สำหรับมาตรฐาน ISO 9001 : 2000
ครอบคลุมถึงการประกันคุณภาพในการออกแบบ / พัฒนา การผลิต การติดตั้ง และการบริการ
การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นไปโดยสะดวกและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกเพราะมีมาตรฐานเดียวกัน มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 ฉบับแรกจัดทำปี ค.ศ. 1987
ทำให้ยิ่งต้องมีการรับรองคุณภาพของตัวนักศึกษาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อสังคม สถานประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าไปทำงานเป็นบุคลากรประจำตลอดจนตัวผู้ปกครองของนักศึกษาเองด้วย
เราจะประยุกต์ข้อกำหนด ISO ทั้งหมดกับสถาบันการศึกษาได้อย่างไร? กรณีศึกษา ระดับอาชีวศึกษา
ข้อกำหนด ISO 9001: 2000 มีทั้งหมด 8 ข้อที่ถูกกำหนดมาโดยองค์การที่ควบคุมระบบโดยตรง
และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา แต่ข้อจำกัดของสถานศึกษามีมากทั้งด้านกระบวนการทำงานไม่สามารถทำให้สอดคล้องกับข้อกำหนดได้ และวัฒนธรรมองค์การซึ่งบางสถาบันเป็นสถาบันที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบเพราะบุคลากรต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังจะกล่าวอย่างละเอียดต่อไปนี้
1. ขอบข่าย
2. มาตรฐานอ้างอิง 3. คำศัพท์และคำนิยาม 4. ระบบบริหารคุณภาพ
5. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร 6. การบริหารทรัพยากร 7. กระบวนการผลิตหรือการบริการ
8. การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุง
ข้อกำหนดที่เป็นข้อตกลงเฉพาะของระบบบริหารคุณภาพของโรงเรียนซึ่งสถานศึกษาต้องปฏิบัติตาม คือ
1) มาตรฐานคุณภาพการศึกษา 6 มาตรฐาน 34 ตัวบ่งชี้ของ สอศ.
2) มาตรฐานคุณภาพการศึกษา 6 มาตรฐาน 25 ตัวบ่งชี้ของ สมศ.
3) กิจกรรม 5 ส
4) ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2000
ข้อกำหนดที่ 1 ขอบข่าย
สถานศึกษาเป็นเสมือนธุรกิจบริการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดที่มีอยู่ได้ทุกข้อ ดังนั้น สถานศึกษาควรประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการทำงาน และมีการยกเว้นบางข้อ เช่น
7.3 การออกแบบและการพัฒนา 7.4 การจัดซื้อ รายละเอียดจะกล่าวต่อไป
สำหรับ ข้อ 7.3 ส่วนมากแล้วโรงเรียนระดับอาชีวศึกษา ลงมา ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนไม่สามารถออกแบบสินค้าได้เพราะ สินค้าในที่นี้คือ หลักสูตร และตัวนักศึกษา หลักสูตรจะต้องถูกกำหนด (Request) มาจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เท่านั้น จะต้องสอนตามคำอธิบายรายวิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องจัดทำ โครงการสอน แผนการสอน ด้วย ซึ่งแตกต่างจากระดับอุดมศึกษาที่สามารถกำหนดคำอธิบายรายวิชา (Subject Description) เองได้
ส่วน ตัวนักศึกษา ที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาเรียนนั้น เนื่องจากเป็นลักษณะร่างการของแต่ละคนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถ ออกแบบได้
ข้อกำหนดที่ 2 มาตรฐานอ้างอิง
ส่วนมากจะอ้างอิงข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2000 ตามเอกสารที่บริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจประเมินประจำปีกำหนดไว้
ข้อกำหนดที่ 3 คำศัพท์และคำนิยาม เป็นการอธิบายความหมายของคำ หรือ คำไข ที่ปรากฏในตัวเอกสาร
ข้อกำหนดที่ 4 ระบบบริหารคุณภาพ ประกอบไปด้วย
4.1 ข้อกำหนดทั่วไป
4.2 ข้อกำหนดด้านเอกสาร
4.2.1 บททั่วไป
4.2.2 คู่มือคุณภาพ
4.2.3 การควบคุมเอกสาร
4.2.4 การควบคุมบันทึก
ข้อกำหนดที่ 5 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
ฝ่ายบริหารจะต้องมีความตระหนักในระบบการบริหารจัดการคุณภาพตามที่ประกาศใช้นโยบายไว้ โดยให้ความสำคัญต่อข้อกำหนดและหลักการของระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2000
5.1 ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง แสดงความตระหนักถึง การบริหารจัดการคุณภาพ โดยสามารถแสดงข้อความเป็นการประกาศ นโยบายการใช้ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ขึ้นในสถานศึกษาและจะต้องกำกับติดตามการบริหารจัดการในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องติดประกาศให้ทราบอย่างทั่วถึงทั้งสถาบัน
5.2 การมุ่งที่ลูกค้า
สถาบันการศึกษาจะต้องจัดให้มี การร้องเรียนของนักศึกษาผ่านทางผู้บริหารสถานศึกษา เพราะนอกจากนักศึกษาจะเป็น สินค้าแล้ว ยังมีสถานภาพเป็นลูกค้าของโรงเรียได้อีกด้วย เพราะมีส่วในการตัดสินใจมาเรียนที่โรงเรียน เพื่อแสดงความใส่ใจและทั้งนี้จะต้องส่งแบบสอบถามทางจดหมายเพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของสถานประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าไปทำงาน ซึ่งข้อมูลนี้สามารถรองรับการตรวจประเมินจาก สมศ.ได้อีกด้วย
5.3 นโยบายคุณภาพ เป็นข้อความสั้น ๆ กระชับ สื่อความหมาย ที่สถาบันกำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดคุณภาพตามที่ลูกค้าคาดหวังและสามารถเป็นไปได้จริง
5.4 การวางแผน
5.4.1 วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ
เป็นข้อความที่สถาบันกำหนดขึ้นเพื่อแสดงความต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อบรรลุผลตามนโยบายคุณภาพ แต่
ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับนโยบาย ปรัชญา วิสัยทัศน์
5.4.2 การวางแผน
สำหรับเรื่องการวางแผนนั้นระบบการบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9001:2000 จะต้อง มีร่องรอยหลักฐานในการรองรับการตรวจประเมินจากภายนอก สามารถทำได้โดยการบันทึกรายงานการประชุมโดยมีข้อความแสดงถึงว่าสถาบันมีการร่วมกันวางแผนการทำงานโดยอิงปรัชญาวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพและนโยบายคุณภาพ
5.5 ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ และการสื่อสาร
5.5.1 ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่
ผู้บริหารระดับสูงจะต้องทราบถึงความต้องการของลูกค้ามากำหนดแผน นโยบายคุณภาพ ส่วนอำนาจหน้าที่เป็นการบ่งบอกถึงหน้าที่การทำงานของผู้บริหาร (Job Description) บรรยายเป็นข้อความ เช่น
หน้าที่ของหัวหน้างานกิจกรรม 5 ส คือ
1. วางแผนการแบ่งพื้นที่เพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบทำความสะอาด
2. กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนพื้นที่
3. รวบรวมสรุปผลการตรวจให้คะแนนพื้นที่เพื่อแจ้งให้ผู้บริหารทราบ
4. ติดตามกำกับดูแลให้มีการตรวจประเมินกิจกรรม 5 ส ให้เป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง
5. หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
5.5.2 ผู้แทนฝ่ายบริหาร
สถาบันการศึกษาจะต้องแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารในตำแหน่ง QMR คือ Quality Management Representative เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลระบบบริหารจัดการให้เป็นไปตามข้อกำหนด อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และการสื่อข้อมูลภายในสถานสถานศึกษา การทบทวนการบริหารงาน เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมความเพียงพอ ของทรัพยากรในระบบ
การสื่อสารภายในเป็นการสื่อสารระหว่างแผนก เช่น การบันทึกข้อความเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นร่องรอยหลักฐานในการสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีประกาศ อย่างเป็นทางการเพื่อแจ้งให้บุคลากรทราบ
อนึ่งในการจัดทำเอกสารทุกอย่างของโรงเรียจะต้องมีการ ลงชื่อ ผู้จัดทำ ผู้ทบทวน ผู้อนุมัติ เพื่อเป็นหลักฐานที่มา
5.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร
5.6.1 บททั่วไป
เพื่อเป็นการทบทวนโดยฝ่ายบริหารกำหนดให้ได้รับการทบทวน โดยผู้บริหารระดับฝ่าย / หน่วยงาน โดยผู้อำนวยการและผู้จัดการมีหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องการทบทวน รวมทั้งมอบหมายภารกิจต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการทบทวนให้แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
5.6.2 ปัจจัยป้อนกลับในการทบทวน
ลักษณะการทบทวนของฝ่ายบริหารมีดังนี้
(1) การทบทวนแบบสามัญ เป็นการทบทวนตามปกติซึ่งต้องมีการจัดทบทวน ภาคเรียนละครั้ง ประเด็นของการทบทวน กำหนดเรื่อง หรือวาระการประชุม และหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงาน ตรวจประเมินภายในทุกฝ่าย : QMR
1.2 การติดตามผลการประชุมและมอบหมายงานครั้งที่แล้ว : QMR
1.3 การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่อาจมีผลต่อระบบบริหารคุณภาพ : ทุกฝ่าย
1.4 สถานการณ์ปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน : ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
1.5 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง : ทุกฝ่าย (หัวหน้างาน)
1.6 ข้อมูลป้อนกลับจากลูกค้า : งานประชาสัมพันธ์
1.7 ประสิทธิภาพของกระบวนการและความเป็นไปตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
โดยตัวแทนฝ่ายบริหารออกหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน กรณีคณะกรรมการท่านใดไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ต้องแจ้งเหตุผลให้ตัวแทนฝ่ายบริหาร ซึ่งเลื่อนการประชุมหรือให้ดำเนินการให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการบริหาร ปัญหาต่าง ๆ ทุกปัญหาจะต้องได้รับข้อยุติ หรือแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหรือมอบหมายให้ดำเนินการจากการที่ประชุมชี้ขาด ให้เป็นดุลยพินิจของประธานในที่ประชุม ผลจากการทบทวนจะถูกบันทึกเป็นรายงาน ผลจากการทบทวนจะต้องครอบคลุมถึงการตัดสินใจ ผลการประชุมจะดำเนินการสื่อสารให้บุคลากรทุกคนรับทราบ โดยติดไว้ที่บอร์ดที่กำหนดไว้ประมาณ 1 เดือน
(2) การทบทวนแบบพิเศษ เมื่อมีการร้องเรียนเกิดขึ้น หรือมีปัญหา ที่มีแนวโน้มคาดว่าจะเกิดความเสียหายขึ้น ฝ่ายบริหารสามารถเรียกประชุมทุกฝ่ายได้ตลอดเวลา และมอบอำนาจองค์ประกอบประชุมตามเหมาะสม โดยฝ่ายที่เสนอปัญหาหรือผู้ที่รับผิดชอบนั้น ๆ เป็นเลขานุการในที่ประชุม ในการบันทึกการประชุมติดตามงาน
(3) การทบทวนย่อย (การประชุมประจำเดือน) เป็นการทบทวนผลการปฏิบัติงานเทียบกับเป้าหมายของแต่ละฝ่ายที่กำหนดไว้ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา โดยตัวแทนฝ่ายบริหารเป็นประธานและกำหนดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งการประชุมย่อย แบ่งระดับการประชุมดังนี้
3.1 การประชุมระดับหัวหน้างานทุกงาน ทุกฝ่าย : ทุกฝ่าย
3.2 การประชุมบุคลากรทุกคน : ครูเจ้าหน้าที่
การประชุมย่อยทุกระดับ กำหนดวันประชุมโดยแจ้งให้ทราบเป็นประกาศของโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน ปัญหาต่าง ๆ ทุกปัญหาจะต้องได้รับข้อยุติหรือแนวทางแก้ไขปรับปรุง หรือมอบหมายให้ดำเนินการจากที่ประชุม การตัดสินใจชี้ขาดให้เป็นดุลยพินิจของประธานในที่ประชุม ผลการทบทวนจะถูกบันทึกเป็นรายงานการประชุม โดยเลขานุการของการประชุมย่อยและผลการทบทวนต้องครอบคลุมถึงการตัดสินใจ
(4) การทบทวนหน่วยงานภายใน ได้แก่ ฝ่าย หมวดวิชา หรือการทบทวนการปฏิบัติงานเป็นไปตามโครงการ /แผนงาน / งานประจำ /ที่กำหนดไว้ ปัญหาหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไข หรือมอบหมายดำเนินการจากที่ประชุม โดยประธานคือ รองผู้อำนวยการฝ่าย หัวหน้างาน หมวดวิชานั้น ๆ โดยเลขานุการของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นเลขานุการ
(5) การทบทวนนโยบาย (ประชุมวางแผนนโยบาย) เป็นการทบทวนการปฏิบัติงานเทียบกับปีที่ผ่านมา กำหนดการประชุมปีละ 1 ครั้ง (เสร็จสิ้นก่อนเมษายนของปี) โดยผู้จัดการเป็นประธาน ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการทุกฝ่ายและหัวหน้างานทุกงาน พร้อมกับบุคลากรแต่ละหน่วยงาน
5.6.3 ผลลัพธ์ในการทบทวน
สำหรับผลลัพธ์ในการทบทวนนั้นจะต้อง สรุป เสนอผู้บริหารหรือผู้อำนวยการของสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจ วางแผน และการควบคุมต่อไป ตามกระบวนการ Act ซึ่งเป็นกระบวนการสุดท้ายของเดมมิ่ง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที