OpenSourceInitial

ผู้เขียน : OpenSourceInitial

อัพเดท: 12 ม.ค. 2009 08.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 488352 ครั้ง

ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งในประเทศไทยมีการใช้โปรแกรม โอเพ่นซอร์ส เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ และสามารถใช้งานได้ดี มีเสถีนรภาพสูง สิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการใช้โอเพ่นซอร์สมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่สามารถลงในวินโดว์ได้อย่าง OpenOffice.org ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือว่าเป็น โอเพ่นซอร์ส OS ตัวใหม่ที่ได้ความนิยมขณะนี้อน่าง Ubuntu


Open Source Maturity Mode [คำตอบสุดท้ายในการเลือกโอเพ่นซอร์สสำหรับองค์กร]

��������� คำถามหนึ่งที่มีผู้ถามมากที่สุดเกี่ยวกับโอเพ่นซอร์สคือ "มันพร้อมสำหรับใช้ในองคืกรแล้วหรือยัง?" แต่การล้อมกรอบปัญหาด้วยคำถามปลายอเป็นเช่นนี้หาได้มีประโยชน์ใดๆ ไม ยิ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์โอเพ่นซอร์สนับแสนๆ ตัว ใหคุณดาวนืดหลดได้ง่ายเพียงแค่คลิกเมาส์ ก็คงไม่มีผลิตภัณฑ์ใดตอบโจทย์ของคุณได้ทั้งมหด

��������� อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผลิตภัณฑ์โอเพ่นซอร์สจำนวนมหาศาลที่มีให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ต่างๆ ดูเหมือนไร้ค่าสำหรับองค์กรไอทีขนาดใหญ่ แต่ลองคิดดู หากมีเพียงร้อยละ 0.1 ของทั้งหมดที่องค์พอหยิบมาใช้ได้บ้าง ก็หมายความว่าจะมีผลิตภัณฑ์เกินกว่า 100 ตัวที่เดียวที่รอให้คุณประเมินความสมบูรณ์หร้อมในการใช้งาน (maturity)

��������� แต่เมื่อขาดระเบียบวิธ๊ที่แน่นอน ความสามารถในการประเมิณความสมบูรณ์พร้อมก็ย่อยถูกจำกัด แต่ไม่มีทางใดที่จะชี้จุดที่ผลิตภัณฑ์ควรได้รับการปรับปรุง นอกจากนี้ การขาดระเบียบวิธีประเมิณที่เป็นมาตรฐานยังทำให้องค์กรไม่สามารถเปรียบเทียบโอเพ่นซอร์สแบบหมัดต่อหมัดเพื่อหาตัวที่น่าสนใจที่สุดได้ บริษัท Navica จึงคิดโมเดลประเมิณความสมบูรณ์พร้อมที่มีชื่อว่า Open Source Maturity Model (OSMM) ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น

��������� OSMM จะประเมิณความสมบูรณ์พร้อมของผลิตภัณฑ์ใน 3 เฟส ด้วยกัน ได้แก่

��������� ๏ ประเมิณองค์ประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ (Assess Element Maturity)
��������� ๏ กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบ โดยพิจารณาจากความต้องการขององค์กร (Assign Weighting Factor)
��������� ๏ คำนวนคะแนนความสมบูรณ์พร้อมโดยรวมของผลิตภัณฑ์ (Calculate Product Maturity Score)

��������� แนวคิดของ OSMM เป็นไปดังรูปที่ 1 ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการของ OSMM ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างเฟสทั้งสาม


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที