OpenSourceInitial

ผู้เขียน : OpenSourceInitial

อัพเดท: 12 ม.ค. 2009 08.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 488186 ครั้ง

ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งในประเทศไทยมีการใช้โปรแกรม โอเพ่นซอร์ส เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ และสามารถใช้งานได้ดี มีเสถีนรภาพสูง สิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการใช้โอเพ่นซอร์สมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่สามารถลงในวินโดว์ได้อย่าง OpenOffice.org ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือว่าเป็น โอเพ่นซอร์ส OS ตัวใหม่ที่ได้ความนิยมขณะนี้อน่าง Ubuntu


Open Source Maturity Mode [ประเมินองค์ประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์]


          ฟส 1 : ประเมิณองค์ประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์
          
          เฟสแรกคือการระบองค์ประกอบที่สำคัญในตัวผลิตภัณฑ์ และประเมิณระดับความสมบูรณ์พร้อมของแต่ละองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่นำมาประเมิณจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อความสำเร็จในการติดตั้งใช้งานผลิตภัณฑ์ อันได้แก่

          ๏ ตัวซอฟต์แวร์เอง (Product Software)
          ๏ การสนับสนุนทางเทคนิค (Support)
          ๏ การจัดทำเอกสารคู่มือ (Documentation)
          ๏ การฝึกอบรม (Training)
          ๏ การผสมผสาน (Product Integrations)
          ๏ บริการที่ปรึกษา (Professional Services)

          แต่ละองค์ประกอบจะได้รับการประเมิณ และคิดคะแนนผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 : กำหนดความต้องการ (Define Requirements)
          จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ก็คือการกำหนดความต้องการขององค์กรในแต่ละองค์ประกอบขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าองค์กรต้องการติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์ทำแคชเว็บคอนเทนต์ องค์กรต้องหาว่าฟังก์ชันใดในซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต้องใช้บ้าง เช่น ต้องการลดการใช้แบนด์วิดธ์ หรือลดเวลาในการตอบสนองการทำงาน (response time)

ขั้นที่ 2 : ระบุแหล่งช่วยเหลือ (Lacate Resources)
          ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ หรือบางทีอาจจะไม่มีการสนับสนุนอย่างเป็นทางการเลยในบางผลิตภัณฑ์ การค้นหาช่วยเหลือในผลิตภัณฑ์โอเพ่นซอร์สจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย และมีหลากหลายวิธีในการค้นหาผู้ให้บริการติดตั้งซอฟตืแวรืโอเพ่นซอร์ส ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะใช้ฟอรัมค้นหาชื่อผู้ให้บริการที่สามารถตเมิตเมความต้องหารขององค์กรได้

ขั้นที่ 3 : ประเมินความสมบูรณ์พร้อม (Assess Maturity)
          ขั้นตอนนี้เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการระบุว่าองค์กรประกอบใดของซอฟต์แวร์มีประโยชน์ต่อองค์กรมากน้องเพียงใด โดยแบ่งระดับความสมบูรณ์ขององค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ "ไม่มีเลย (nonexisten)" จนถึง "พร้อมสำหรับใช้งานเต็มที่ (production-ready)"

ขั้นที่ 4 : ให้คะแนนความสมบูรณ์พร้อม (Assign Maturity Score)
          หลังจากสิ้นสุดการประเมินความสมบูรณ์พร้อมแล้ว ก็ถึงเวลาให้คะแนนความสมบูรณ์พร้อมตั้งแต่ 0 ถึง 10 เพื่อนตัดสินว่าองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์จะตอบโจทย์ขององค์กรได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งการให้คะแนนถือเป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของขั้นที่ 3

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที