OpenSourceInitial

ผู้เขียน : OpenSourceInitial

อัพเดท: 12 ม.ค. 2009 08.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 489590 ครั้ง

ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งในประเทศไทยมีการใช้โปรแกรม โอเพ่นซอร์ส เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ และสามารถใช้งานได้ดี มีเสถีนรภาพสูง สิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการใช้โอเพ่นซอร์สมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่สามารถลงในวินโดว์ได้อย่าง OpenOffice.org ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือว่าเป็น โอเพ่นซอร์ส OS ตัวใหม่ที่ได้ความนิยมขณะนี้อน่าง Ubuntu


CAT Telecom โซลูชันรักษาความปลอยภัยและจัดการเครือข่ายด้วยโอเพ่นซอร์ส 3


ารใช้งาน SRAN ของ กสท

          กสท นำโซลูชัน SRAN ไปใช้งานในส่วนของกลุ่มธุรกิจ Cyfence โดยเป็นการให้บริการลูกค้าสำหรับระบบป้องกันการคุกคามทางระบบเครือข่าย ได้แก่ IDS ซึ่งจะคอยตรวจจับการบุกรุกของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี รวมไปถึงข้อมูลจำพวกไวรัสด้วย โดยสามารถทำการ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านเข้าออกภายในเครือข่ายว่า มีลักษณะการทำงานที่เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความ เสียหายต่อระบบเครือข่ายหรือไม่ 

          IPS ระบบที่มีลักษณะเช่นเดียวกับระบบ IDS แต่มีความ สามารถพิเศษมากกว่าระบบ IDS กล่าวคือ เมื่อตรวจพบข้อมูลที่มีลักษณะการทำงานที่เป็นความเสี่ยงต่อระบบเครือข่าย ก็จะทำการป้องกันข้อมูลดังกล่าวนั้น ไม่ให้เข้ามาภายในเครือข่ายได้

          รวมถึง Firewall การป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และใช้เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลจราจรเครือข่าย เพื่อทำการเปรียบเทียบตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ 2550 (Log Compliance) ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเท่าที่ผ่านมา กสท มีความพึงพอใจของการนำโซลูชัน Sran มาใช้งาน มีความพึงพอใจสูงมาก ทั้งในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนหลังการขาย

เหตุผลการเลือกใช้
          เหตุผลที่ กสท เลือกผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาต่อยอดจากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และผลิตภัณฑ์โดยคนไทยอย่าง SRAN มาใช้งาน ขณะที่องค์กรหลายแห่งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ เกิดจากที่ผ่านมา กสท ได้นำโปรแกรมโอเพ่นซอร์สต่างๆ  มาใช้ทั้งใช้งานจริงจังภายในองค์กรอยู่แล้วและจากการได้ศึกษาดูงานในหลายที่ จึงทราบว่าในผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์รักษาความปลอดภัยจากต่างประเทศหลายๆ ตัว   ก็ใช้พื้นฐานของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น กัน  ไม่ว่าจะเป็นโซลูชันด้าน VoIP หรือฮาร์ดแวร์รักษาความปลอดภัยของ SRAN ที่เราใช้งานอยู่  และจะเห็นได้ว่าโปรแกรมโอเพ่นซอร์สหลายตัวก็ได้ถูกบริษัทชั้นนำของต่าง ประเทศซื้อกิจการไปก็มี  ดังนั้นข้อกังขาที่ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สจะสามารถนำมาใช้งานจริงในเชิงธุรกิจได้หรือไม่ ไม่มีอะไรต้องสงสัยอีกต่อไปแล้ว

          ซึ่ง กสท พบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากโปรแกรมโอเพ่นซอร์ส มีความน่าเชื่อถือสูงและสามารถลดต้นทุนลงได้ โดยเฉพาะเมื่อมีทางเลือกที่เป็นผลิตภัณฑ์ของคนไทยทำเองยิ่งเป็นสิ่งที่ดีและ ควรส่งเสริม เมื่อมีปัญหาเราก็สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้เร็ว สามารถที่จะประยุกต์ใช้งานได้ตามความต้องการที่เหมาะสมทั้งด้านความสามารถใน การใช้งาน และการแก้ไขปัญหา ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอการสนับสนุนจากผู้ผลิตที่อยู่ต่างประเทศ ที่สำคัญความสามารถของอุปกรณ์ที่ กสท ใช้งานอยู่ ก็มีความสามารถเทียบได้กับผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันจากต่างประเทศ

          การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยคนไทย ถือเป็นการเปิดกว้างและการให้โอกาสแก่ผู้พัฒนาโอเพ่นซอร์สคนไทยมีโอกาสเติบ โตและพัฒนาประสบการณ์มากยิ่งขึ้น หากเราไม่ส่งเสริม หรือไม่ให้โอกาสคนไทยกันเอง แล้วจะมีคนรุ่นใหม่ที่มีความกล้า ที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างไร

          ส่วนเหตุผลที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์จากต่างประเทศ น่าจะมาจาก ความไม่เข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีอย่างถ่องแท้ ทำให้ไม่มีความมั่นใจในการใช้งาน  เมื่อนำมาใช้งานแล้วติดขัด  เกิดปัญหา  ทำให้ไม่สามารถจะนำมาใช้งานเองได้จึงเลือกที่จะซื้อสินค้าสำเร็จจากต่าง ประเทศ ซึ่งมักจะมีราคาแพงเกินความจำเป็นต่อการใช้งาน


ตัวอย่างการใช้งานโอเพ่นซอร์สของ กสท
          1 ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย ใช้โซลูชัน SRAN ซึ่งพัฒนาต่อยอด
          2 ระบบอีเมล์ 
          3 ระบบ Call Center
          4 ระบบจัดการเครือข่าย
          5 ใช้โปรแกรม OpenOffice ทดแทนการใช้ MS Office

          การใช้งานโอเพ่นซอร์สด้านอื่นๆ ของ กสท
นอกจากโซลูชัน SRAN แล้ว ที่ผ่านมาทาง กสท มีนโยบายการพัฒนาและใช้โปรแกรมโอเพ่นซอร์สมานานพอสมควรทั้งการนำมาใช้เอง ทั้งการนำไปให้บริการกับลูกค้า รวมถึงการฝึกอบรมพนักงานในการใช้งานโปรแกรมโอเพ่นซอร์สต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้ใช้งาน ผู้ดูแลระบบ เช่น

          - ระบบอีเมล์ Mobile CDMA Mail ด้วยโปรแกรม Zimbra ซึ่งเป็นโปรแกรม Collaboration ระดับแนวหน้าในกลุ่มโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมีฟังก์ชันการทำงานค่อนข้างครบครัน

          - ระบบการให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์และอีเมล์ Trouble Ticket System ด้วยโปรแกรม OTRS ซึ่งเป็นส่วนช่วยเหลือระบบ Call Center เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า

          - ระบบเฝ้าดูระบบเครือข่าย (Network Monitoring) ด้วยโปรแกรม Zenoss

          - ทำบัญชีรายการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายทั้งหมดด้วย OCS Inventory

          - บริหารระบบเครือข่ายด้วย NetXMS โปรแกรมบริหารจัดการระบบเครือข่าย ทั้งในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุน SNMP เช่นสวิตช์หรือเราเตอร์

          - แอพพลิเคชันบนเครื่องเดสก์ทอปภายในองค์กร ในส่วนของแอพพลิเคชันบนเครื่องเดสก์ทอป กสท ก็มีนโยบายนำโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมาใช้งานด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การนำโปรแกรม OpenOffice มาใช้งานแทนโปรแกรม MS Office เป็นต้น

          ซึ่งแนวทางการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ จะมุ่งไปที่โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นลำดับแรก ทั้งหมดเป็นการพัฒนา เลือกใช้ แก้ปัญหา และฝึกอบรมผู้ใช้โดยทีมไอทีของ กสท เองทั้งหมด

          แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในองค์กรของ กสท ก็คือ องค์กรต้องมีการให้ความรู้กับพนักงานและผู้บริหารต้องมีนโยบายการผลักดันและ ส่งเสริมอย่างชัดเจนและแน่วแน่  รวมถึงการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งดูได้จากความจำเป็นของงาน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ความยากง่ายในการบำรุงรักษา

          กรณีศึกษาของ กสท และ Global Tech แสดงให้เห็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของการใช้งานโปรแกรมโอเพ่นซอร์สในแระเทศไทย และแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สไม่ได้เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่เข้ามาแก้ปัญหาด้านลิขสิทธิ์ และค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ให้แก่องค์กรเท่านั้น หากแต่ในปัจจุบันบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สคนไทย  ยังมองเห็นโอกาส นำโปรแกรมโอเพ่นซอร์สไปพัฒนาต่อยอด สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ และสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ให้เปิดกว้างด้วยเช่นกัน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที