ปรารพ

ผู้เขียน : ปรารพ

อัพเดท: 12 มี.ค. 2008 07.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 23123 ครั้ง

แบรนด์คืออะไร มีความสำคัญกับธุรกิจเรามากน้อยเพียงไหน ไม่มีเงินถุงเงินถังจะสามารถสร้างแบรนด์ให้ฮิต
ติดตลาดได้หรือเปล่า


แบรนด์คืออะไร มีความสำคัญกับธุรกิจเรามากน้อยเพียงไหน

เมื่อวานเข้าไปอ่าน บท ความ ที่ www.tcdcconnect.com มีบทความใหม่ๆ ดีๆ น่าสนใจ แยะมาก เลย ครับ เลย นำมาฝากให้ เพื่อนๆ อ่านดูนะครับ  

แบรนด์คืออะไร มีความสำคัญกับธุรกิจเรามากน้อยเพียงไหน ไม่มีเงินถุงเงินถังจะสามารถสร้างแบรนด์ให้ฮิตติดตลาดได้หรือเปล่า แล้วถ้าแบรนด์มีความจำเป็นจริงๆแล้ว เราควรจะเริ่มต้นในการสร้างแบรนด์จากอะไร ฯลฯคำถามมากมายต่างๆเหล่านี้เป็นคำถามที่ผมมักจะเจอะเจอแทบทุกครั้งที่มีโอกาสพบปะลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้า
SMEs ที่ไม่มีต้นทุนทางด้านการเงิน และบุคคลากรที่เพียบพร้อมเหมือนกับองค์กรขนาดใหญ่

branding-illus.jpg

จะว่าไปแล้ว แบรนด์ไม่ได้เป็นเรื่องที่ใหม่มากมายของสังคมไทยเลย แต่ความสำคัญของแบรนด์ได้ถูกเปลี่ยนสถานะมาเรื่อยๆ จากความสำคัญที่มุ่งไปสู่การสร้างสินค้าหรืองานบริการที่ดี มาเป็นการสร้างความผูกพัน (EmotionalConnections) ให้เกิดขึ้นระหว่างสินค้า หรืองานบริการกับผู้บริโภคสินค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประมาณสักสามสิบปี
ที่แล้ว เวลาจะซื้อผงซักฟอกก็ขอให้ซักผ้าสะอาดก็เพียงพอ ยี่ห้ออย่าง เปา บุ้น จิ้น กับความซื่อสัตย์ยุติธรรม ได้ถูกนำมาเป็นชื่อแบรนด์เพื่อสื่อถึง ความซื่อตรงในการผลิตสินค้า จะจิบกาแฟก็เดินไปร้านที่ตั้งอยู่หัวมุมปากซอย แม้จะไม่มีชื่อร้านแต่เราก็ได้ใช้ชื่อเจ้าของมาแทน เช่น ร้านกิมลั้ง ร้านอาโก ร้านต่างๆเหล่านี้เปรียบเสมือนกับแหล่งแลกเปลี่ยนข่าวสาร แหล่งพบปะสังสรรค์ ระหว่างผู้คนที่อยู่ในชุมชนเล็กๆเหล่านั้น หรือถ้าอยากจะนวดเส้นคลายกล้ามเนื้อก็นั่งรถรางไปที่วัดโพธิ์ หาพ่อหมอ แม่หมอช่วยกอเส้นคลายเมื่อยแต่ปัจจุบันนี้ จะซื้อผงซักฟอก ความซื่อสัตย์เพียงอย่างเดียวก็
ไม่เพียงพอ เพราะผงซักฟอกสมัยนี้ไม่เพียงแต่ทำให้คุณซักผ้าสะอาด แต่ยังทำให้คุณรู้สึกดีระหว่างการซัก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นหอมๆ อนุภาพที่สามารถช่วยให้คุณลดแรงขยี้ แถมยังถนอมมืออีกต่างหาก กาแฟปากซอยได้ถูกแทนที่ด้วยร้านสตาร์บักซ์ ที่ทำให้คุณนั่งจิบกาแฟบนโซฟานุ่มๆ อากาศเย็นสบายจากแอร์ พร้อมยังสามารถท่องอินเทอร์เน็ทได้อีก
บางท่านถึงกับใช้ร้านกาแฟเป็นที่ติวหนังสือ ทำรายงาน และท้ายสุดกับร้านสปาที่เติบโตเหมือนดอกเห็ด ที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสได้ถึง รูป (การตกแต่งสถานที่สวยงาม) รส (จากชาที่เสริฟระหว่างรอรับการบริการ) กลิ่น (จากน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้เรารู้สึกผ่อรคลาย) เสียง (ดนตรีที่ขับกล่อมภายในสถานบริการ) และสัมผัส (รูปแบบของการนวด
ที่มีรูปแบบให้เลือกมากมายหลากหลาย) สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคู่แข่งทางการตลาดเกิดขึ้นอย่างมากมาย ลำพังเพียงคุณสมบัติของสินค้าอย่างเดียวคงไม่สามารถมัดใจผู้บริโภคได้มากนัก ดังนั้นแบรนด์ต่างๆจึงพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าหรืองานบริการ (Uniqueness) เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำในตัวสินค้าหรืองานบริการ นอกเหนือจากฟังก์ชั่นเดิมของสินค้า หรืองานบริการอีกทั้งยังต้องสร้างความผูกพัน (Emotional Connections) เพื่อตอกย้ำให้ลูกค้าพอใจพร้อมกลับมาใช้สินค้าหรืองานบริการอีก ซึ่งเปรียบเสมือนกับการฉีด DNA ของแบรนด์นั้นๆเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดผู้บริโภค มัดทั้งตัวและหัวใจขนาดนี้ ผู้บริโภคย่อมไม่มีโอกาสเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์อื่น

การสร้างแบรนด์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน แต่การสร้างแบรนด์ไม่ได้ใช้เวลาเพียงแค่ชั่วข้ามคืน แต่ได้ใช้เวลายาวนานในการบันทึกความทรงจำที่ดีของแบรนด์นั้นๆบรรจุไว้ในหัวสมองของผู้บริโภค ความสม่ำเสมอ(Consistency) ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการผลิตสินค้า หรือการให้งานบริการ
อีกทั้งเรื่องราว (Story) ประวัติความเป็นมา หรือที่มา และวิธีการผลิตของสินค้าหรืองานบริการนั้นๆเป็นสิ่งที่สามารถสร้าง Uniqueness ให้เกิดขึ้นกับแบรนด์เนมได้

สำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่ไม่มีเงินถุงเงินถังในการกว้านซื้อสื่อเพื่อสร้างแบรนด์เนมก็อย่าคิดน้อยใจปิดประตูตายนะครับ เพราะการเริ่มต้นในการสร้างแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่หรือแบรนด์ขนาดเล็ก ก็ล้วนเริ่มจากการพัฒนาสินค้า หรืองานบริการที่คุณมีอยู่ในมือก่อน โดยคุณควรที่จะเริ่มนำงานออกแบบเข้าไปมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้า หรืองานบริการ โดยการถีบตัวเองจาก OEM มาเป็น ODM (องค์กรถูกขับเคลื่อนด้วยงานออกแบบ)เพราะลำพังเพียงแค่ผลิตงานตามใบสั่ง หรือการลอกเลียนแบบนั้นไม่สามารถทำให้คุณเกิดเอกลักษณ์ได้เลย และถ้าคุณมีงานออกแบบที่ดี มันจะเป็นสิ่งที่ช่วยปูทางให้คุณก้าวไปสู่ขั้นตอนของ OBM (องค์กรที่มีแบรนด์อยู่ในหัวใจ) ได้อย่างไม่ยากนัก ถ้าคุณหันไปศึกษาแบรนด์เนมที่ประสบความสำเร็จในตลาดคุณจะค้นพบว่าแบรนด์เนมเหล่านั้นใช้งานออกแบบเข้าไปมีส่วนสำคัญในการสร้างแบรนด์ ที่เห็นได้ชัดก็เป็นคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ลที่ได้ใช้ศาสตร์ของ User-CentredDesign ในการค้นคว้าวิจัยพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น นอกจากการใช้งานที่สะดวกขึ้นแล้ว ทางแอปเปิ้ลยังได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย และมีเอกลักษณ์โดดเด่นในงานออกแบบอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นมากกว่าอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค เพราะวันนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของแอปเปิ้ลได้กลายเป็นปติมากรรมชิ้นงามที่ทำให้บ้านคุณดูสวยงามมากขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นว่างานออกแบบมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า หรืองานบริการของคุณให้มีจุดเด่น
ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน อ่านต่อ

มีต่อนะครับ หากใครสนใจเข้าไปอ่านต่อได้ในเว็บ tcdcconnect นะครับ

ขอขอบคุณ www.tcdcconnect.com ที่มีสิ่งดีให้เราเสมอๆ นะครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที