องค์กรเอกชนรุ่นแรกของไทยที่ประสบความสำเร็จในการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไปใช้งานทั้งองค์กร
เชวง จิตรสมบูรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานไอทีไทยประกัน ชีวิตมีชื่อเรียกว่า กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 สายงาน และแยกย่อยออกเป็น 10 ส่วนที่ประกอบด้วยทีมงานทั้งสิ้น 66 คน ได้ถ่ายทอดประสบการณ์จากการพัฒนาระบบไอทีขององค์กรแห่งนี้มาอย่างยาวนาน และถือเป็นองค์กรของคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่มีการนำเอาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้อย่างอย่างจริงจัง จนกระทั่งในปัจจุบันซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สถือเป็นตัวขับเคลื่อนระบบไอทีของ ไทยประกันชีวิตให้มีความแข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพสูง
พัฒนาการด้านระบบสารสนเทศของไทยประกันชีวิต
ระบบไอทีเป็นสิ่ง จำเป็นอย่างยิ่งในธุรกิจประกันชีวิต เนื่องจากมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานและมีธุรกรรมเกิด ขึ้นจำนวนมากต่อวัน มีการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลายทั้งในรูปแบตช์ และเรียลไทม์ ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในธุรกิจประกันชีวิตถือได้ว่าเป็นระบบซอฟต์แวร์ ขนาดใหญ่ บริษัทประกันชีวิตระดับข้ามชาติบริษัทหนึ่งที่มีปริมาณข้อมูลและการประมวลผล ใกล้เคียงกับไทยประกันชีวิตได้เปลี่ยนโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับธุรกิจประกัน ชีวิตเป็นชุดใหม่ในปี พ.ศ.2548 นี้ โดยมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จสำหรับระบบไอทีใหม่นี้ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท ส่วนไทยประกันชีวิตอันเป็นบริษัทของคนไทยได้พัฒนาโปรแกรมใช้เองทั้งหมดครบ วงจรด้วยบุคลากรของบริษัทมาตั้งแต่เริ่มต้น
เหตุผลของการเปลี่ยนจากซอฟต์แวร์แบบปิดมาเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
เหตุผล สำคัญที่สุดในการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สคือ อิสรภาพ (Freedom) ผู้ที่เคยเป็นทุกข์จากการเสพย์ติดซอฟต์แวร์แบบปิดจะซาบซึ้งในคุณค่าของ อิสรภาพที่ได้จากโอเพ่นซอร์สเป็นอย่างดี ซอฟต์แวร์ใดๆ ไม่ว่าจะเปิดหรือปิดก็ทำให้เสพย์ติดได้ทั้งนั้น
ปัจจัยที่ทำให้เสพย์ติดมี 2 ประการ
ประการแรกคือ ต้นทุนในการเรียนรู้ การที่จะใช้ซอฟต์แวร์ใดๆ ได้ก็ต้องเรียนรู้จนเข้าใจในระดับที่สามารถสั่งการซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้ เช่น ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้เวลาวันละ 2 ชั่วโมงเพียง 1 อาทิตย์ก็สามารถเรียนรู้การใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี หรือ Ubuntu Linux หมดแล้วว่าอะไรที่ต้องการอยู่ตรงไหน และเรียกใช้อย่างไร แต่สำหรับผู้ดูแลระบบอาจต้องใช้เวลากับซอฟต์แวร์ตัวเดียวกันนี้วันละ 7 ชั่วโมงเป็นเวลา 7 ปีกว่าจะเรียกตัวเองได้อย่างมั่นใจว่าเป็นผู้ดูแลระบบ นั่นคือซอฟต์แวร์ทุกตัวมีต้นทุนในการเรียนรู้ทั้งสิ้น
ประการที่สองคือ ความจำเป็น เมื่อเข้าใจ ใช้คล่องก็ต้องเห็นคุณค่า กลายมาเป็นความจำเป็น และในที่สุดก็เป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้
ต้นทุนในการเรียนรู้และความจำเป็นคือสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ไม่ต้อง การเลิกใช้หรือเปลี่ยนไปใช้ตัวอื่น สำหรับบางคนการเสพย์ติดซอฟต์แวร์อาจไม่ก่อให้เกิดทุกข์เพราะอาจไม่ได้สูญ เสียอะไรที่ทำให้เป็นทุกข์ แต่ขอให้พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
บริษัท ก เป็นบริษัทขนาดกลางมีพนักงาน 1,000 คน มีพนักงานที่ใช้โปรแกรมจัดทำเอกสาร 500 คน อยู่มาวันหนึ่งบริษัทได้ทราบว่าต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ของโปรแกรมจัดทำเอกสาร นั้น 500 ชุดๆ ละ 20,000 บาทเป็นเงิน 10 ล้านบาท มิฉะนั้นบริษัทอาจถูกฟ้องร้องเป็นเงินมากกว่านั้นหลายเท่าตัว กรรมการผู้จัดการอาจต้องไปนั่งทำงานในคุก แม้บริษัทจะสั่งให้เลิกใช้โปรแกรมนั้นและให้ใช้โปรแกรมโอเพ่นซอร์สแทน แต่พนักงานก็อ้างว่าแฟ้มเอกสารที่มีอยู่เป็นหมื่นหน้าไม่สามารถใช้กับ โปรแกรมโอเพ่นซอร์สได้ งานเก่าต้องพิมพ์ใหม่หมดซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และโปรแกรมโอเพ่นซอร์สก็ใช้งานยากมาก มีข้อผิดพลาดเต็มไปหมด ในที่สุดบริษัทก็ต้องจ่ายเงินสรุปว่าเหตุผลสำคัญในการเปลี่ยนจากระบบปิดมา เป็นระบบเปิดก็เพราะต้องการอิสระนั่นเอง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที