Open Source Mugration [แนวทางการนำมาใช้]
แนวทางการนำมาใช้
เมื่อแต่ละส่วนงานในองค์กร เห็นพ้องต้องกันว่าซอฟต์แวร์เอเพ่นวอร์ส เป็นทางเลือกใหม่ขององค์กรก็เป็นขั้นตอนที่เราเลือกเข้ามาทดแทนซอฟตืแวร์เดิมในองค์กร ภายใต้แนวปฏิบัติต่อไปนี้
๏ เก็บข้อมูลการใช้ไอทีปัจจุบัน
ก่อนทำงาน เราควรศึกษาระบบไอทีในองค์กรก่อนว่า ส่วนงานไหนสามารถนำโอเพ่นซอร์สมาใช้งานได้บ้าง เพราะใช่ว่าทุกหน่วยงานในองค์กรจะสามารถใช้ซอฟต์แวร์ไอเพ่นซอร์สได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น OpenOffice ซึ่งจะนำมาใช้งานทดแทน MS Office ได้ หากหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนเอกสารกับบุคคลภายนอก การใช้ OpenOffice อย่างเต็มรูปแบบอาจจะไม่เหมาะสมนัก คงต้องควบคู่กันไป แต่หากเป็นหน่วยงานใช้เฉพาะเอกสารภายในก็สามารถใช้งาน OpenOffice ทดแทน MS Office ได้เต็มรูปแบบ เป็นต้น
๏ คาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของการนำโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมาใช้งานในองค์กรก็คือ เราควรคาดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยศึกษาข้อมูลของซอฟต์แวร์ที่จะนำมาใช้งานว่ามีปัญหาด้านใดบ้าง เช่น ความเข้าใจกันได้กับข้อมูลที่มีอยู่เดิม ความยากง่ายในการใช้ เพราะซอฟต์แวร์บางตัวอาจมีเมนูคำสั่ง หรือเมนูการใช้งานต่างไปจากโปรแกรมเดิมที่เคยใช้อยู่ ซึ่งสามารถสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ได้พอสมควรทีเดียว การคาดการเหล่านี้ เราใช้เรารับมือกับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมาได้ดีขึ้น
๏ ประเมินต้นทุนในการเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่ที่เราแนะนำในตอนที่ผ่านๆ มาจะสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ หรือเป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนสูง และมีขอบเขตการทำงานครอบคุมงานหลายส่วน เช่นโปรแกรม Collaboration หรือ ERP สำหรับองค์กรที่มีบุคคลกรด้านไอทีที่จำกัดอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะเข้ามาดูแลจัดการทั้งในเรื่องติดตั้งและแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ด้วยเหตูนี้องค์กรก็ควรประเมินกำลังคนฝ่ายไอทีด้วยว่า พร้อมรับมือกับโปรแกรมที่จะนำมาใช้หรือไม่ เพราะหากกำลังไม่พอ ก็ต้องเตรียมงบประมาณสำหรับโอเพ่นซอร์ส จ้างบริษัทที่ปรึกษาภายนอกเข้ามาดูแลเป็นการเฉพาะ
๏ ทดลองนำไปใช้งาน
การเปลี่ยนการใช้งานมาใช้โอเพ่นซอร์สมาใช้งานทั้งองค์กรแบบทันทีทันใด ก็ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ในระยะเริ่มต้นของการนำโอเพ่นซอร์สมาใช้งานในองค์กร เราควรทำลองนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปใช้งานในวงแคบ ซึ่งแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้ก็คือ เริ่มจากส่วนกระทบกับผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้น้อยส่วนที่สุด จากนั้นค่อยพัฒนาไปยังส่วนอื่นๆ ที่กระทบกับผู้ใช้มากขึ้น โดยเลือกหน่วยงานหรือแผนกนำร่องมาสักแผนกหนึ่ง มาทดลองใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ต้องการ นำมาติดตั้วกับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิม นำข้อมูลที่มีอยู่เดิมมาเปิดใช้งาน ศึกษาดูว่าเกิดปัญหาอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางเทคนิค หรือปัญหาจากผู้ใช้เอง จากนั้นทำงานศึกษาแนวทางแก้ไขต่อไป
จากนั้นก็มีการวัดผลด้วยว่า การนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
มาใช้งานนั้น มีความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาที่เกิด และมูลค่าเงินที่ประหยัดได้หลักจากสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ควรจัดให้มีการอบรมพนักงานให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่จะนำมาใช้งาน และเรียบรู้วิธีการใช้งาน รวมถึงแนวทางแก้ไปญหาเบื้องต้นด้วยตนเอง
นอกจากนี้ องค์กรต้องมอบหมายหน้าที่บุคลากรที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาด้วย หรือหากเป็นดปรแกรมขนาดใหญ่ อาจจะต้องมีการเอาต์ซอร์ส จ้างบริษัทภายนอกเข้ามาดูแล
เพื่อนให้การติงตั้งทำงานในแต่ละส่วนงานเป็นไปอย่างราบรื่น ในระยะแรก เราอาจจำเป็นต้องใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปกับโปรแกรมเดิมที่ใช้งานอยู่เพื่อให้เกิดความชำนาญและลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะกำหนดระยะเวลาการใช้งานประมาณ 1-3 เดือน จากนั้นจึงเริ่มทยอยนำโปรแกรมเดิมออกไป แล้วนพซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเข้ามาแทนที่อย่างเต็มรูปแบบต่อไป
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที