิธีการแก้ไขเบื้องต้นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที