8. การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุง
8.2.4 การเฝ้าติดตามและการวัดผลิตภัณฑ์ (Monitoring and Measurement of Product)
เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานการดำเนินงานติดตาม ตรวจสอบ การวัดผลผลิตภัณฑ์ หรือ โรงเรียนจึงได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1) การตรวจ และทดสอบก่อนการเรียนการสอน เช่น การตรวจสอบวุฒิการศึกษา และการปรับพื้นฐานของนักศึกษางานทะเบียนและวัดผลฝ่ายวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของนักศึกษาที่จะเข้าศึกษาต่อที่สถานศึกษา จะทำการตรวจสอบวุฒิการศึกษา ว่าสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเดิมหรือไม่ และทำการจัดชั้นเรียนตามสาขาวิชาและระดับดังนี้
- ระดับ ปวช. รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า
- ระดับ ปวส. รับผู้จบ ปวช. เรียนหลักสูตร 2 ปี 4 ภาคเรียน
- ระดับ ปวส. รับผู้จบ ม.6 หรือเทียบเท่า เรียนหลักสูตร 2 ปี 5 ภาคเรียน โดยนักศึกษาที่จบระดับ ม.6 หรือ เทียบเท่าจะต้องทำการเรียนในรายวิชาปรับพื้นฐาน จำนวนไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต
2) การตรวจ และทดสอบระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการดำเนินการดังนี้
1. อาจารย์ผู้สอน ทำการวัดผลระหว่างเรียน เช่น ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบย่อย, ทำงานตามใบงาน, การสอบปฏิบัติ, การทำโครงการ, หรือการทำรายงาน เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษา ได้มีความตั้งใจและสนใจเรียน รวมถึงพยายามทำคะแนนเก็บให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเกณฑ์ในการวัดผลแบ่งออกเป็น
- รายวิชาทฤษฎี จาก 100 คะแนน แบ่งเป็น ระหว่างภาค 70 คะแนน
ปลายภาค 30 คะแนน
- รายวิชาปฏิบัติ จาก 100 คะแนน แบ่งเป็น ระหว่างภาค 80 คะแนน ปลายภาค 20 คะแนน
2. อาจารย์ผู้สอน ตรวจผลการสอบระหว่างภาคของนักศึกษาแต่ละรายวิชา ว่านักศึกษาหรือผู้เรียนสามารถสอบผ่านเกณฑ์การวัดผลมากน้อยเพียงใด กรณีนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์ระหว่างภาคเรียน ให้อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้พิจารณา ในการช่วยให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น เช่น การสอบแก้ตัว หรือทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม หรือการทำงานเพิ่มเติมในเนื้อหาที่สอบไม่ผ่านเรื่องนั้น ๆ เป็นต้น
การตรวจและทดสอบในขั้นตอนสุดท้าย เช่น การตรวจสอบผลการเรียนก่อนจบ การศึกษา โดยนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา จะดำเนินการยื่นคำร้องขอจบการศึกษาพร้อมชำระค่าธรรมเนียม แล้วงานทะเบียนและวัดผลจะดำเนินการยื่นคำร้องขอจบการศึกษาพร้อมชำระค่าธรรมเนียม
งานทะเบียนและวัดผลจะดำเนินการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา ว่าสามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหรือไม่ หากไม่สามารถจบการศึกษาตามหลักสูตรจะไปดำเนินการในขั้นตอนการปฏิบัติการแก้ไข ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จนกระทั่งสามารถจบการศึกษาได้ตามที่หลักสูตรกำหนด
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษา ได้ที่แนวปฏิบัติการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษา
8.3 การควบคุมสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อที่กำหนด สถาบันการศึกษาจะต้องมีความตระหนักเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันมีการเฝ้าพินิจ โดยมีการตรวจติดตามคุณภาพภายในคุณภาพหรือ Internal Quality Audit หมายถึง การตรวจสอบหรือการตรวจว่าสถาบันการศึกษามีกิจกรรมต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและได้รับผลตามวัตถุประสงค์ตามข้อที่กำหนด มีจุดบกพร่องในเรื่องใดทั้งนี้เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน แต่ต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระและเป็นกัลยาณมิตรภายใน Internal Quality
8.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้การบริหารงานคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียน จึงกำหนดให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์และสงเคราะห์กำหนดปัญหา แม้กระทั่งการวางแผนกลยุทธ์ของสถาบันการศึกษา ซึ่งข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ประกอบด้วย
8.4.1 สถิติจำนวนผู้มาสมัคร และการมอบตัวเข้าเรียนในแต่ละปีการศึกษา โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ จะทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อศึกษาแนวโน้มในการศึกษาต่อในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด และการประชาสัมพันธ์ในปีการศึกษาต่อไป
8.4.2 สถิติจำนวนผู้จบการศึกษา แต่ละสาขาวิชา และนักศึกษาที่ลาออกในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ ในแต่ละปีการศึกษา โดยฝ่ายวิชาการจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำแก้ไขและป้องกัน และวางแผนปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนต่อไป
8.4.3 ข้อมูลจากการติดตามจบการศึกษา ในแต่ละปีการศึกษาโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำเข้าสู่การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร สำหรับวางแผนร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ ในการกำหนดทิศทางกระบวนการจัดการเรียนการสอนในแต่ละปีการศึกษา
8.4.4 ข้อมูลจากการสอบถามความพึงพอใจของสถานประกอบการหรือองค์กรต่าง ๆ ที่รับนักศึกษาเข้าทำงาน โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์จะทำการสำรวจและเก็บข้อมูล เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาที่สถานประกอบการ หรือตลาดแรงงานต้องการที่จะรับผู้สำเร็จการศึกษาเข้าไปทำงาน
8.4.5 ข้อมูลจากข้อร้องเรียนของลูกค้า โดยฝ่ายบริหารจะศึกษาข้อมูลจากข้อร้องเรียนของลูกค้า ในด้านต่าง ๆ และนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกัน และปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องต่อไป
8.5 การปรับปรุง
เพื่อเป็นการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบบริหาร ISO 9001:2000 โรงเรียนจึงต้องนำผลการวิเคราะห์มาทำการปรับปรุง โดยมีขั้นตอน ดังนี้
8.5.1 การปรับปรุงต่อเนื่อง (Continual Improvement)
สถานศึกษาใช้กระบวนการติดตาม แก้ไข กำกับภายใน การวิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล การปรับปรุงแก้ไข และการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ภายใต้ข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาปรับปรุงทุกภาคเรียนอย่างต่อเนื่อง
8.5.2 การปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) เพื่อให้การแก้ไขสิ่งที่ไม่พึงประสงค์หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกระบวนการเรียนการสอนและการให้บริการ สถานศึกษา จึงจัดให้มีการมาตรฐานในการปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ หรือปัญหาดังรายละเอียดที่กำหนดไว้ใน แนวปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action)
8.5.3 การปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action) สถานศึกษาจะต้องปฏิบัติเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษา อันเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน จึงได้จัดให้มีมาตรฐานในการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษา ดังรายละเอียดที่กำหนดไว้ใน แนวปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action)
ซึ่งข้อกำหนดทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะต้องปรากฏในคู่มือคุณภาพ (Quality Manual)
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที