คุณพงษ์ศักดิ์: อาจารย์ไปเจอและเริ่มสนใจ Linux จากในต่างประเทศเหรอครับผม?
อาจารย์นรินทร์:
ในระหว่างที่ได้ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศนั้น ก็เริ่มศึกษาระบบปฎิบัติการ Linux ในระดับหนึ่ง โดยครั้งแรกที่ได้ศึกษานั้นเริ่มมาจาก Linux Mandrake ทำให้อาจารย์ได้รู้ว่าในโลกนี้ยังมีระบบปฎิบัติการที่มากกว่า Dos หรือ Windows ดังนั้นอาจารย์จึงเริ่มสนใจในระบบ
ปฎิบัติการ Linux เมื่อกลับมาประเทศไทยจึ้งได้เริ่มทำ Linux Distro ใช้งานเอง แต่ไม่ได้มาการนำไปแจกจ่ายหรือใช้งานกันอย่างแพร่
หลาย เมื่อเริ่มใช้งานแล้วจึงพบว่าเหมือนกับหลุดออกจากวงโคจรของ Software แบบเดิม ๆ โดยอาจารย์เล่าให้ฟังว่าอาจารย์เห็นกลุ่มของ
Software ที่สามารถนำมาใช้งานได้ และสามารถพัฒนาต่อยอดได้ โดยตัวอาจารย์เองก็เป็นผู้ที่ชื่นชอบการพัฒนาโปรแกรม จุดนี้เองทำให้
อาจารย์เริ่มเล็งเห็น Software อย่าง Opensource Software ซึ่งมีข้อดีคือบางอันไม่ต้องพัฒนานำมาใช้ได้เลยเป็นอย่างดี บางอันอาจ
ต้องพัฒนาเพิ่มเพื่อให้ตรงตามความต้องการของเรา แต่ข้อดีคือมัน Opensource สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว โดยเมื่ออาจารย์ได้นำOpensource มาใช้ในมหาวิทยาลัย ก็รู้ว่ามันมีข้อดีอย่างไร ก็พยายามที่จะผลักดันให้หน่วยงานอื่นในองค์กรได้ใช้ด้วยโดยการชี้แจงถึงข้อ ดี
ต่าง ๆ ของ Opensource (แต่อาจารย์บอกว่ามันค่อนข้างที่จะเปลี่ยนได้ยากพอสมควร)
คุณพงษ์ศักดิ์ : อาจารย์เริ่มนำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปสู่นักศึกษาในภาควิชาอย่างไร?
อาจารย์นรินทร์ :
อาจารย์เล่าว่าสำหรับนักศึกษานั้นเริ่มจากความสนใจส่วนตัวของนักศึกษามากกว่า ซึ่งในสมัยก่อนการที่เครื่องสามารถ run ระบบ
ปฎิบัติการอื่นที่ไม่ใช่ Microsoft Windows ถือเป็นอะไรที่ว้าว และแปลกใหม่สำหรับนักศึกษาในนั้น เลยเกิดความสนใจในหมู่นักศึกษา
ที่จะทดลองใช้งาน และอยากให้คนอื่นลองใช้ด้วย โดยอาจารย์พยายามชีช่องว่าOpensource มันมีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจอย่างงั้นอย่างงี้นะ
ทำให้นักศึกษาเกิดความสนใจที่อยากจะใช้งาน ซึ่งอาจารย์ก็ได้เริ่มเชื่อมโยงว่า Lab ฟิสิกส์หรือวิชาฟิสิกส์มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับ
Software โดยอาจารย์พยายามจับเอาคอมพิวเตอร์มารวมกับฟิสิกส์ อย่างเช่น การทดลองแบบเก่า ๆ เรื่องการแกว่งตุ้มนาฬิกา ได้มีการ
นำ Software มาใช้ในการคำนวณในเรื่องพวกนี้ เป็นต้น และได้มีการจัดทำสื่อการสอนต่าง ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำสื่อการ
สอน โดยในช่วงแรก ๆ ปี 2000 นั้นกระแส PHP กำลังมาแรงจึ้งได้มีการพัฒนา Web Applicationง่ายที่ใช้ในการเตรียมสื่อการสอน
เพราะ PHP มีความสามารถใช้การคำนวณต่าง ๆ มาก ก็ได้ผลการใช้งานเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง
คุณพงษ์ศักดิ์: แล้วทุกวันนี้ชุดโปรแกรมที่พัฒนาด้วย PHP นั้นยังใช้งานอยู่หรือไม่?
อาจารย์นรินทร์:
ทุกวันนี้โปรแกรมที่พัฒนาเองเหล่านั้น มีของใหม่ที่มันดีกว่าของเก่าและสามารถนำมาใช้งานได้เลย โดยอาจารย์บอกว่าทาง
มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นมีฐานข้อมูลองค์ความรู้อยู่อย่างมหาศาล แต่ขาดการเผยแพร่ข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป ทางอธิการบดีและรอง
อธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยก็ได้มีแนวความคิดว่าน่าจะถึงเวลาที่จะนำเอาองค์ความรู้เหล่านั้นขึ้นสู่เว็ปไซต์ได้แล้ว และ
กลายเป็นว่าถ้าทั้งมหาวิทยาลัยต่างคนต่างทำอาจจะไม่ work ทางฝ่ายสารสนเทศจึงสรุปว่าน่าจะเป็นระบบกลาง ซึ่งก็มาลงตัวที่ LMS
(Learning Management System) อย่าง Moodle ที่เป็น Opensource Software และพบว่าตัว Moodle มีอะไรหลาย ๆ
อย่างที่ไม่ต้องทำสามารถนำมาใช้งานได้เลย โดยในมหาวิทยาลัยมหิดลเองก็มีการพัฒนาสื่อการสอนและองค์ความรู้ต่าง ๆ ในหลายคณะ
และหลายภาควิชา โดยใช้ Moodle เป็นเครื่องมื่อกลางในการพัฒนา โดยจะแบ่งกลุ่มของผู้ใช้ เป็นกลุ่มอาจารย์ที่มีความรู้อยู่แล้วก็จะ
จัดทำเลย ทั้งในส่วนของ Server และในส่วนของการติดตั้ง Moodle โดยฝ่ายสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญของ
การนำ Moodle มาใช้งาน ซึ่งน่าจะเป็นข้อสรุปว่าถ้าใครจะทำสื่อการสอนหรือองค์ความรู้ต่าง ๆควรที่จะจัดทำบน Moodle แต่จะจัดทำ
สื่อการสอนบน Moodle ระบบดับไหนนั้น อาจารย์บอกกับทีมงานเราว่าการทำสื่อการสอนมี 3 ระดับ คือ ระดับเสริม ระดับทวบทวน
และระดับแทน ในกรณีระดับเสริม คือนักศึกษาที่ต้องการจะใช้สื่อการสอนในระดับเสริมถ้าว่างก็สามารถมาใช้งานสื่อในระดับนี้ได้เลย
ถ้าไม่ว่างก็ไม่ต้องเข้าใช้งานสื่อในระดับนี้ก็ได้ ส่วนระดับทบทวนคือเรียนเสร็จแล้วต้องการทบทวนบทเรียน จะมีเอกสารและ Media
ต่าง ๆ ในการเรียนบทเว็ปทั้งหมด ซึ่งจะสามารถทบทวนได้เลย ส่วนอันสุดท้ายระดับแทนนั้น คือไม่ต้องมานั่งเรียนใน Class เรียนผ่าน
Moodle ที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ที่มี Internet โดยสังงานและสั่งการบ้านต่าง ๆ ผ่าน Moodle ทั้งหมด (หรือสรุปง่าย ๆ คือ การเรียน
การสอนผ่าน Internet ) โดยทางมหาวิทยาลัยมหิดลไม่แน้นการทำสื่อการเรียนการสอนในระดับแทน เพราะคิดว่าการเรียนต้องมีการ
ปฎิสัมพันธ์กันระหว่างนักศึกษาและอาจาร์ผู้สอน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะเน้นการทำสื่อแบบเสริม ซึ่งก็ถือเป็นมิติใหม่ของทางมหาวิทยาลัย
คุณพงษ์ศักดิ์: ใครที่จะทำสื่อการสอนก็ต้องมาใช้เครื่องมือตัวนี้หมดเลยหรือไม่?
อาจารย์นรินทร์:
ตอนนี้ยังไม่แน่ใจ ในส่วนของมหาวิทยาลัยว่าจะเริ่มยังไง แต่อาจจะเริ่มจากการอบรมบุคคลากรของทุกภาควิชาและทุกคณะแต่ว่า
Moodle นี้ต้องนำมาใช้แน่นอนในภาพรวม ซึ่งในตอนนี้สำหรับอาจารย์ท่านใดที่สามารถทำได้ก็ได้มีการเริ่มทำ และเปิดบริการให้กับ
นักศึกษาใช้งานกันแล้ว ซึ่งนะตอนนี้ Moodle น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการผลิตสื่อการสอน Online ในภาพรวม แต่จะใช้ยังไงยังไง
มีการกำหนดเป็นโยบายลงมาอย่างชัดเจน
คุณพงษ์ศักดิ์ : ในส่วนของอาจารย์ในฐานะที่เริ่มใช้งานมาก่อนมีการช่วยเหลือบุคคลากรและอาจารย์ในหน่วยงานเดี๋ยวกันหรือเปล่า?
อาจารย์นรินทร์:
ในส่วนของคณะวิทยาศาสตร์นั้นได้จัดตั้งคณะกรรมการออกเป็น 2 ชุด คือคณะกรรมการฐานข้อมูลและคณะกรรมการจัดการความรู้โดยอาจารย์บอกว่าทั้ง 2 มีความสัมพันธ์โดยการจัดการฐานข้อมูลเป็นพื้นฐานของการจัดการความรู้ โดยอาจารย์นรินทร์ได้เข้าไปมีส่วนร่วม
ในจุดนั้น โดยอาจารย์ได้พยายามผลักดัน Moodle เข้าไปโดยพยายามบอกข้อดีต่าง ๆ ของระบบ ซึ่งหลัง ๆ ก็พบว่าหลายภาควิชาในคณะ
วิทยาศาสตร์มีการใช้งาน Moodle ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน ก็รู้สึกดีใจที่มีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น และ Software Opensource
ได้เข้ามาเติบโตในจุดนี้เหมือนกัน
คุณพงษ์ศักดิ์: อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายว่า Moodle คืออะไร สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน?
อาจารย์นรินทร์:
สำหรับ Moodle นั้นเปรียบเสมือนผู้ช่วยครู เป็นผู้ที่ทำหนเก็บเอกสาร แจกเอกสารให้เด็ก จัดทำข้อสอบให้เด็ก รวมคะแนนให้
ประเมินผลให้ และติดตามให้ ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้ Moodle ในช่วงปี 2000 นั้นทางอาจารย์บอกกับเราว่าเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะสรุปว่า
Software อะไรดีหรือไม่ดี ซึ่งอาจารย์ก็ได้ทดลอง Opensource Software อย่าง Atutor Backboard และอีก 3-4 ตัว แต่ก็
มาจบที่ Moodle เพราะมีจุดเด่นหลายอย่าง เช่น การพิมพ์สมการต่าง ๆ ผ่าน Latex ได้เลย ซึ่ง Moodle มีคุณสมบัติในการพิมพ์สมการ
เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี สำหรับ Moodle นั้นคงไม่ใช่ครูแต่เป็นผู้ช่วยครูที่มีความสามารถ โดยในบางปีอาจารย์ได้มีการเปิดให้ทดสอบและ
รวมคะแนนต่าง ๆ ในรายวิชาที่อาจารย์สอนผ่าน Web เลย และทำการแจกเกรดเลย โดยเกรดที่ได้จากการทดสอบผ่าน Moodle จะเป็น
เกรดชุดเดียวกันกับที่ส่งให้ฝ่ายทะเบียน และ Moodle ยังช่วยในการปรับปรุงเนื้อหาการเรียนการสอนกับอาจารย์ผู้สอนได้อีกด้วย
คุณพงษ์ศักดิ์: Moodle ยากไหมสำหรับผู้ที่สนใจจะเริ่มและอยากเรียนรู้?
อาจารย์นรินทร์:
ก็คงต้องมองภาพรวมของผู้ที่จะใช้ Moodle ก่อนว่ามีใครบ้าง โดยอาจารย์แบ่งกลุ่มของอาจารย์ผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่ม
1.อาจารย์ผู้ใหญ่ (จะมีแนวโน้มว่าแบบว่าการเรียนการสอนแบบเดิมก็ได้ อาจไม่ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย)
2.อาจารย์ระดับกลาง (จะเริ่มมองว่าการเรียนการสอนสามารถใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยได้)
3.อาจารย์ระดับเล็ก (จะรู้สึกว่าการใช้คอมพิวเตอร์มามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นเรื่องปกติและกระตือรือร้นมาก)
เพราะฉะนั้นในมุมมองผู้ใช้ก็แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนที่อยากจะใช้,คิดว่าอยากจะใช้และคิดว่าไม่น่าใช้ ซึ่งแต่ละกลุ่มการเข้าไป
อธิบายหรือพูดคุยให้ความรู้นั้นย่อมมีลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยโดยอาจารย์ได้ยกเอาคำพูด
ของท่านอธิการที่กล่าวไว้ว่า (ในมหาวิทยาลัยนี้มีคนใช้งานตั้งแต่ Palm Top จนถึงดินสอในการจดข้อมูล) แต่แนวโน้มของ Moodle นั้น
มีการนำมาใช้กันแพร่หลายมากในมหาวิทยาลัยที่จัดตั้งใหม่ ๆ
คุณพงษ์ศักดิ์: นอกเหนือจาก Moodle แล้วมีการใช้งาน Opensource อื่น ๆ บ้างไหม?
อาจารย์นรินทร์:
ในส่วนของงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับ Science Community นั้นก็มีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาแบ่งปันกัน ซึ่งในส่วนของงานวิจัยต่าง ๆ
ได้มีการนำ Software เฉพาะทางที่เป็น Opensource มาใช้งานหลายตัว เช่น นำเอามาใช้งานช่วยในการประมวลผลเกี่ยวกับ Image
Processing อย่าง ImageJ ซึ่งเป็นคล้าย ๆ โปรแกรมตกแต่งรูปพัฒนาด้วย Java และใช้งานแพร่หลายมากในวงการแพทย์ เราใช้
โปรแกรมนี้ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของ Cell หรือการเจริญเติมโตของเนื้อเยื่อ ในส่วนของการเขียนโปรแกรมก็ใช้ภาษา Python
และภาษา C ในการพัฒนาโดยใช้เครื่องมืออย่าง DevC ซึ่ง Software เหล่านี้สามารถใช้งานและทำงานได้บนทั้งระบบปฎิบัติการ Linux
และ Windows
ก็สรุปบทการสัมภาษณ์กันพอสมควรแล้ว สำหรับใครที่ต้องการรับฟังข้อมูลสัมภาษณ์เต็มรูปแบบก็สามารถรับฟังแบบ online และ
สามารถ Download ไฟล์เสียงไปฟังกันได้เลยครับผม ในช่วงท้ายอาจารย์ได้ให้ความกรุณาพาเราเยี่ยมชม Lab และได้สาธิตโปรแกรม
โอเพนซอร์สเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ อย่างโปรแกรม CTSIM (The Open Source Computed Tomography Simulator) ซึ่งก็เป็นซอฟแวร์โอเพนซอร์สทางการแพทย์ที่น่าสนใจทีเดียว
บทสัมภาษณ์:การใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในภาควิชาฟิสิกส์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
พิธีกรผู้สัมภาษณ์: คุณพงษ์ศักดิ์ โฆวัชรกุล
ผู้ร่วมสัมภาษณ์:อาจารย์นรินทร์ ณัฐวุฒิ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
วันที่สัมภาษณ์:วันพุธที่ 13 สิงหาคม 2551
สถานที่: ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พญาไท)
เรียบเรืยงโดย: คุณวุฒิพร เอี่ยมจิตกุศล
ท่านสามารถรับฟังเสียงสัมภาษณ์ในรูปแบบ Online โดย คลิ๊กที่นี่ บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
ท่านสามารชมวีดีโอสัมภาษณ์บางส่วนของอาจารย์ในรูปแบบ Online โดย คลิ๊กที่นี่
ท่านสามารถชมวีดีโอสาธิตการทำงานของ CTSIM (Computed Tomography Simulator)ในรูปแบบ Online โดย คลิ๊กที่นี่
ท่านสามารถ Download ไฟล์เสียงสัมภาษณ์ใน Format ต่าง ๆ ได้ สามารถ Download .mp3 ได้ที่ narin-interviews.mp3 สามารถ Download .ogg ได้ที่ narin-interviews.ogg