มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 16 ส.ค. 2010 20.30 น. บทความนี้มีผู้ชม: 649284 ครั้ง

จากตอนที่ 1 เมื่อหลักการถูกนำมาประยุกต์แล้ว สภาพจริงจะดำเนินการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กลวิธี และสติปัญญาของผู้บริหาร


กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา

     กระบวนการหลักที่เกิดได้แก่   การประชาสัมพันธ์รับสมัคร     การรับเข้าเรียน  การเรียนการสอน   การสอบวัดผล  การจบการศึกษา 

     ในกระบวนการหลัก  หรือCore  Process  มีกระบวนการสนับสนุน  Support  Process  มากมาย  เช่น   กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ    เป็นต้น ซึ่งเป็นกระบวนการ ที่เกิดขึ้น  ในกระบวนการหลัก            
  กระบวนการสนับสนุน ได้แก่     
   

กระบวนการวัดผลและประเมินผลรายวิชา

                                                1)  นโยบาย

                                                     เพื่อดำเนินการจัดสอบ  ออกข้อสอบ  วัดผลและประเมินผลการเรียนในแต่ละรายวิชา  ให้ตรงตามหลักสูตร  มาตรฐานวิชาและจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชา

 

2)      ผู้รับผิดชอบ

        ฝ่ายวิชาการ

 

3)      หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(1)    ผู้บริหาร

(2)    ฝ่ายวิชาการ

(3)    หมวดวิชา

(4)    งานทะเบียน

(5)    อาจารย์ผู้สอน

 

                                                4)  การปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์

(1)    การจัดสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน

1.   รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการกำหนดตารางสอบกลางภาคเรียนและปลายภาค

เรียน  แจ้งต่อหัวหน้าหมวดวิชา อาจารย์ผู้สอน  และนักศึกษาให้ทราบโดยทั่วกัน

                                                                2.  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาค  ดำเนินการสอบตามวัน  เวลา  ที่กำหนดในตารางสอบให้ครบวันที่มีการสอบกลางภาคและปลายภาค  ให้กรรมการคุมสอบดำเนินการคุมสอบตามวัน  เวลา  ในตารางสอบ  ถ้ามีกรรมการคุมสอบขาดการคุมสอบให้จัดหา กรรมการคุมสอบแทน กรรมการคุมสอบ  ทำการเบิก -  รับข้อสอบ และแจกจ่ายข้อสอบให้นักศึกษาทำการสอบพร้อมทั้งจัดเก็บข้อสอบเมื่อสอบเสร็จ  ส่งมอบให้กรรมการกลางตรวจสอบความเรียบร้อยของการสอบแต่ละรายวิชา  เพื่อส่งคืนอาจารย์ผู้สอนให้ทำการตรวจข้อสอบต่อไป

(2)    การออกข้อสอบและตรวจให้คะแนน

1.  อาจารย์ประจำวิชาออกข้อสอบให้ครอบคลุมตามสาระการเรียนรู้และ

จุดประสงค์รายวิชาพร้อมจัดพิมพ์ข้อสอบให้เรียบร้อย  นำส่งหัวหน้าหมวดวิชาตามกำหนด

                                               

                                                                2.  หัวหน้าหมวดวิชาตรวจความถูกต้องของแต่ละรายวิชาและรวบรวมข้อมูลทุกรายวิชาแล้วนำส่งที่ฝ่ายวิชาการ

                                                                3.  ฝ่ายวิชาการ  หัวหน้างานวัดผลประเมินผลตรวจสอบความถูกต้องของข้อสอบทุกรายวิชา  และส่งข้อสอบที่ผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วไปยังงานโรเนียวข้อสอบ  เพื่อโรเนียวให้ครบตามจำนวนที่กำหนด

                                                                4.  อาจารย์ผู้สอนทำการเย็บและบรรจุข้อสอบให้ครบตามจำนวนนักศึกษาที่เข้าสอบในแต่ละห้องที่กำหนดไว้

                                                                5.  นำข้อสอบไปดำเนินการสอบตามตารางสอบที่กำหนดไว้ในแต่ละวันที่ทำการสอบ

                                                                6.  เมื่อทำการสอบเสร็จ  อาจารย์ผู้สอนทำการเบิกข้อสอบและกระดาษคำตอบนำไปตรวจให้คะแนน  เพื่อวัดผลและประเมินผลตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย  ประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช  2545  พ.ศ. 2547  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  พุทธศักราช  2546  พ.ศ. 2547

(3)    การวัดผลและประเมินผล

เมื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้นของแต่ละเทอม  อาจารย์ผู้สอนรวบ

รวมคะแนนระหว่างภาค  สอบกลางภาค  และปลายภาคของนักศึกษาแต่ละคน  นำมารวมคะแนน เข้าด้วยกันจากนั้นดำเนินการประเมินผลการเรียนเป็นระดับต่าง ๆ 8 ระดับ คือ 0, 1, 1.5 ,2 , 2.5, 3, 3.5 , 4  โดยให้หัวหน้าหมวดวิชารวบรวมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและส่งต่อฝ่ายวิชาการ

(4)    การอนุมัติและประกาศผลรายวิชา

ฝ่ายวิชาการรับผลการเรียนของแต่ละรายวิชาจากหมวดวิชาต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบ

ความถูกต้องหลังจากนั้นนำเสนอให้ผู้อำนวยการพิจารณาอนุมัติ  แล้วส่งให้งานทะเบียนไปบันทึกผลการเรียนทุกรายวิชา  พร้อมนำผลการเรียนไปปิดประกาศเพื่อแจ้งให้นักศึกษาทราบโดยทั่วกัน และงานทะเบียนก็ได้ดำเนินการส่งผลการเรียนของนักศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองให้ได้รับทราบผลการเรียนของนักศึกษาทุกระดับชั้นปีที่อยู่ในความปกครอง

                                                5)  การเฝ้าติดตามและการวัดกระบวนการ

(1)    ตรวจสอบตารางสอบกลางภาคและปลายภาค

(2)    ตรวจสอบการออกข้อสอบ  การจัดพิมพ์ข้อสอบ  โรเนียวข้อสอบ  และการบรรจุ

ข้อสอบ

(3)    ตรวจสอบการวัดผลของอาจารย์ประจำวิชาแต่ละรายวิชา

(4)    ตรวจสอบการประเมินผลของแต่ละรายวิชา

(5)    ตรวจสอบการบันทึกผลการเรียน  และปิดประกาศผลการสอบของงานทะเบียน

 

                                                6)  การเฝ้าติดตามและการวัดผลิตภัณฑ์

(1)    ข้อสอบที่ครอบคลุมสาระการเรียนและมาตรฐานวิชาชีพ

(2)    จำนวนนักศึกษาที่สอบผ่านแต่ละรายวิชา  ร้อยละ 90  ของนักศึกษาที่เข้าสอบใน

แต่ละรายวิชา

 

                                                7)  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

(1)    คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบ

(2)    ข้อสอบของแต่ละรายวิชาและสาขาวิชา

(3)    ระเบียบว่าด้วยการวัดผลประเมินผล

(4)    ประกาศผลการสอบของแต่ละภาคเรียนของทุกระดับชั้นปี

(5)    FM-AS-01  สมุดประเมินผล

(6)    ใบแจ้งผลการเรียน

 

 


        26724_mm.gif1. 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที