OpenSourceInitial

ผู้เขียน : OpenSourceInitial

อัพเดท: 12 ม.ค. 2009 08.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 488424 ครั้ง

ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งในประเทศไทยมีการใช้โปรแกรม โอเพ่นซอร์ส เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ และสามารถใช้งานได้ดี มีเสถีนรภาพสูง สิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการใช้โอเพ่นซอร์สมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่สามารถลงในวินโดว์ได้อย่าง OpenOffice.org ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือว่าเป็น โอเพ่นซอร์ส OS ตัวใหม่ที่ได้ความนิยมขณะนี้อน่าง Ubuntu


ไทยประกันชีวิต เดิมพันธุรกิจบนซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส 2


          งค์ประกอบของโซลูชันด้านซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่เลือก และเหตุผลในการเลือกใช้โซลูชันดังกล่าว
หลัง จากปีพ.ศ. 2543 ไทยประกันชีวิตตระหนักว่าระบบไอทีของบริษัทเริ่มล้าสมัย ไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ได้แล้วและยังมีความหลากหลายของระบบซึ่งทำให้ดูแลรักษายาก ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพนี้ได้ต่อไป สมควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง โซลูชันที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมิได้เกิดจากความคิดในชั่ววัน เดือน หรือปีเดียว แต่เป็นวิวัฒน์ที่ยาวนานกว่า 3 ปี โดยมีขั้นตอนและเหตุผลประกอบดังต่อไปนี้

          ขั้นที่ 1: เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนางาน ซึ่งเดิมเป็นภาษา C แล้วเปลี่ยนใหม่เป็น Java แม้ว่าจาวาจะไม่ใช่โอเพ่นซอร์สในความหมายของ GNU แต่ก็มีความเปิดเผยและเสรีในระดับชุมชนนักพัฒนาจาวายอมรับได้ แต่จาวามีข้อดี 2 ประการคือ เป็นเครื่องมือพัฒนาระบบที่ครบถ้วน ใช้พัฒนางานได้แทบทุกรูปแบบทุกขนาด และรหัสของจาวาวิ่งได้แทบทุกแพลตฟอร์ม เมื่อตัดสินใจใช้จาวาแล้วก็เริ่มทำการพัฒนางานได้เลยโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะไป วิ่งบนแพลตฟอร์มไหน

          ขั้นที่ 2: เลือกฮาร์ดแวร์ที่จะใช้ เดิมไทยประกันมีฮาร์ดแวร์หลายตระกูล ต้องมีผู้เชี่ยวชาญหลายด้านเป็นปัญหามาก ถึงตอนนี้เห็นสัจธรรมแล้วไม่ต้องเลือกเพราะมีอยู่ตัวเดียวคือ ตระกูลอินเทล ซึ่งก็คือเครื่องพีชีที่ถือว่าเป็นฮาร์ดแวร์ระบบเปิดที่แพร่หลายที่สุด มีผู้ผลิตอยู่หลายราย ไม่มีใครผูกขาด มีหลายขนาดหลายราคา และยังมีระบบปฏิบัติการให้เลือกได้อีกหลายตัว

          ขั้นที่ 3: เลือกระบบปฏิบัติการ เดิมไทยประกันมีการใช้ระบบปฏิบัติการหลากหลายตั้งแต่ ดอส เน็ตแวร์ วินโดวส์ เอชพียูนิกซ์ โซลารีส และลีนุกซ์ แต่เมื่อมาถึงจุดนี้ก็เหลือให้พิจารณาเพียง 2 ตัวคือ วินโดวส์ และลีนุกซ์ในเครื่องระดับเซิร์ฟเวอร์ตัดสินใจง่ายไม่ลังเลคือเป็นลีนุกซ์ เพราะเท่าที่ผ่านมาก็คุ้นเคยกับตระกูลยูนิกซ์อยู่แล้ว แต่ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณา มากมาย จนปีพ.ศ.2546 จึงได้บทสรุปข้อเปรียบเทียบระหว่างวินโดวส์ และลีนุกซ์สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะไว้ดังนี้
 

          * การสนับสนุนระบบ Java ที่ใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทำได้เสมอกัน

          * ความยุ่งยากในการใช้งาน สำหรับพนักงานไทยประกันชีวิตส่วนใหญ่ไม่เคยใช้ GUI มาก่อนจึงมีความยากง่ายเสมอกัน ส่วนผู้ที่คุ้นเคยกับโปรแกรมต่างๆ ในวินโดวส์มาแล้วย่อมเห็นว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นภาระและมีอคติกับลี นุกซ์ตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้

          * ความเสถียรของระบบ จากประสบการณ์ที่ใช้งานจริงในระดับเวิร์กสเตชัน พบว่าวินโดวส์ 98/เอ็กซ์พีมีโอกาสล่มมากกว่าลีนุกซ์ และพบว่าบรรดาไวรัสส่วนใหญ่จะชมชอบการโจมตีวินโดวส์มากกว่าลีนุกซ์ แต่ข้อที่ชัดเจนก็คือ ลีนุกซ์ก็คือยูนิกซ์ที่เขียนเคอร์แนลขึ้นมาใหม่ นอกนั้นมันก็คือ GNU/Unix ที่ได้ผ่านการถ่ายเทไปติดตั้งในเครื่องหลากหลายยี่ห้อหลายขนาดและใช้งานมา นานนับสิบปี โปรแกรมบางตัวอาจถ่ายไปวิ่งบนระบบปฏิบัติการอื่นเสียด้วยซ้ำ ทำให้มั่นใจได้ว่าลีนุกซ์นั้นทั้งเสถียรและสะอาด

          * ประสิทธิภาพในการทำงาน ในด้านเซิร์ฟเวอร์ไม่อาจรู้ได้ เพราะต่างก็มีข้ออ้างอิงที่ถกเถียงกันสับสน แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าไม่น่าจะแตกต่างกันสักเท่าไร แต่ในระดับเวิร์กสเตชันพีซี วินโดวส์แสดงผลบน GUI ได้รวดเร็วกว่าลีนุกซ์ ทั้งนี้เป็นเพราะวินโดวส์ฝัง GUI ไว้ในระบบปฏิบัติการซึ่งก็มีข้อเสียเปรียบลีนุกซ์ในอีกหลายด้าน เช่น ลีนุกซ์ อาจเปลี่ยนยี่ห้อของ GUI ได้หรือไม่ใช้ GUI ก็ได้ ซึ่งทำให้ลีนุกซ์ใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยความจำน้อยลง หรือนำทรัพยากรไปใช้ทางอื่น ฯลฯ

          * ความยากในการแก้ปัญหา ได้พบว่านักเขียนโปรแกรมทั่วๆ ไปมีความเชื่อว่าใช้วินโดวส์จะได้การสนับสนุนที่ดีกว่าลีนุกซ์ เพราะเห็นว่ามีคนใช้วินโดวส์มากกว่า ใครๆ ก็รู้จักและใช้วินโดวส์เป็น แต่จากประสบการณ์ที่ได้เคยเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการทั้ง 2 ชุดมาแล้วไม่น้อยกว่ากันสักเท่าไร มีความเห็นว่าความรู้ในวินโดวส์ที่คนทั้งหลายมีอยู่นั้นเป็นเพียงระดับการ ใช้งานซึ่งไม่อาจเทียบได้กับความรู้ระดับภายในระบบปฏิบัติการซึ่งมีโอกาส สร้างปัญหาให้กับผู้พัฒนาระบบโปรแกรมได้อย่างสาหัสไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ หรือลีนุกซ์ แต่การสนับสนุนการแก้ปัญหาในระดับลึกนั้นสำหรับวินโดวส์ คงจะมีแต่บริษัทไมโครซอฟท์เพียงเจ้าเดียวเพราะเป็นระบบปิด ในด้านตำราวิชาการ (ไม่นับประเภท Howto) ลีนุกซ์สามารถใช้ของยูนิกซ์ซึ่งมีอยู่แล้วมากมายได้เลยและก็เปิดเผยให้เห็น ได้ในทุกระดับ ส่วนในอินเทอร์เน็ตข่าวสารข้อมูลในทุกระดับของลีนุกซ์/ยูนิกซ์มีมากมายเต็ม ไปหมดแม้กระทั่งซอร์สโค้ด จะเห็นได้ว่านาย Linus Trovalds สามารถสร้าง Unix Derivatives ใหม่ขึ้นมาได้ก็เพราะอินเทอร์เน็ต ในด้านนี้จะเห็นว่าวินโดวส์ไม่อาจเทียบลีนุกซ์ได้

          * การสนับสนุนอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ข้อนี้เป็นจุดอ่อนของลีนุกซ์ที่ไม่อาจเทียบได้กับวินโดวส์ เพราะอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฯลฯ จะต้องต่อกับวินโดวส์ได้เป็นหลัก แต่สำหรับไทยประกันชีวิตได้ทำการสำรวจและประเมินสถานการณ์แล้วสรุปว่า เราไม่ได้ใช้อุปกรณ์แปลกประหลาดอะไรนอกจากเครื่องพิมพ์ชื่อดัง 2-3 ยี่ห้อซึ่งลีนุกซ์สามารถต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้อยู่แล้ว

          * ระบบโปรแกรมชุดสำนักงาน Microsoft Office ทำได้ดีกว่า OpenOffice แต่ OpenOffice รุ่นล่าสุดก็มีความสามารถเพียงพอที่จะทำงานเอกสารภาษาไทยได้อย่างราบรื่นสวย งาม ยกเว้นกรณีที่นำข้อมูลจาก Microsoft Office มาใช้ใน OpenOffice

          * ค่าใช้จ่ายวินโดวส์บวกกับ Microsoft Office มีราคาประมาณ 25,000 บาทต่อ 1 ชุด ไทยประกันชีวิตเปลี่ยน เวิร์กสเตชันใหม่ในปีพ.ศ. 2548 มากถึง 2,200 ตัว ถ้าลงซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวนี้แบบถูกกฎหมายจะมีค่าใช้จ่ายมกกว่ากว่า 50 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นลีนุกซ์ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย

          สรุปจากข้อเปรียบเทียบข้างต้น ไทยประกันชีวิตจึงตัดสินใจเลือกใช้ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการเดียวทั้ง เซิร์ฟเวอร์ และเวิร์กสเตชัน ยกเว้นในระบบที่จัดซื้อจัดหาจากภายนอกและกำหนดให้ใช้วินโดวส์ และในเครื่องที่ใช้งานเดี่ยวๆ ซึ่งใช้งานวินโดวส์อยู่แล้ว ปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่เป็นระบบแกนหลักทางธุรกิจไทยประกันชีวิตล้นแล้ว แต่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทั้งสิ้น

          เมื่อเลือกลีนุกซ์ก็จะได้โปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่วิ่งในลีนุกซ์มาใช้อีกมาก ไทยประกันได้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สดังต่อไปนี้ OpenOffice,  Lexitron,  Xsane,  FireFox,  Xming,  Wildfire & Gaim,  sugarCRM  Vega III,  kfax , Evolution,  Borg , ganttProject  และซอฟต์แวร์ยูทิลิตี้ เช่น Calculator,  Gedit  เป็นต้น


"สรุปว่าเหตุผลสำคัญในการเปลี่ยนจากระบบปิดมาเป็นระบบเปิดก็เพราะต้องการอิสรภาพนั่นเอง"

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที