มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 พ.ย. 2008 16.55 น. บทความนี้มีผู้ชม: 501125 ครั้ง

สถาบันการศึกษาเอกชนในยุคปัจจุบันจะต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อการแข่งขันกับสถาบันของรัฐ หรือแม้แต่เอกชนด้วยกันเองเพราะเนื่องมาจากพลวัตรของโลกการศึกษาที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา เช่น มีการขยายโอกาสรับนักศึกษามากขึ้น โอกาสจากนโยบายการให้เงินกู้เพื่อการศึกษา ตลอดจน มีการเปิดหลักสูตรใหม่และเพิ่มจำนวนนักเรียนนักศึกษามากขึ้น สถาบันการศึกษาทุกแห่งจะต้องปรับกระบวนทัศน์การบริหารจัดการอย่างมากเพื่อความอยู่รอดและอยู่ได้ ดังนั้นหากประยุกต์ระบบบริหารจัดการ ISO มาใช้จะเป็นไปได้หรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร


ข้อกำหนดที่ 6 การบริหารทรัพยากร

ข้อกำหนดที่ 6 การบริหารทรัพยากร  
ประกอบไปด้วย  
     1.  โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
 
         สถาบันการศึกษาจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการและดูแลโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ดังนี้ 
          ผู้รับผิดชอบด้านงานอาคารสถานที่  ทำหน้าที่ประสานงานกับรองผู้อำนวยการ     หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายต่าง ๆ   ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการปรับปรุงอาคาร  ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการ  ห้องสำนักงานฝ่ายต่าง ๆ  ต้องสำรวจดูความพร้อมของห้องที่ทำงาน  อาคาร  และสาธารณูปโภค  ที่มีผลกระทบต่อการทำงานและจะได้นำเสนอข้อมูลต่อผู้อำนวยการ  ผู้จัดการ  และผู้รับใบอนุญาตทราบตามลำดับ  เมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง
       
 ฝ่ายวิชาการร่วมกับตัวแทนฝ่ายบริหารกำหนดรายการเครื่องมือ    และอุปกรณ์ต่าง ๆ      ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของกระทรวงศึกษาธิการและดูแลรักษาเครื่องมือ  อุปกรณ์การสอนให้มีความพร้อมสมบูรณ์  และเพียงพออยู่เสมอตามที่กำหนดไว้  โดยประสานงานกับฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาและหัวหน้างานซ่อมบำรุง  หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์  ในการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ     ในการเรียนการสอน    รวมทั้งการเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือ  และอุปกรณ์ต่าง ๆ  ในการเรียนการสอน
       
 ฝ่ายวิชาการมอบให้ผู้รับผิดชอบด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ      ดำเนินการจัดการวางแผนสำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนการสอนประจำปีการศึกษาให้ครอบคลุมทุกหน่วยงาน    การวางแผนปรับปรุงประจำปีการศึกษา  กำหนดให้ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาดำเนินการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการของเครื่องมือทุกชิ้น  เพื่อนำผลมาวางแผนงานดังกล่าว
        
2.  สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (Work Environment)
      
 เพื่อให้การปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษา  เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงได้กำหนดให้การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน  โดยกำหนดให้สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานระบบกิจกรรม 5 ส คือ สะสาง  สะดวก  สะอาด  สุขลักษณะ  และสร้างนิสัย  ซึ่งถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงเฉพาะของระบบบริหารคุณภาพของโรงเรียนซึ่งสถานศึกษาต้องปฏิบัติ
                       สำหรับอาคารเรียน  ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการต่าง ๆ  ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีบรรยากาศที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
              ดังนี้
      2.1  ห้องเรียนปกติ    ต้องติดตั้งพื้นพัดลม จะต้องระบุจำนวนกี่ตัว
ตัวต่อ 1 ห้อง  จัดให้มีโต๊ะ-เก้าอี้  
                            

จำนวนไม่เกินกี่  ชุด  ต่อ  1  ห้องเรียน

                                                2.2  ห้องบรรยายรวม  จะต้องระบุติดตั้งเครื่องปรับอากาศ  จำนวนกี่เครื่องคอมพิวเตอร์กี่ ชุด  จะต้องระบุทีวีโปรเจคเตอร์  เครื่อง  และโต๊ะ – เก้าอี้   ต่อ 1 ห้อง

ข้อกำหนดที่  7  กระบวนการผลิตหรือการบริการ (Product Realization)

                        7.1   การวางแผนกระบวนการผลิต  (Planning  of  Product  Realization)        สถานศึกษาจะต้องตระหนักถึงคุณภาพของผลผลิต  หมายถึง  นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะต้องเป็นที่พึงพอใจและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า  หรือผู้ประกอบการจึงได้กำหนด  นโยบายคุณภาพ  วัตถุประสงค์คุณภาพ    และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอน   การบริการและการสนับสนุนด้านอื่น ๆ  ที่จำเป็น ซึ่งฝ่ายวิชาการจะต้องกำหนดตามปฏิทินการศึกษาในแต่ละปีการศึกษาเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินไปตามปฏิทินการศึกษา  และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  ปวช. 2545 (2546)  และหลักสูตร ปวส. 2546  พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานไว้อย่างครบถ้วนตามกระบวนการต่าง ๆ

7.2    กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า  (Customer – Related  Process) 

                                7.2.1  เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า     สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองควรจะกำหนดมาตรฐานปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า         และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการติดตามผู้จบการศึกษา           และการสอบถามความพึงพอใจของสถานประกอบการ  หรือหน่วยงานต่าง ๆ  ที่รับนักศึกษา  ผู้สำเร็จการศึกษาเข้าไปปฏิบัติงาน  เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศมาดำเนินการวางแผน  ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน      

การกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาและการดำเนินการด้านบริหารจัดการอื่น ๆ  ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า               ทั้งนี้ยังรวมถึงการดำเนินการให้สอดคล้องกับ

1)   ข้อกำหนดของกระทรวง  ทบวง  กรม  และหน่วยราชการต่าง ๆ  ที่ต้องปฏิบัติตาม

2)   ข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3)   ข้อกำหนดอื่น ๆ  ขององค์กร  ได้แก่  มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  6  มาตรฐาน  25 

       ตัวบ่งชี้  ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  (สมศ.)

7.2.2                       การทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

เพื่อให้การดำเนินการตามข้อกำหนดเป็นไปด้วยความถูกต้อง  ทันสมัย  และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอสถานศึกษา  จึงจัดให้มีกระบวนการทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ / การบริการอย่างสม่ำเสมอ  ทุกปีการศึกษา โดยในช่วงกลางภาคเรียนที่ 1 ของทุกปีการศึกษา  คณะกรรมการประชาสัมพันธ์โรงเรียน   และผู้บริหารระดับสูง  จะร่วมกันประชุมเพื่อทบทวน  ข้อกำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือนักศึกษาต้องการจะรับสมัครเข้าเป็นนักศึกษา  ในแต่ละปีการศึกษา  กำหนดเป้าหมายด้านปริมาณ  และสาขาวิชาที่จะเปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา เพื่อให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนประชาสัมพันธ์  และแนะแนวศึกษาต่อไปในแต่ละปีการศึกษา  และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ   จะแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร   และบันทึกการทบทวนต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบต่อไป

              7.2.3   การสื่อสารกับลูกค้า  (Customer  Communication)

                                        เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี  และได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์  หรือนักศึกษาจากลูกค้า  หรือผู้ประกอบการ   สถานศึกษา    จึงกำหนดแนวปฏิบัติในการติดต่อสัมพันธ์กับลูกค้าดังนี้

1)      การออกแนะแนวศึกษาต่อแบบสัญจรตามโรงเรียนในกลุ่มเป้าหมาย  โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์

2)      การออกสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุ  โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการ

3)      การส่งแบบสำรวจความพึงพอใจของสถานประกอบการ  ที่มีต่อนักศึกษาของโรงเรียนโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการ  เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากแบบสำรวจมาทำการวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการให้นักศึกษามีคุณสมบัติ    หรือคุณลักษณะในด้านใด  เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมฝ่ายบริหารในการกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาหรือผลิตภัณฑ์ต่อไป

4)      การติดตามข้อมูลของผู้จบการศึกษา    โดยการส่งแบบสอบถามไปยังนักศึกษา  ผู้สำเร็จการศึกษา  โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการ

5)      การตรวจสอบวุฒิการศึกษา  จะส่งเอกสารขอตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษามายัง งานทะเบียน –วัดผล  ฝ่ายบริหารเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน    หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของผู้สำเร็จการศึกษา

6)       การพิจารณาข้อร้องเรียนจากลูกค้า  ฝ่ายวิชาการ  จะเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณาข้อร้องเรียนของลูกค้าที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์  หรือนักศึกษา     ส่วนข้อร้องเรียนด้านอื่น ๆ ฝ่ายประชาสัมพันธ์  จะเป็นผู้รับผิดชอบนำเข้าทบทวนในที่ประชุมฝ่ายบริหารประจำเดือน  หรือการประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหาร

       (Management Review)

                       7.3  การออกแบบและการพัฒนา

                                เนื่องจากสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ผลิตนักศึกษา  เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า      หรือผู้ประกอบการ  ซึ่งจะแตกต่างจากการผลิตสินค้า  และบริการอื่น ๆ จึงยกเว้นข้อกำหนดที่ 7.3

                       7.4 การจัดซื้อ
                           
เนื่องจากสถานศึกษามีกระบวนการรับนักศึกษา  เพื่อผลิตนักศึกษาสนองความต้องการของลูกค้า  หรือผู้ประกอบการ  ซึ่งจะแตกต่างจากการผลิตสินค้า  และบริการอื่น ๆ จึงยกเว้นข้อกำหนดที่ 7.4

                      7.5 การดำเนินการผลิตและบริการ
                           เนื่องจากโรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ต้องผลิตให้นักศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น   ดังนั้นเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับจึงหมดสภาพการเป็นนักศึกษา จึงไม่มีการถนอมและรักษาเหมือนกับ      การผลิตประเภทอื่นๆ จึงทำการยกเว้นข้อกำหนดนี้

                        7.6  การควบคุมเครื่องมือกำกับติดตามและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ (Control  of  Mentioning  and  Measures  Devoices)  เพื่อให้การบริหารคุณภาพเกี่ยวกับการควบคุม            เครื่องมือกำกับติดตามและตรวจวัดผลิตภัณฑ์หรือนักศึกษา  สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาระบบการกำกับติดตาม       ตรวจสอบและการวัดผลโดยให้มีผู้รับผิดชอบ  ดังนี้

                                7.6.1  โดยฝ่ายวิชาการเสนอโครงการจัดทำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพแต่ละปีการศึกษา    เพื่อขออนุมัติ

                                7.6.2  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำ ข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพทั้ง ระดับ  ปวช.    สาขา (ระบุสาขา)   และปวส.ของทุกสาขาวิชาได้แก่  สาขา (ระบุสาขา)   

                                7.6.3  คณะกรรมการแต่ละสาขาวิชา  ดำเนินการออกข้อสอบ  วิเคราะห์ข้อสอบ       และอัดสำเนาข้อสอบ

                                7.6.4  คณะกรรมการแต่ละสาขาวิชา  ดำเนินการจัดสอบ ตรวจข้อสอบ และสรุปผลการสอบ

                                7.6.5  ในกรณีมีนักศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด    ให้คณะกรรมการดำเนินการจัดให้มีการสอบซ่อม  หรือจัดสอนซ่อมเสริมก่อนสอบ  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มเติม  และสอบผ่านเกณฑ์กำหนด

                                7.6.6  คณะกรรมการแต่ละสาขาวิชา  รายงานผลการสอบมายัง  ฝ่ายวิชาการ เสนอขออนุมัติผลการสอบจากผู้อำนวยโรงเรียน

                                7.6.7  ฝ่ายวิชาการเสนอผลการทดสอบข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพต่องานทะเบียนและวัดผลเพื่ออนุมัติผลการศึกษาต่อไป

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที