OpenSourceInitial

ผู้เขียน : OpenSourceInitial

อัพเดท: 12 ม.ค. 2009 08.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 488351 ครั้ง

ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งในประเทศไทยมีการใช้โปรแกรม โอเพ่นซอร์ส เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ และสามารถใช้งานได้ดี มีเสถีนรภาพสูง สิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการใช้โอเพ่นซอร์สมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่สามารถลงในวินโดว์ได้อย่าง OpenOffice.org ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือว่าเป็น โอเพ่นซอร์ส OS ตัวใหม่ที่ได้ความนิยมขณะนี้อน่าง Ubuntu


โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ . . . คำตอบทางไอทีและธุรกิจที่ เอส แอนด์ พี 1


          อส แอนด์ พี ไม่ได้มองการใช้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์เฉพาะในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย เท่านั้น แต่ยังมองที่ความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากระบบที่พัฒนาขึ้นมา

          บริษัท เอส แอนด์ พี จำกัด (มหาชน)  ประกอบธุรกิจร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ รวมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ “เอส แอนด์ พี” โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 3 ประเภท คือ ร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ในประเทศซึ่งเปิดดำเนินการสาขาร้านอาหารและสาขา ร้านเบเกอรี่ทั่วประเทศภายใต้ชื่อร้าน “S&P”, “Patio”, “Patara”, “Vanilla ”, “ มังกรทอง ” และร้านกาแฟ “Bluecup” โดยปัจจุบันมีจุดขายทั้งขนาดเล็กและใหญ่ในประเทศรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 270 แห่ง และร้านอาหารในต่างประเทศมีบริษัท เอส แอนด์ พี โกลเบิล จำกัด เป็นผู้บริหารร้านอาหารสาขาของเอส แอนด์ พีในต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 18 สาขา ภายใต้ชื่อร้าน “Patara”, “Siam Kitchen”, “Thai” และ “Patio” 

          ผลิตและจำหน่ายสินค้าเบเกอรี่ อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกและแฮม เส้นพาสต้า สีและกลิ่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารภายใต้ชื่อ “S&P”, “Delio”, “ Patio”, “Vanilla”, “Bluecup” และ “Royallee” ผ่านสาขาร้านอาหารและเบเกอรี่ และซูเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ

          การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น การจัดเลี้ยงและบริการส่งถึงบ้านที่ให้บริการสั่งอาหารผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1344 และเว็บไซต์ www.snpfood.com เพื่อจัดส่งอาหารถึงบ้าน การขายสินค้าผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายอื่น เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้า โดยขายส่งอาหารแช่งแข็งสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ทั่วประเทศ 

ความท้าทายทางธุรกิจ

          ม. ล. ลือศักดิ์ จักรพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และผู้จัดการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความท้าทายทางธุรกิจที่บริษัท เอส แอนด์ พี จำกัด (มหาชน) เผชิญในการทำธุรกิจอาหารที่มีความหลากหลายว่า “เนื่องจากด้วยจำนวนสาขามากมายกว่า 200 สาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และในต่างประเทศ ประกอบกับธุรกิจของเอส แอนด์ พี ค่อนข้างมีความหลากหลายทั้งด้านการผลิต และการจัดจำหน่าย เช่น การผลิตเพื่อขายเอง ผลิตส่งออก ผลิตให้ผู้อื่นนำไปขายต่อ ผลิตให้เอส แอนด์ พี เอาไปใช้เอง หรือผลิตเพื่อให้เอส แอนด์ พีนำไปผลิตต่อ เป็นต้น จึงทำให้ระบบไอทีตลอดจากข้อมูลต่างๆ ของเอส แอนด์พี มีความซับซ้อนสูงตามไปด้วย

          ขณะเดียวกันด้วยจำนวนผู้ใช้ที่มีจำนวนนับพันรายทำให้เอส แอนด์ พีต้องรับภาระหนักในเรื่องของการลงทุนทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์ ซึ่งหากใช้ซอฟต์แวร์แบบปิดทั้งหมดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงมาก ดังนั้น การใช้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์จึงเป็นวิธีที่เอส แอนด์ พีใช้รับมือกับความท้าทายดังกล่าวนี้ และได้กลายเป็นกลยุทธ์ด้านการลงทุนทางด้านไอทีขององค์กรแห่งนี้มาจนถึง ปัจจุบัน

          ม.ล. ลือศักดิ์ เน้นย้ำกลยุทธ์หลักของเอส แอนด์ พี ว่า “กลยุทธ์การลงทุนทางด้านไอทีของเรา นอกเหนือจากระบบหลักที่เป็นซอฟต์แวร์แบบปิดแล้ว ระบบอื่นๆ ที่เหลือต้องเป็นโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ทั้งหมด”

          นอกจากนี้ ด้วยจำนวนผู้ใช้ระบบไอทีนับพันคนที่กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งองค์กร และผู้ใช้จำนวนมากมีฟังก์ชั่นการทำงานเฉพาะที่ทำให้ไม่สามารถเจียดเวลามาใช้ ในการฝึกอบรมระบบต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาได้ ทำให้ฝ่ายไอทีต้องหาทางลดเวลาในการฝึกอบรมผู้ใช้ให้น้อยที่สุด หรือไม่ต้องมีการฝึกอบรมเลย

พัฒนาการด้านไอทีของเอส แอนด์ พี
          ม.ล. ลือศักดิ์ เปิดเผยว่า พัฒนาการด้านระบบไอทีของเอส แอนด์พี เกิดขึ้นจาก 2 ทิศทาง โดยทิศทางแรกมาจากสำนักงานส่วนหน้า (ฟรอนต์ออฟฟิศ) ที่เริ่มมีการนำระบบ POS (point of sale) และระบบคอลล์เซ็นเตอร์มาใช้งาน เริ่มต้นจากการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์จนกระทั่งปัจจุบันเป็นการส่งผ่าน ระบบ VPN (Virtual Private Network) คือ เมื่อคอลล์เซ็นเตอร์ได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาก็สามารถสั่งให้ระบบพิมพ์ใบสั่ง ซื้อที่เครื่องพิมพ์ของสาขาซึ่งมีพรินต์เซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ได้ทันที

          ระบบไอทีอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากสำนักงานส่วนหลัง (แบ็กออฟฟิศ) นั้นเติบโตมาจากระบบวางแผนด้านวัตถุดิบ  (Material Resource Planning –MRP) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแกนกลางของระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) ที่ปัจจุบันทางเอส แอนด์ พี ได้แปลงระบบให้ทำงานผ่านเว็บ (web-based)  แล้ว

          การแปลงระบบให้ทำงานผ่านเว็บดังกล่าวนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการทำ ให้เอส แอนด์พี สามารถเปลี่ยนระบบมาเป็นโอเพ่นซอร์สได้ง่ายขึ้น แม้ว่าแอพพลิเคชั่นหลักที่ใช้งานอยู่จะยังคงเป็นระบบปิดอยู่ก็ตาม แต่เว็บได้ช่วยให้เอส แอนด์ พี สามารถนำโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์หลากหลายชนิดมาเชื่อมต่อให้ทำงานรอบๆ แอพพลิเคชั่นหลักตัวเดิมได้สะดวกยิ่งขึ้น

หลักเกณฑ์ในการเลือกโซลูชั่น
          ในแง่หลักเกณฑ์การเลือกใช้โอ เพ่นซอร์สซอฟต์แวร์เพื่อนำรับมือกับความท้าทายต่างๆ ข้างต้นนั้น ม.ล. ลือศักดิ์ กล่าวว่า “ปรัชญาสำคัญของผมในการใช้โอเพ่นซอร์สก็คือ โอเพ่นซอร์สไม่สามารถใช้แทนทุกสิ่งทุกอย่างได้ เพราะฉะนั้นเราจึงยังคงใช้ระบบ ERP ตัวเดิมต่อไป เพียงแต่อัพเกรดให้ทำงานผ่านเว็บได้ ซึ่งทำให้สามารถผนวกกับโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนเว็บซึ่งเชื่อมต่อ อยู่รอบๆ ระบบ ERP ได้ดียิ่งขึ้นในระดับ near-realtime ทีเดียว” 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที